4.1K
21 กรกฎาคม 2559
สหพัฒน์ ผนึก  แรบบิทไลน์เพย์ เปิดศึกตลาดเวนดิ้งแมชชีนยุคใหม่


นายเวทิต โชควัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซันร้อยแปด จำกัด ในเครือสหพัฒน์
 
 
“เครือสหพัฒน์” ยกระดับตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ จับมือ “แรบบิท ไลน์เพย์” พัฒนาช่องทางชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟน เริ่มทยอยติดตั้ง 500 ตู้ในปี 2559 จากจำนวนทั้งหมดเกือบ 1 หมื่นตู้ เผยระบบพร้อมรองรับ “พร้อมเพย์” ของรัฐบาล รวมถึงรับชำระค่าน้ำ-ค่าไฟ-เติมเงินโทรศัพท์มือถือ เตรียมแผนเพิ่มสินค้าที่ลูกค้าต้องการใช้เร่งด่วน เช่น สายชาร์จโทรศัพท์ จากเดิมที่ส่วนใหย่เป็นเครื่อง 90% และอาหาร 10% 
       
นายเวทิต โชควัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซันร้อยแปด จำกัด ในเครือสหพัฒน์ ผู้ดำเนินธุรกิจจำหน่าย ให้เช่า และบริการตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ ภายใต้ชื่อ “108 Vending Machine” เปิดเผยว่า บริษัทฯ ร่วมมือกับ “แรบบิท ไลน์เพย์” เพิ่มช่องทางการชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟนทั้งระบบแอนดรอยด์ และไอโอเอส เมื่อซื้อสินค้าจากตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ โดยเริ่มทยอยติดตั้งระบบแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.ที่ผ่านมา
 
       
ปัจจุบันบริษัทฯ มี 8 สาขาในกรุงเทพฯ 2 แห่ง และ จ.พระนครศรีอยุธยา นครราชสีมา ราชบุรี ปราจีนบุรี ชลบุรี และระยอง ให้บริการตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติประมาณ 9 พันแห่งทั่วประเทศ คาดว่าในปี 2559 จะเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 600 ตู้และเพิ่มอีก 1 พันตู้ในปี 2560 ส่วนการติดตั้งระบบชำระเงินผ่าน “แรบบิท ไลน์เพย์” คาดว่าในปี 2559 จะเริ่มติดตั้งทั้งในตู้เก่าและใหม่อย่างน้อย 500 ตู้ ใช้เงินลงทุนเพิ่มขึ้นตู้ละประมาณ 4 พันบาท โดยจะพิจารณาติดตั้งตู้ที่ตั้งในพื้นที่ที่มีผู้ใช้สมาร์ทโฟนเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่และวัยทำงานพักอาศัย หรือสัญจรไปมาเป็นจำนวนมาก
       
การพัฒนาช่องทางระบบการชำระเงินผ่านแรบบิท ไลน์เพย์ ยังสามารถรองรับกับการชำระค่าสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า รวมถึงการเติมเงินโทรศัพท์มือถือ และอื่นๆ ตลอดจนสามารถเชื่อมโยงกับระบบพร้อมเพย์ของรัฐบาลที่กำลังจะะเริ่มใช้งานในเร็วๆ นี้ด้วย จึงเท่ากับเป็นการเพิ่มทางเลือกในการซื้อสินค้าและบริการของผู้ใช้บริการให้ได้รับความสะดวกมากขึ้น ขณะเดียวกัน ตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติยังมีโอกาสจำหน่ายสินค้าได้รวดเร็วขึ้นเพราะผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องใช้เหรียญ หรือธนบัตรในการซื้อ 
 
 
สำหรับพื้นที่ที่มีการติดตั้งตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติส่วนใหญ่เป็นโรงงานอุตสาหกรรม 40% ห้างสรรพสินค้า 20% ส่วนอีก 40% กระจายครอบคลุมในโรงแรม โรงพยาบาล อาคารสำนักงาน และสถานที่ราชการ เป็นต้น โดยส่วนใหญ่เป็นการดำเนินงานของบริษัทฯ 95% และจำหน่ายให้ผู้ประกอบการธุรกิจ 5% ในระดับราคา 1-5 แสนบาท
       
ส่วนสินค้าที่บรรจุในตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติส่วนใหญ่ 90% เป็นเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด เช่น น้ำดื่ม น้ำอัดลม นม กาแฟเย็น ชาเขียว เป็นต้น ส่วนอีก 10% เป็นอาหาร เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และขนมขบเคี้ยวทั่วไป โดยขณะนี้กำลังพิจารณาเพิ่มการจำหน่ายสินค้าประเภทที่มีความต้องการจำเป็นเร่งด่วน เช่น สายชาร์จโทรศัพท์มือถือ เพื่อให้สอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เริ่มมีความต้องการความสะดวกรวดเร็วในด้านต่างๆ มากขึ้น
       
“บริษัทฯ จะมีการออกแบบตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติรุ่นใหม่ปีละประมาณ 2 รุ่น เพื่อเป็นการกระตุ้นตลาด ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้วลูกค้าให้ความสำคัญในเรื่องของสินค้าที่จำหน่ายในตู้มากกว่าตัวตู้ โดยปัจจุบันสามารถบรรจุสินค้าที่มีราคา 60-100 บาทและได้รับการตอบรับที่ดี จากอดีตที่สามารถบรรจุสินค้าราคาประมาณ 10-15 บาทเท่านั้น” 
 




อ้างอิงจาก ผู้จัดการออนไลน์
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่ มาแล้ว! ทูลเก..
6,405
PLAY Q by CST bright u..
1,347
มาแล้ว! #งานแฟรนไชส์ ม..
954
อร่อย! เลิศ! รสเด็ด ก๋..
952
สุดปัง! แฟรนไชส์หม่าล่..
801
ลงทุนกับ “ซุปซุป” ร้าน..
773
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด