|
|
19 กุมภาพันธ์ 2558 |
ธปท.เผยการเมือง-ส่งออกฉุดสินเชื่อแบงก์ทั้งปี57โตชะลออยู่ที่5%
นายจาตุรงค์ จันทรังษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน เปิดเผยผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ปี 2557 ว่า ระบบธนาคารพาณิชย์ยังคงมีเสถียรภาพ โดยสินเชื่อขยายตัวชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลให้กำไรจากการดำเนินงานชะลอลง
คุณภาพสินเชื่อโดยรวมทรงตัวแต่ด้อยลงบ้างในสินเชื่ออุปโภคบริโภค อย่างไรก็ดี ระบบธนาคารพาณิชย์มีการกันสำรองและ มีเงินกองทุนในระดับสูง สามารถรองรับผลกระทบจากความผันผวนของเศรษฐกิจได้
ภาวะเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองในช่วงครึ่งปีแรกและการส่งออกที่หดตัว กอปรกับหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้สินเชื่อขยายตัวร้อยละ 5.0 ในปี 2557 (เทียบกับร้อยละ 11.0 ในปี 2556) ชะลอตัวต่อเนื่องทั้งจากสินเชื่อธุรกิจโดยเฉพาะสินเชื่อ SME และสินเชื่ออุปโภคบริโภค
อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบรายไตรมาส สินเชื่อขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบปีที่ร้อยละ 2.9 ในไตรมาส 4 ตามภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลัง สินเชื่อธุรกิจ (ร้อยละ 68.9 ของสินเชื่อรวม) ขยายตัวร้อยละ 4.0 ในปี 2557 ชะลอลงต่อเนื่องในทุกภาคธุรกิจ และหดตัวในภาคธุรกิจการเงินและภาคบริการ ขณะที่สินเชื่อ ภาคสาธารณูปโภคยังขยายตัวได้ดี สาหรับสินเชื่อ SME ขยายตัวชะลอลงมากจากร้อยละ 14.7 ในปี 2556 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.2 ในปี 2557
ส่วนสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ยังขยายตัวได้ที่ร้อยละ 6.2 สินเชื่ออุปโภคบริโภค (ร้อยละ 31.1 ของสินเชื่อรวม) ขยายตัวร้อยละ 7.4 ชะลอตัวต่อเนื่อง จากการหดตัวของสินเชื่อ รถยนต์และการชะลอตัวของสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อบัตรเครดิต ขณะที่สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยขยายตัว ได้ดีใกล้เคียงกับปีก่อน
คุณภาพสินเชื่อโดยรวมทรงตัว โดยสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loan : NPL) มียอดคงค้าง 277.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.5 พันล้านบาทจากปีก่อน สัดส่วน Gross NPL ทรงตัวที่ร้อยละ 2.15 ขณะที่สัดส่วน Net NPL เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 1.08 อย่างไรก็ตาม คุณภาพสินเชื่ออุปโภคบริโภคมีแนวโน้มด้อยลงบ้าง
โดยสัดส่วน NPL เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 2.4 จากสินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อ บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อจัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ (Special Mention Loan : SM) เพิ่มขึ้น เป็น 336.4 พันล้านบาท จากสินเชื่อภาคอุตสาหกรรมการผลิตเป็นสาคัญ ส่งผลให้สัดส่วน SM ต่อสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.4 เป็นร้อยละ 2.6 อย่างไรก็ดี ธนาคารพาณิชย์มีการกันเงินสารองในระดับสูงต่อเนื่องเพื่อรองรับความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลให้สัดส่วนเงินสารองที่มีต่อเงินสำรองพึงกันเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 169.4
ระบบธนาคารพาณิชย์มีกำไรต่อเนื่องแต่ชะลอลง โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นและ Net InterestMargin (NIM) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 2.55 เป็น 2.60 อย่างไรก็ตาม รายได้ดอกเบี้ยและรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลง กอปรกับค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้กำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นเพียง 7.7 พันล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับปีก่อน
ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายสำรองที่ลดลงเนื่องจากได้กันไว้มากแล้วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ส่งผลใหกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 10.2 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 เทียบกับร้อยละ 17.3 ในปีก่อน โดย ROA ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.32เงินกองทุนอยู่ในระดับสูง โดยเพิ่มขึ้นจากการจัดสรรกำไรเป็นสำคัญ ส่งผลให้อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) และอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Tier-1 ratio) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 16.8และร้อยละ 13.7 ตามลำดับ เทียบกับร้อยละ 15.7 และร้อยละ 12.6 ในปี 2556
อ้างอิงจาก ฐานเศรษฐกิจ
|
|
|