5.5K
5 กุมภาพันธ์ 2552

สถานการณ์ธุรกิจแฟรนไชส์



ในสภาวะเศรษฐกิจขาลง มีผลต่อธุรกิจแฟรนไชส์อย่างไรบ้าง ?  โดยภาพรวมแล้ว ร้านค้าและกิจแฟรนไชส์จะมียอดขายที่ลดลงไม่แตกต่างจากธุรกิจอื่นๆ  คือมียอดขายที่ต่ำกว่าปกติเฉลี่ยประมาณ 10% ขึ้นไป แต่ในขณะเดียวกัน ความต้องการในการซื้อธุรกิจแฟรนไชส์กลับเฟื่องฟู

 


 



คุณชูเวช อินเทพ แฟรนไชส์ ดีเวลลอปเมนท์ บริษัทโชคดี  อินเตอร์เนชั่นแนล แฟรนไชส์ จำกัด กล่าวถึงสถานการณ์แฟรนไชส์ในช่วงนี้ว่า “สำหรับโชคดีติ่มซำเองนั้น ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจเล็กน้อย ในเรื่องของยอดขายหน้าร้านที่จะลดลงประมาณ 10% แต่ภาพรวมส่วนของแฟรนไชส์ดีขึ้น เนื่องจากมีหลายกลุ่มที่โดนให้ออกจากงาน  ได้ติดต่อเข้ามาเพื่อซื้อแฟรนไชส์เยอะมาก แต่ว่าเนื่องจากเงินลงทุนของแฟรนไชส์โชคดีนั้น ลงทุนเริ่มต้นที่ 3 ล้านบาท แต่ส่วนใหญ่แล้ว ที่ติดต่อเข้ามานั้นต้องการลงทุนประมาณ 1-1.5 ล้านบาท”



อัตราการเติบโตของบริษัทผู้ขายแฟรนไชส์สำหรับปีนี้นั้นคาดว่า  จะยังคงเติบโตในอัตราที่คงที่คือ ประมาณ 10%  แต่สำหรับการเติบโตของแฟรนไชซี่  หรือผู้ที่ต้องการซื้อแฟรนไชส์นั้น คาดว่าน่าจะสูงกว่า 30% อันเนื่องมาจากความต้องการตลาดมีอยู่สูงมากในทุกระดับของธุรกิจ  อีกทั้งภาครัฐหลายหน่วยงานมีนโยบายนำเรื่องแฟรนไชส์มาแก้ปัญหาเศรษฐกิจและการว่างงาน  


 



คุณบุญชัย ธนรัฐเศรษฐ์  ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ บริษัทเอมธรรม แฟรนไชส์รายใหม่ แบรนด์อาร์เบอร์เกอร์ และแบรนด์คินราเมง   ที่เปิดตัวขายแฟรนไชส์ในปีนี้ว่า  “ในส่วนของอาร์เบอร์เกอร์ ผมมองว่าธุรกิจผมเป็นตัวที่น่าสนใจ ไม่เหมือนใคร วัตถุดิบ กรรมวิธีในการผลิตมีการนำเข้า

ปัจจุบันเรามี 2 สาขาด้วยกัน  ต้องยอมรับตอนที่เราเปิดครั้งแรกนั้น ยอดขายเราดีมาก แต่ปลายปีมีการปิดสนามบิน หรือว่ามีเรื่องเศรษฐกิจเข้ามาทำให้ยอดขายเราตกลง  แต่ภาพรวมของธุรกิจอาหารผมมองว่า ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอาหารประเภทไหนก็แล้วแต่ ยอดขายตกลงมาหมด เพียงแต่ว่ามีเรื่องของแบรนด์ และโลเคชั่นเข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น  ผมมองว่าถ้าแบรนด์ที่แข็งแกร่ง ถึงจะเศรษฐกิจไม่ดี ยอดตก แต่ว่าคนก็ยังเดินเข้าไปในร้านเขา       เนื่องจากแบรนด์เขาเป็นที่ยอมรับแล้ว  ส่วนโลเคชั่นที่อยู่ในห้าง ก็ยังเป็นทำเลที่ดีกว่า”    
 



อาจจะมีคำถามว่า เมื่อกำลังซื้อที่หดตัวเช่นนี้  การลงทุนจะยิ่งเกิดความเสี่ยงหรือไม่? แม้ว่าอาจจะมีการชะลอการลงทุนของธุรกิจบางกลุ่ม ที่เป็นกลุ่มของสินค้าฟุ่มเฟือย แต่กิจการบางกลุ่มก็ยังมีโอกาส  

 



คุณเสกสรร  คณารักษ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ดีดี มาร์ท จำกัด  กล่าวถึงสถานการณ์การธุรกิจว่า “ผมว่ามีการชะลอในเรื่องของการลงทุน สำหรับธุรกิจค้าปลีกมีผลกระทบไม่เท่ากับธุรกิจอื่น ธุรกิจของเราเป็นการมุ่งเน้นปรับปรุงร้านโชว์ห่วย ให้พัฒนาเทียบเท่ากับแบรนด์ที่มาจากต่างประเทศ ลูกค้าเราก็ยังมีอยู่แล้ว เพราะว่าธุรกิจเราเป็นการปรับปรุง ให้เข้ากับรูปแบบร้าน


มีบางส่วนเรื่องของการลงทุนกับลูกค้ารายใหม่ ที่ยังไม่กล้าตัดสินใจลงทุนในช่วงนี้ มีการคิดทบทวนมากขึ้น ไม่เฉพาะธุรกิจคอนวีเนียนสโตร์ ธุรกิจอื่นๆก็เช่นกันจะมีการศึกษากันมากขึ้น”

กิจการที่อาจจะเฟื่องฟูในยุควิกฤตนี้  จะเป็นกิจการที่เสนอขายความประหยัด  กิจการที่มีเสนอบริการที่คุ้มค่ากว่าผู้อื่น  รวมทั้งกิจการที่ได้กระแสสังคมสนับสนุน เช่น เรื่องของการรักษาสิ่งแวดล้อม สินค้านวต กรรมใหม่ๆ เป็นต้น













อ้างอิงจาก บริษัท แฟรนไชส์ โฟกัส จำกัด

ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
อากิโกะที เปิด 2 สาขาใ..
5,834
สเต็กเด็กแนว สร้างรายไ..
2,704
ซอห์น ฟู้ด จัดโปรแรง! ..
1,184
ก๋วยเตี๋ยวเรือปัญจะรส ..
779
“THE GRAND MALL” ทำเลด..
638
ธงไชย ผัดไทย ร่วมกับคน..
616
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด