1.5K
26 เมษายน 2559
จุดพลุดัน Start-up แจ้งเกิด

 
ปัจจุบันการสร้างกลุ่มผู้ประกอบการหน้าใหม่ หรือ สตาร์ทอัพ (Start-up) ถือเป็นเป้าหมายหลักที่ภาครัฐ และเอกชนมุ่งให้ความสำคัญ และเป็นอีกหนึ่ง “วาระแห่งชาติ” เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการกลุ่มนี้ ที่เปรียบเสมือน "นักรบใหม่" กำลังสำคัญที่จะสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต 

สะท้อนผ่านความร่วมมือครั้งใหญ่ของหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา กับพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ จัดงาน Startup Thailand 2016 ระหว่างวันที่ 28 เมษายน 2559 - 1 พฤษภาคม 2559 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผนึก 11 หน่วยงานภาครัฐและเอกชน อาทิ กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ฯลฯ

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เครือข่ายประชารัฐ และประชาคมสตาร์ทอัพไทย เพื่อส่งเสริม สนับสนุนและสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้ประกอบการธุรกิจรายใหม่รุ่นใหม่ที่มีศักยภาพในการขยายธุรกิจ และสร้างตลาดใหม่ สามารถเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยมีเป้าหมายให้ไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลาง “สตาร์ทอัพ” ของอาเซียน 
 
 
ภารกิจหลักของทุกหน่วยงานขณะนี้คือ ผสานความร่วมมือในด้านต่างๆ ทั้งการให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการที่กำลังเริ่มทำธุรกิจ การช่วยเหลือด้านแหล่งเงินทุน ซึ่งถือเป็นปัญหาหลักของผู้ประกอบการหน้าใหม่ทั้งหลาย โดยเฉพาะการเข้าถึงสินเชื่อในระบบ ที่ในมุมของธนาคารมักมองว่า กลุ่มสตาร์ทอัพ (อายุไม่เกิน 3 ปี) เป็นกลุ่มที่ค่อนข้างมีความเสี่ยงสูง
       
ทั้งการขาดประสบการณ์ในการทำธุรกิจ ขาดความรู้เบื้องต้นในทำบัญชี การเขียนแผนธุรกิจในการขอสินเชื่อ และที่สำคัญที่สุดคือการขาด “หลักประกัน” ทำให้การเข้าถึงแหล่งเงินทุนเป็นเรื่องยาก และทำให้เป็นกลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐมากเป็นพิเศษ
       
อย่างไรก็ตาม ข้อดีของกลุ่มสตาร์ทอัพ คือ มีความคิดสร้างสรรค์ และไอเดียใหม่ๆ ในการทำธุรกิจ เพราะส่วนใหญ่จะเป็นคนรุ่นใหม่ หรือคนที่เพิ่งจบการศึกษา แต่ด้วยปัญหาเรื่องแหล่งทุน ทำให้หลายครั้งความคิดสร้างสรรค์เหล่านี้ ต้องเป็นเพียงความฝันที่เก็บเข้าลิ้นชักไป เพราะไม่สามารถนำมาต่อยอดและแปรเปลี่ยนเป็นธุรกิจได้ 
       
อุปสรรคตรงนี้ กลายเป็นปัญหาสำคัญในการสร้าง “นักรบเศรษฐกิจพันธ์ใหม่” ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างการเติบโตให้แก่เศรษฐกิจของประเทศ 
       
 ปัจจุบันนอกจากธุรกิจร่วมลงทุน (เวนเจอร์ แคปปิตอล) หนึ่งในกลไก ที่สามารถช่วยเหลือด้านเงินทุนของกลุ่มสตาร์ทอัพแล้ว ในแง่ของการเข้าถึงสินเชื่อของธนาคาร ปัจจุบันธนาคารทั้งภาครัฐและเอกชนหลายแห่งก็หันมาให้ความสำคัญในการสนับสนุนผู้ประกอบการกลุ่มนี้มากขึ้น 
 
 
ขณะที่บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ในฐานะหน่วยงานของรัฐ ที่มีพันธกิจหลักคือ การค้ำประกันสินเชื่อ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเป้าหมายปีนี้ ที่มุ่งช่วยผู้ประกอบการทุกกลุ่มให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน ทำให้กลุ่มสตาร์ทอัพ เป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญ

โดยขณะนี้ บสย. อยู่ระหว่างทำแผนเสนอกระทรวงการคลัง เพื่อขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) จัดทำโครงการค้ำประกันกลุ่มสตาร์ทอัพ/นวัตกรรม ภายในไตรมาส 2 ของปีนี้ เบื้องต้นตั้งเป้าว่า หลังเปิดตัวโครงการนี้ จะมีผู้ประกอบการให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการกว่า 2,000 ราย จากปัจจุบันประเมินว่า ในไทยมีผู้ประกอบการกลุ่มสตาร์ทอัพประมาณ 1,000-2,000 บริษัท 
 
ความเคลื่อนไหวดังกล่าว ถือเป็นอีกหนึ่งความร่วมมือที่ บสย. ร่วมกับสถาบันการเงินต่างๆ เพื่อให้การสนับสนุนด้านแหล่งเงินทุนกับ “นักรบใหม่” เหล่านี้ เพื่อร่วมขับเคลื่อนกลุ่มสตาร์ทอัพเมืองไทยให้แข็งแกร่ง ไม่แพ้ชาติใดในอาเซียน 
       
บทความโดย : บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) 

อ้างอิงจาก  ผู้จัดการออนไลน์
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
อากิโกะที เปิด 2 สาขาใ..
3,615
สเต็กเด็กแนว สร้างรายไ..
1,665
ซอห์น ฟู้ด จัดโปรแรง! ..
887
ก๋วยเตี๋ยวเรือปัญจะรส ..
715
“THE GRAND MALL” ทำเลด..
571
โรบอท สเตชัน คลับ จัดโ..
549
ข่าว SMEsมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด