2.9K
19 กุมภาพันธ์ 2558
ธุรกิจค้าปลีก และแฟรนไชส์ไทย “โก อินเตอร์” กับงาน RetailEx



สมาคมผู้ค้าปลีกไทย ร่วมกับ อิมแพ็ค และพันธมิตรร่วมกันจัดงานงาน RetailEx ASEAN 2015 และ FranchisEX ASEAN 2015

สมาคมผู้ค้าปลีกไทย ร่วมกับ อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น ออกาไนเซอร์ และ โกลบพ์ อินเตอร์แนชั่นเนล อีเวนต์ คอนเซาท์แท็นซี่ นำทีมผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจค้าปลีก แฟรนไชส์ และตลาดออนไลน์ เสวนาทิศทางตลาดปัจจุปัน โอกาส อุปสรรค และคาดการณ์อนาคตของธุรกิจค้าปลีกที่ต้อง “โกอินเตอร์ และ โก ลัคชัวรี่”

ตลาดแฟรนไชส์ที่จะใช้ AEC เป็นช่องทางเข้าไปในตลาดอาเซียน และตลาดออนไลน์ที่เทรนด์ M Commerce มาแรง ไม่ต้องรอ AEC ก็ทำได้เลย พร้อมแนะให้ผู้ประกอบการตามเทรนด์ของตลาดให้ทัน โดยมีงาน RetailEx ASEAN 2015 และ FranchisEX ASEAN 2015 เป็นเวทีกลางที่จะรวบรวมผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประกอบการ จากทั้งไทย และต่างชาติร่วมแสดงศักยภาพร่วมกันในงานเดียว

ภายในงานแถลงข่าว คณะผู้จัดงาน RetailEx ASEAN 2015 และ FranchisEX ASEAN 2015 ได้รับเกียรติจาก ดร.ฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการ สมาคมผู้ค้าปลีกไทย คุณเศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีโนซิส จำกัด และผู้ตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพเฟรนไชร์ กรมพัฒนาธุรกิจ กระทรวงพาณิชย์ และ คุณกวิตา ชื่นใจ ผู้เชี่ยวชาญ e-Commerce Consultant Manager of Rakuten TARAD ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมการค้าปลีก แฟรนไชส์ และการค้าปลีกออนไลน์ มาร่วมแบ่งปันแนวความคิด และประสบการณ์


ดร.ฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการ สมาคมผู้ค้าปลีกไทย เผยถึงภาพรวมของอุตสาหกรรมการค้าปลีกว่า “ปีที่แล้ว GDP อยู่ที่ประมาณ 12 ล้านล้านบาท GDP สำหรับการค้าปลีกค้าส่งอยู่ที่ประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท แต่มูลค่าค้าปลีกในประเทศไทยทั้งหมดมีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 2.7 ล้านล้านบาท ถ้าเทียบกับมูลค่าของการบริโภคภายในประเทศที่ประมาณ 5 เกือบ 6 ล้านล้านบาท มูลค่าการค้าปลีกก็เกือบครึ่งหนึ่งของการบริโภคทังประเทศ ใน 10 ปีที่ผ่านมา อัตราการเติมโตของธุรกิจค้าปลีกอยู่ที่ 7 – 8 % มาตลอด นี่คือภาพรวมค้าปลีกของบ้านเรา

อุตสาหกรรมการค้าปลีกของไทยหากเทียบกับเพื่อนบ้าน เราถือว่าหลากหลายกว่ามากเพราะฉะนั้นเทรนด์ต่อไปคือเราต้อง “โก อินเตอร์” (Go International) ไปตลาดระดับภูมิภาค ตลาดโลก แต่นี่ไม่ได้แปลว่าตลาดค้าปลีกของไทยอิ่มตัวแล้ว แต่นี่เป็นจุดที่เราต้องดีดตัวไปอีกระดับหนึ่ง ภาพต่อมาที่เราจะเห็นกันมาขึ้น คือเราต้อง “โก ลัคชัวรี่” (Go Luxury)ห้างสรรพสินค้าระดับ Super luxury กำลังเข้ามามากขึ้น

อย่างเช่น ทาคาชิมาย่า ในโครงการไอคอนสยาม เซ็นทรัลเอ็มบาสซี่ เป็นต้น เพราะ 10 ปีที่ผ่านมา คนไทยมีกำลังซื้อมากขึ้น มีรายได้มากขึ้น เพราะฉะนั้นสินค้าที่เหมาะสมก็ต้องพรีเมียมมากขึ้น หรูหรามากขึ้น อีกสิ่งหนึ่งที่จะเห็นได้ชัดคือ IT หรือเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยสนับสนุน ต่อไปข้างหน้าจะเป็นเรื่องของ ออนไลน์เยอะขึ้น แต่ออนไลน์ (Online) อย่างเดียวไม่พอ ต้องออนกราวด์ (On Ground) ด้วยครับ เป็น Multi Channel และจะก้าวเข้าไปสู่นิยามที่เราเรียกว่า “ออมนิ แชนแนล” (Omni-Channel)

สำหรับ AEC นี่เป็นโอกาสของประเทศไทยมากๆ เลยครับ ด้วยสถานที่ตั้งของประเทศไทยจะเห็นได้ว่าเป็นจุดศูนย์กลางจริงๆ ของอาเซียน ผมตี AEC เป็น 2 ส่วนคือ AEC บกได้แก่ CLMV และ AEC น้ำได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ บูรไน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย หายเปิด AEC เราจะอานิสงค์จาก AEC บกที่จะไหลเข้ามา เราต้องเตรียมรับมือ ต่อไปเราไม่ได้ทำมาหากินกับคนแค่ 65 ล้านคน แต่เป็นคน 300 ล้านคน

สิ่งที่จะได้จาก AEC น้ำต้องใช้ตลาดออนไลน์เข้าไปช่วย เพราะการเดินทาง ขนย้ายสินค้า ยากกว่า AEC บก ผู้ค้าปลีกควรจะต้องปรับตัวให้เร็วขึ้น สิ่งหนึ่งที่งาน RetailEX and FranchisEX ASEAN 2015 เข้ามาช่วยได้ จะเป็นเรื่องของ ภาพลักษณ์ การดีไซน์ อุปกรณ์ในการจัดวาง ที่ต้องการความยืดหยุ่น ในการจัดเรียงสินค้า และการปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ขาดไม่ได้”



ด้านธุรกิจแฟรนไชส์ คุณ เศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีโนซิส จำกัด และผู้ตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพเฟรนไชร์ กรมพัฒนาธุรกิจ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า “ระบบแฟรนไชส์ในประเทศไทยมีมานานถึง 30 กว่าปีแล้ว ถ้ากล่าวถึงมูลค่าทางการตลาดของแฟรนไชส์ของปีที่แล้วมีมูลค่าเพียง 187,000 ล้านบาท

ถือว่าน้อยมากครับ ประเทศไทยมีผู้ประกอบการแฟรนไชส์ นิติบุคคลที่จดทะเบียนอยู่ 477 ราย แบ่งเป็นกิจการของคนไทย 452 ราย และเป็นของต่างชาติอีกประมาณ 25 รายใหญ่ คิดเป็น 5% ของตลาด แต่พอมองในแง่ของมูลค่าตลาด มูลค่าทรัพย์สิน กลับมีมูลค่าถึง 63%

ในปี 2555 - 2556 ธุรกิจแฟรนไชส์เติบโตดีมากที่ 20 - 30% จากการสำรวจธุรกิจแฟรนไชส์มีสาขากว่า 40,000 สาขา ดูว่ามีสาขาเยอะแต่ขนาดของแต่ล่ะสาขาเล็กมาก ในแง่ธุรกิจของแฟรนไชส์ไทย เรายังไม่แข็งแรงมากนัก ในแง่ของกฏหมายแฟรนไชส์ในภาพพื้นอาเซียน มีไม่กี่ประเทศที่มีกฏหมายแฟรนไชส์ อาทิ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ส่วนประเทศไทย ไม่มีกฏหมายแฟรนไชส์รองรับนะครับ

ดังนั้นเรามีทั้งโอกาส และอุปสรรค โอกาสที่ต่างชาติจะเข้ามาทำแฟรนไชส์มากขึ้น ถ้าเราเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน สิงคโปร์ก็ไม่มีกฏหมายแฟรนไชส์ แต่ผู้คนเคารพกฏหมายอื่นๆ ที่มีมารองรับ จึงทำให้ระบบแฟรนไชส์แข็งแรง มาเลย์เซีย ธุรกิจแฟรนไชส์แข็งแรงมาก เพราะมีกฏหมายแฟรนไชส์รองรับ มีแฟรนไชส์ต่างประเทศเข้ามาค่อนข้างมาก แต่ของประเทศไทยมีแฟรนไชส์จากต่างประเทศเข้ามาเหมือนกัน แล้วก็จากไป ถ้าให้เรานึกถึงแฟรนไชส์ไทย เราจะนึกไม่ค่อยออก

แต่ถ้าให้นึกถึงแฟรนไชส์ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น อเมริกานี่ นึกออกหมด เพราะฉะนั้นงาน RetailEX and FranchisEX ASEAN 2015 ในครั้งนี้จะเป็นโอกาสที่ดีนะครับ ที่จะทำให้แฟรนไชส์ไทยแสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่แท้จริงของเรา

ในช่วง AEC จะเป็นช่วงที่เปลี่ยนแปลงของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย เนื่องจากเราอยู่ในพื้นที่ ที่ใกล้ CLMV มีเวียดนามที่ธุรกิจแฟรนไชส์แข็งแรงเพราะมีกฏหมายแล้ว ใน CLVM มีประเทศไทยอยู่ตรงกลาง ถ้าแฟรนไชส์ต่างชาติเข้ามา เขาจะเข้ามาที่ประเทศไทยก่อน เพื่อที่จะได้ขยายต่อไปยังประเทศต่างๆ เพราะสาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศไทยสามารถรองรับตรงนี้ได้ เราต้องพร้อมทั้งแผนรุก และรับ เราต้องรู้ก่อนว่าลูกค้าของเราเป็นใคร เพราะวัฒนธรรมเราต่างกันมาก เราต้องรู้ว่าเราจะเอาธุรกิจอะไร เข้าไปที่ไหน ธุรกิจแฟรนไชส์ของไทยกว่า 50% เป็นอาหาร คนอื่นจึงมองว่า เราขายอาหารไทยจะไปขายที่ไหนก็ได้ ซึ่งมันไม่ใช่ เราไม่ได้ไปที่ไหนก็ได้ เราต้องปรับแผนธุรกิจให้เหมาะสม”


 
คุณกวิตา ชื่นใจ ผู้เชี่ยวชาญ e-Commerce Consultant Manager, Rakuten TARAD  กล่าวถึงการค้าปลีกออนไลน์ว่า “ธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ มาแรง และมีการแข่งขันสูง การค้าปลีกออนไลน์แชร์ส่วนแบ่งมาแล้ว 15% และมีแนวโน้มที่จะโตขึ้นเรื่อยๆ ในปีถัดไป ถ้าเทียบการเติบโตระหว่างปีที่แล้วกับปีนี้ ตลาดออนไลน์เติบโตถึง 120% ถ้าอยากจะทำให้ธุรกิจค้าปลีก หรือแฟรนไชส์ให้ “โก อินเตอร์” คือนำสินคาขึ้นมาไว้ในตลาดออนไลน์ อันนี้เป็นวิธีที่ง่าย และเร็วที่สุด

ตอนนี้กระแสโซเชียลเน็ตเวิร์คก็เป็นหนึ่งในช่องทางที่ผลักดันให้การทำธุรกิจออนไลน์เติบโต แต่การทำธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ก็มีความเสี่ยงไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ความปลอดภัย การจ่ายเงิน คุณภาพสินค้า จะได้เหมือนกับที่เราเดินไปซื้อเองรึไม่ แต่เราก็ได้มีการพัฒนารบบมาตลอด จนเปอร์เซ็นต์เรื่องความเสี่ยงลดลงเหลือ 30% จากปีที่แล้ว 50% สิ่งที่สำคัญสำหรับการค้าออนไลน์มี 3 อย่างอย่าง คือ ช่องทางการชำระเงิน เครดิตการ์ดเป็นช่องทางที่ใช้จ่ายเยอะที่สุด ต่อมาคือการมีหน้าร้าน จำให้ธุรกิจดูน่าเชื่อถือมากขึ้น และสุดท้ายคือ การรีวิวสินค้า เนื่องจากการค้าออนไลน์ จับต้อง ลองไม่ได้ ดูได้อย่างเดียว

ซึ่งถือว่าเป็นจุดอ่อน การทำรีวิวจะช่วยเสริมการตัดสินใจได้ดี สำหรับ เทรนด์ที่จะมาในปีหน้าคือ M Commerce หรือเรื่องของโทรศัพท์มือถือแน่นอน และสำหรับตลาดออนไลน์นั้นไม่ต้องรอให้เปิด AEC ก็สามารถทำได้เลย มาก่อนได้เปรียบค่ะ”

อนึ่ง งาน RetailEx ASEAN 2015 และ FranchisEX ASEAN 2015 งานแสดงสินค้าและการประชุมนานาชาติ เพื่ออุตสาหกรรมการค้าปลีก และการซื้อขายลิขสิทธิ์แฟรนไชส์ ในวันที่ 17 -19 กันยายน 2558 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี

ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเยี่ยมชมได้ที่เว็บไซต์ www.retailexasean.com หรือติดต่อ คุณแจ๊นส์ อึ้ง ผู้จัดการโครงการ ที่อีเมล์ janzn@impact.co.th หรือโทร 02-833-5126

อ้างอิงจาก  กรุงเทพธุรกิจ
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่ มาแล้ว! ทูลเก..
5,605
PLAY Q by CST bright u..
1,222
มาแล้ว! #งานแฟรนไชส์ ม..
940
อร่อย! เลิศ! รสเด็ด ก๋..
931
สุดปัง! แฟรนไชส์หม่าล่..
784
ลงทุนกับ “ซุปซุป” ร้าน..
757
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด