3.4K
2 พฤษภาคม 2557
แบล็คแคนยอนผงาดอินโดฯปูพรม 32 สาขา ชูโมเดลร้านแบรนด์ไทย "กาแฟ+อาหาร" ท้าชนต่างแดน


แบล็คแคนยอน ร้านกาแฟและอาหารสัญชาติไทยที่เริ่มบุกตลาดต่างประเทศ ผ่านระบบแฟรนไชส์ เมื่อปี 2545 จนปัจจุบันมีสาขานอกประเทศไทยกว่า 55 แห่ง ใน 8 ประเทศ โดยส่วนใหญ่เป็นสาขาในกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งอินโดนีเซียเป็นสาขาที่มีการเติบโตดีที่สุด โดยปัจจุบันมีสาขากว่า 32 แห่ง กระจายตัวพื้นที่อินโดนีเซียตะวันตกไปจนตะวันออก

ด้วยโอกาสของจำนวนประชากรกว่า 200 ล้านคน ประกอบกับการแข่งขันและการลงทุนที่ไม่สูงเท่าประเทศที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจสูงเท่าสิงคโปร์ ประเทศแรกที่แบล็คแคนยอนเข้าไปมีสาขา ซึ่งปัจจุบันยังคงมีเพียง 1 สาขา เท่าเดิม และความพร้อมของแฟรนไชซีที่ทำกิจกรรมการตลาดกับผู้บริโภคอยู่เสมอ คือปัจจัยสำคัญสำหรับการเติบโตนี้


นายมูฟิด วายูดี ผู้ได้รับสิทธิ์มาสเตอร์แฟรนไชส์แบล็คแคนยอนในประเทศอินโดนีเซีย กล่าวว่า ด้วยพฤติกรรมของคนอินโดนีเซียในเมืองใหญ่ที่นิยมบริโภคกาแฟตลอดทั้งวัน ทำใหัการแข่งขันของร้านกาแฟในอินโดนีเซียมีสูงมาก แต่จุดต่างของแบล็คแคนยอนคือการเป็น "ร้านกาแฟและร้านอาหาร" ก็ตอบรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคชาวอินโดนีเซียที่นิยมรับประทานอาหารนอกบ้านกันมากขึ้นเช่นกัน

แม้อาหารไทยจะมีชื่อเสียงในเรื่องของรสชาติและความเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ แต่ก็มีการปรับเมนูอาหารและเครื่องดื่มบางรายการให้สอดคล้องกับความชอบของคนท้องถิ่น เช่น กาแฟที่ยังคงรสชาติดั้งเดิมไว้ แต่ก็เพิ่มเติมครีมหรือผลไม้ต่าง ๆ เข้าไป กลายเป็น "แฟนซีคอฟฟี่" รวมทั้งการผสมผสานอาหารไทยและอินโดนีเซียเข้าด้วยกัน เช่น อาหารท้องถิ่นที่ใช้เครื่องปรุงรสแบบไทย ๆ ซึ่งปัจจุบันสัดส่วนรายได้ของอาหารคิดเป็น 40% ของยอดขายทั้งหมด


อย่างไรก็ตาม การบุกตลาดอย่างหนักของ "สตาร์บัค" ที่ปัจจุบันมีสาขาในอินโดนีเซียกว่า 100 จุด รวมถึง "คอฟฟี่บีน แอนด์ ทีลีฟ" ที่เริ่มเคลื่อนไหวในอินโดนีเซียอย่างจริงจังในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ก็ทำให้แบล็คแคนยอนเองต้องโฟกัสการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักในอินโดนีเซียเพิ่มมากขึ้น จึงมองหาโมเดลใหม่ ๆ ในการขยายสาขา อย่างโมเดลร้านกาแฟ และเบเกอรี่ซึ่งจะเริ่มทดลองในปีนี้ 2 จุด นอกเหนือจากการเปิดสาขาใหม่ในรูปแบบของฟูลเรสเตอรองส์แบบเดิมอีก 4 จุด

โมเดลใหม่นี้จะเป็นรูปแบบร้านแบบคีออสก์ ที่ตัดส่วนของร้านอาหารออกไป แต่จะขยายสาขารูปแบบนี้ไม่ไกลจากสาขาแบบฟูลเรสเตอรองส์เกินรัศมี 5 กิโลเมตร เพราะตั้งใจให้เป็นโมเดลที่ทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก และช่วยเสริมศักยภาพให้กับร้านสาขาฟูลเรสเตอรองที่มีอยู่เดิม


"การขยายสาขาในรูปแบบนี้จะประหยัดพื้นที่กว่าลงทุนน้อยกว่า ก็เป็นผลดีในแง่ของการขยายสาขาได้มากขึ้น แบรนด์ถูกพบเห็นและเป็นที่รู้จักมากขึ้น"

นอกจากโมเดลใหม่ ทำเลใหม่ ๆ อย่างสนามบินก็เป็นอีกพื้นที่ที่แบล็คแคนยอนอินโดนีเซียตั้งใจจะขยายสาขาให้มากขึ้น หลังเปิดสาขาแรกที่สนามบินบาหลีไปเมื่อปลายปีที่ผ่านมา เพราะเป็นพื้นที่ที่ผู้คนหลากหลายต้องเดินทางผ่าน รวมทั้งการเริ่มขยายสาขาเข้าไปในเมืองใหญ่อย่างจากาตาร์ เมืองหลวงของประเทศในปีหน้าด้วย ซึ่งที่ผ่านมาเน้นการขยายสาขาในหัวเมืองรอง ที่มีการแข่งขันไม่สูงมากนักด้วยตลาดยังค่อนข้างใหม่


การสร้างแบรนด์จึงถือเป็นภารกิจสำคัญที่มาสเตอร์แฟรนส์ในอินโดนีเซียรายนี้ใช้เป็นกลยุทธ์งัดข้อกับร้านกาแฟแบรนด์ท้องถิ่นและอินเตอร์ที่ต้องการช่วงชิงตลาดที่มีประชากรมากเป็นอันดับต้นๆของโลกไว้ในมือ

อ้างอิงจาก ประชาชาติธุรกิจ
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
อากิโกะที เปิด 2 สาขาใ..
3,522
สเต็กเด็กแนว สร้างรายไ..
1,622
ซอห์น ฟู้ด จัดโปรแรง! ..
802
ก๋วยเตี๋ยวเรือปัญจะรส ..
714
“THE GRAND MALL” ทำเลด..
566
โรบอท สเตชัน คลับ จัดโ..
548
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด