2.1K
28 มิถุนายน 2558
รัฐบาลเร่งเครื่องหนุน SMEs รอบด้าน



บอร์ด SMEs มอบนโยบายให้ทุกส่วนให้ความสำคัญกับการพัฒนาSMEs ทั้งกลุ่มส่งออก กลุ่มเข้มแข็ง กลุ่มประสบปัญหา และกลุ่มเลิกกิจการ พร้อมพัฒนาฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพครอบคลุมทุกวงจรธุรกิจ โดยเปิดรับลงทะเบียน SMEs ทั่วประเทศ และเปิดศูนย์บริการ SMEs ครบวงจรทั้ง 4 ภูมิภาคในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ให้เป็นศูนย์กลางสร้างโอกาสทางการค้า ภายใต้การบูรณาการความร่วมมือระหว่าง สสว. หน่วยงานภาครัฐ-เอกชนทุกภาคส่วน ตั้งเป้าดัน GDP SME ปี 2558 ให้ขยายตัวถึงร้อยละ 3.0-4.4

นางสาววิมลกานต์ โกสุมาศ รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) ครั้งที่ 2/2558 ซึ่งมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ ว่านายกรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริม SMEs เป็นอย่างมาก

และมอบนโยบายให้ทุกส่วนร่วมกันกำหนดเป้าหมายการสนับสนุน และให้ความช่วยเหลือ SMEs ใน 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่เข้มเข็งและพร้อมส่งออกไปต่างประเทศ กลุ่มที่สามารถขยายกิจการในประเทศ กลุ่มที่มีศักยภาพแต่ประสบปัญหา และกลุ่มที่เลิกกิจการแต่ยังมีศักยภาพ โดยให้ทุกหน่วยงานร่วมกันหาวิธีการส่งเสริม สนับสนุน ดูแลและฟื้นฟูกิจการ SMEs ให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความเข้มแข็ง สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน และบริการต่างๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน


โดยเรื่องที่ท่านนายกฯ ให้ความสำคัญและมอบหมายให้ สสว. ดำเนินการตั้งแต่แรก คือการเริ่มต้นวางรากฐานที่มั่นคงโดยการจัดทำฐานข้อมูลSMEs ซึ่ง ณ ปัจจุบัน ฐานข้อมูลดังกล่าวมีทิศทางที่ชัดเจน โดย สสว. ดำเนินการรวบรวมจาก 4 หน่วยงาน คือ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประมวลผลและวิเคราะห์แบ่งกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ได้ดังนี้

SME ทั่วประเทศมีจำนวนทั้งสิ้น 2,668,293 ราย แบ่งเป็น SME ที่จดทะเบียนนิติบุคคลจำนวน 589,026 ราย ซึ่งก่อให้เกิดการจ้างงานจำนวน 6,156,404 ราย
ในส่วนนี้สามารถเข้าสู่ระบบสินเชื่อร้อยละ 82 และ SME ประเภทบุคคลธรรมดาจำนวน 2,079,267 ราย ก่อให้เกิดการจ้างงานจำนวน 4,372,713 ราย ในส่วนนี้สามารถเข้าสู่ระบบสินเชื่อร้อยละ 18 เป็นต้น ซึ่งฐานข้อมูลดังกล่าวนี้ จะนำไปใช้กำหนดนโยบายการส่งเสริม SMEs ได้สอดคล้องกับความต้องการและเป็นไปตามวงจรธุรกิจต่อไป

ทั้งนี้เพื่อให้ SMEs สามารถเข้ามาอยู่ในระบบการจดทะเบียนทุกรายในอนาคต โดยในส่วนของกลุ่มที่เป็นนิติบุคคล ซึ่งจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ จะส่งเสริมให้เข้าระบบอย่างสมบูรรณ์มากขึ้นและเข้าสู่ระบบภาษีที่ถูกต้องต่อไป กลุ่มนี้จะเข้าเป็นสมาชิกของ สสว. โดยอัตโนมัติซึ่งจะได้รับข้อมูลองค์ความรู้ต่างๆ ในการพัฒนาศักยภาพอย่างเป็นระบบ

ส่วนกลุ่มSMEs ที่เป็นบุคคลธรรมดา จะส่งเสริมให้ทะยอยเข้าสู่ระบบ โดยจะมีมาตรการให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ ผ่านการดำเนินโครงการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ เพื่อให้ฐานข้อมูล SMEs สามารถสะท้อนวงจรธุรกิจและความต้องการของ SMEs ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งขณะนี้ โครงการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ SMEs สามารถดำเนินการได้ทั่วประเทศ ในหลายช่องทาง ทั้งศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย ซึ่งตั้งอยู่ที่ศาลากลางจังหวัดทั่วประเทศ ผ่านทางเว็ปไซต์ www.sme.go.th และที่ สสว. Call center 1301


ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบการดำเนินโครงการศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร (SME One-Stop Service Center : OSS) ในพื้นที่รวม 7 แห่ง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ณ ที่ทำการ สสว. อาคาร TST ถนนวิภาวดีรังสิต และในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จำนวน 6 แห่ง โดยที่แม่สอด จ.ตาก และ จ.สระแก้ว จะดำเนินการร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)

ส่วนที่ จ.สงขลา จ.มุกดาหาร จ.ตราด และ จ.หนองคาย อยู่ระหว่างการพิจารณาพื้นที่และประสานความร่วมกับศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ ศูนย์ OSS จะทำหน้าที่ เป็นช่องทางในการติดต่อ เชื่อมโยง ส่งต่องานบริการ ภาครัฐและภาคเอกชนให้กับผู้ประกอบการ ครอบคลุมทั้งการให้ข้อมูลความรู้ คำปรึกษาแนะนำในการดำเนินธุรกิจ การอบรม/สัมมนา รวมถึงการขึ้นทะเบียน SME และเป็นช่องทางในการรับและดำเนินการด้านเอกสารของผู้ประกอบการกับหน่วยงานภาครัฐ

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ สสว. ดำเนินบทบาทเพิ่มเติม ได้แก่ 1) ให้ทำหน้าที่ในการคัดกรอง SMEs ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อส่งต่อเข้าสู่ความช่วยเหลือของภาครัฐและสถาบันการเงิน ส่วน SMEs ที่มีประสิทธิภาพน้อยหรือยังไม่มีประสิทธิภาพ จะส่งเสริมให้เข้าสู่กระบวนการพัฒนาศักยภาพ 2) ให้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ SMEs ในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางผู้ประกอบการในการพบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนรวมทั้งสร้างโอกาสทางการค้า ซึ่งจะนำร่องในพื้นที่ที่จัดตั้งศูนย์ OSS

3) ให้มีการรวบรวมและจัดทำ Road Map การส่งเสริม SMEsที่ประเทศไทยมีความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ของต่างประเทศ เพื่อเชื่อมโยงSMEs ไทยเข้าสู่สากล และ 4) มอบหมายให้นำแนวคิด Social Business (ธุรกิจเพื่อสังคม) ซึ่งเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาความยากจนและปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสังคม เช่น การศึกษา สาธารณสุข ความเหลื่อมล้ำและสิ่งแวดล้อม ไปใช้ในการดำเนินโครงการส่งเสริม SMEs ที่จะจัดทำขึ้นต่อไป


 
นอกจากนี้ จากการวิเคราะห์สถานการณ์ SMEs ของ สสว. ในไตรมาสที่ 1/2558 พบว่า ตัวเลข GDP ของ SME มีมูลค่า 1.39 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 41 ของ GDP รวมของประเทศ ขยายตัวร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2557

ซึ่งเป็นผลจากการเติบโตของภาคก่อสร้างที่ขยายตัวถึงร้อยละ 25.4 สอดคล้องกับตัวเลขในภาคบริการที่ครองแชมป์อัตราการเติบโตสูงสุดคือร้อยละ 6.5 รองลงมาคือภาคการค้า และภาคการผลิต ขณะที่ตลาดส่งออกที่สำคัญคือสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการขยายตัวถึงร้อยละ 8.6 โดยมีสินค้าส่งออกหลักคืออัญมณีและเครื่องประดับ มีมูลค่าถึง 89,695 ล้านบาท

ทั้งนี้คาดการณ์ว่าปี 2558 GDP SMEs จะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.0-4.4 เพิ่มขึ้นจากปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.2 โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากการฟื้นตัวของการส่งออก การท่องเที่ยว การลงทุนภาคเอกชน การลดลรงรองราคาน้ำมันในตลาดโลก รวมถึงการเร่งรัดการใข้จ่ายของภาครัฐ ฯลฯ

อ้างอิงจาก  news.thaiquest.com
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่ มาแล้ว! ทูลเก..
5,453
PLAY Q by CST bright u..
1,062
มาแล้ว! #งานแฟรนไชส์ ม..
940
อร่อย! เลิศ! รสเด็ด ก๋..
931
สุดปัง! แฟรนไชส์หม่าล่..
781
ลงทุนกับ “ซุปซุป” ร้าน..
755
ข่าว SMEsมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด