8.4K
1 กันยายน 2559
คุณอยากรู้ไหม? ‪หน้าที่ของผู้จัดการร้าน‬ควรทำอะไรบ้าง?


ฟังอาจารย์บ็อบ หรือ คุณรุ่งโรจน์ เจือสนิท อดีต ผู้บริหาร KFC ผู้ใต่เต้า จากพนักงานหน้าร้าน KFC จนกลายมาเป็นผู้บริหารระดับสูง ที่มีประสบการณ์มายาวนากว่า 20 ปี ในการพัฒนาบุคลากร มาถ่ายทอดถึงวิธีการสร้างสุดยอดผู้จัดการร้านขั้นเทพ

หน้าที่ของผู้จัดการร้าน มี 4 ข้อ หลัก ๆ คือ

1. ‪บริหารคน‬ 
  • ผู้จัดการร้านจะต้องมีหน้าที่ในการจัดกำลังพลในร้าน วางแผนรับสมัครคน คัดเลือกคน สัมภาษณ์ สอนพนักงานให้เก่ง และรักษาคนเอาไว้ได้
  • ฉะนั้น หน้าที่ของผู้จัดการร้านต้องมีความรู้อย่างดีว่า วิธีสรรหา วิธีเลือก "วิธีสอนให้คน"‬ ให้มีความสามารถจะทำอย่างไร และรู้ว่า "‎รักษาคน"‬ ให้อยู่ต้องทำอย่างไร
2.‪ บริหารลูกค้า‬
  • คือ ‪ผู้จัดการร้านที่ดี‬ ต้องเข้าใจลูกค้า เพราะลูกค้า คือ ผู้ที่จ่ายเงินเดือนให้พนักงาน ไม่มีลูกค้า ก็อยู่ไม่ได้ เจ๊ง
  • ดังนั้น หน้าที่ของผู้จัดการร้าน ต้องมีความเข้าใจลูกค้ามากที่สุด อย่างเช่น ร้านที่ขายของเหมือนกัน ราคาเท่ากัน แต่อีกร้านหนึ่งมีคนต่อคิวยาว ขณะที่อีกร้านหนึ่งไม่มีคนซื้อเลย แสดงว่าร้านที่ขายดี เขามีความเข้าใจลูกค้ามากกว่า
  • ผู้จัดการร้านต้องเข้าใจความต้องการของลูกค้า วิธีง่ายสุด ... ถ้าเราจะทำอะไรก็แล้วแต่ สมมุติว่าขายอาหาร วิธีการที่ง่ายสุด คือ เชิญเพื่อน ๆ เรามากินสัก 10 คน ถ้าส่วนใหญ่บอกว่าถูกและอร่อย ก็พอจะโอเค แต่ 5 คนบอกไม่รู้ แพง เราก็ต้องกลับไปคิด ปรับปรุง เพื่อตอบสนองลูกค้าให้ได้ อย่าไปบอกว่า "ก็ฉันจะเอาอย่างนี้แหละ คือ การไม่ให้ความสำคัญกับลูก”


3.‪‎ บริหารยอดขาย‬
  • คนที่เป็น‎เจ้าของ‬ ต้องรู้จริงเรื่องตัวเลข ยอดขายต่าง ๆ คนที่เป็นผู้จัดการก็ต้องรู้เสมือนเป็นตัวแทนเจ้าของร้าน ต้องเข้าใจตรงนี้นะครับ ไม่รู้ไม่ได้ เพราะหน้าที่ของผู้จัดการร้าน คือ ต้อง‪สร้างยอดขายที่เติบโต‬ของร้านนะครับ ไม่ใช่อยู่ไปวัน ๆ การเพิ่มยอดขาย จะมาจาก 2 ทาง คือ ‪เพิ่มจำนวนลูกค้า‬ กับ เพิ่มยอดขายต่อบิล‬”
  • ถ้าต้องการเพิ่มยอดขาย ต้องทำไง? เพิ่มจำนวนลูกค้า ทำได้หลายวิธี คือ หาวิธี ให้ลูกค้าเดิมมากินบ่อยขึ้น หรือ หาลูกค้าใหม่เข้ามา ไม่ใช่ ใหม่มา เก่าหาย
  • ฉะนั้น ... เวลาไปเปิดสาขาใหม่ครั้งแรกลูกค้ามาเยอะไหม? มาเยอะ แล้วทำไมถึงหายไป เพราะอะไร อาจเพราะ ไม่อร่อย บริการไม่ดี แพง อาหารช้า พนักงานไม่สุภาพ ร้านไม่สะอาด ใช่ไหม?
  • ถ้าสิ่งที่ตอบมาถูกต้อง รู้แล้ว อย่าให้เกิดสิ่งนั้น มีบทพิสูจน์ความเป็นจริงมาแล้วว่า "ลักษณะการเปิดร้าน เดือนแรก ขายดี เดือนที่สอง สาม ตก เดือนที่สี่ต้องขึ้น" ถ้าใครตกนะครับ ปิดกิจการได้เลย เพราะไซเคิลร้านอาหารจะมาแบบนี้ เดือนสอง สามตกไป แต่เดือนที่สี่ต้องกลับขึ้นไป แต่ถ้าเกิดตัวเลขขึ้นตลอดทุกเดือน ก็ถือว่า สุดยอด”
  • บางแบรนด์ มีเทคนิคการเพิ่มยอดขายจากการเพิ่มยอดซื้อต่อบิล สินค้าบางรายการขายยาก แต่พอลูกค้ามาที่ร้าน แนะนำโปรโมชั่น ‎"ขายพ่วง"‬ ทำให้ลูกค้าจะจ่ายต่อบิลเพิ่ม และยังทำให้สินค้าที่ขายยาก ขายออกได้ด้วย นี่เป็นตัวอย่างของการเพิ่มยอดขายต่อบิลครับ ที่ทำให้ยอดขายของร้านเพิ่มขึ้นมาได้ ผู้จัดการร้านที่เก่งกาจ ต้องเก่งเรื่องนี้ด้วย
4.‪ บริหารกำไร‬
  • "ผู้จัดการร้าน" ต้องมีความรู้ในเรื่อง‎ตัวเลขแสดงผลกำไร‬ - ขาดทุนของร้าน‬ อันมาจากปัจจัยต่าง ๆ คือ การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory) ค่าใช้จ่ายตายตัว ค่าใช้จ่ายที่ผันแปร ที่ต้องเข้าใจเรื่องนี้ เพราะ ผลสุดท้าย ‪ตัวชี้วัด‬ความสามารถในการจัดการร้าน คือ "ได้กำไร" นั่นเอง
  • “การบริหารสินค้าคงคลัง"‬ คือ ‎บริหารสต็อก‬สินค้า คือ การแยกสินค้าไว้เป็นกลุ่ม เช่น ของสด มีเนื้อสัตว์ สัตว์ปีก สัตว์น้ำ ของแห้ง มี ข้าวสาร น้ำตาล คือ จัดเป็นหมวดหมู่ เพื่อให้ง่ายในการใช้งาน และบันทึกสินค้า และต้องรู้ระบบ Inventory เพื่อรู้ต้นทุน
  • เพราะปัญหาที่ผ่านมา เราไม่รู้ต้นทุนในการขาย เราไม่รู้ต้นทุนสต็อกสินค้า ในการทำธุรกิจเราต้องรู้ครับ ผมมีข้อแนะนำง่ายที่สุด "คบกับแมคโคร" เขาจะมีลิสให้เราหมด มีทั้งบาร์โค้ด มีทั้งภาพให้ด้วย มันจะง่ายขึ้น ไม่ต้องมีต้นทุนการเก็บของด้วยครับ แต่บางคนบอกว่าซื้อที่ตลาดถูกกว่า แต่ค่าเดินทาง ค่าเสียเวลา ที่สำคัญการซื้อของด้วยเงินสด ไม่มีบิล เปิดโอกาสให้โกงได้ง่ายครับ
  • เมื่อได้การจัดระเบียบรายการสินค้าแล้ว ก็ต้องมีเรื่องการรับของ สั่ง10 ก็ได้10 แต่ถ้าสั่งเท่านี้แล้วได้น้อยกว่านี้ "อันนี้ก็เจ๊ง" หรือ ผลไม้ตามฤดูกาลถ้าเน่าเสียไป 1 ลูก ก็‪ต้นทุน‬ครับ

  • ฉะนั้น ต้องมาเรื่องการทำระบบการจัดเก็บ อย่างตู้เย็น ถ้าเขาบอกว่าเก็บได้ 50 ถุงแต่เราเล่นเก็บ 70 ถุง แสดงว่าสั่งมาเยอะเกินไป คนสั่ง คือใคร ก็เราผู้จัดการร้าน สั่งของมาเยอะ เพราะไม่คำนวณ ประมาณยอดขาย ก็เกิดต้นทุน ทำให้กำไรน้อยลง
  • “‪ผู้จัดการร้านต้องรู้‬ เทคนิคการสั่งของ" ให้เหมาะกับยอดขาย สมมุติว่า ตั้งยอดขายไว้ 1 แสน ต้องขายไก่ 10 ตัว 2 แสนบาท ต้องสั่งไก่ 20 ตัว 3 แสนบาทต้องสั่งไก่ 30 ตัว
  • ดังนั้น สัดส่วนการสั่งของก็ต้องพอดี ถ้าไม่คำนวณ เสร็จเลยนะครับ คือ การบาลานซ์สต็อก และต้องมีการตรวจนับสต็อกประจำด้วยครับ เพราะถ้าของหาย 1 ชิ้น สินค้าเน่า 1 ลูก เงินหายไปแล้วครับ นี่คือ ความยุ่งยากของผู้จัดการ แต่เพราะนี่คือหน้าที่ของผู้จัดการร้านไงครับ
  • นอกจากนี้แล้ว ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าโทรศัพท์ ค่าแก๊ส ค่าเช่า ค่าแรง ใครเป็นผู้จัดการต้องรู้หมด เพราะต้องควบคุม ยอดขาย/ผลกำไรของร้าน ถ้ายอดขาย 6 แสน ก็ต้อง 6 แสน ต้องอยู่ให้ได้ "ยอดขาย-ต้นทุน-กำไร" ต้องรู้ให้ได้ ไม่รู้ไม่ได้นะ อันตราย
  • อย่าลืมนะครับ เจ้าของกิจการ หรือ ผู้จัดการก็ต้องมีเงินเดือนด้วยครับ ก็มาจากกำไรนี่ครับ

ในวันพฤหัสบดีที่ 15 - วันศุกร์ที่ 16 กันยายน 2559 นี้ ‪ทางสมาคมแฟรนไชส์ไทย‬ โดยได้รับการสนับสนุนของ 7-อีเลฟเว่น และ บริษัท แฟรนไชส์โฟกัส กำลังจะมีการจัดสัมมนา‬ และเวิร์คช็อป เรื่อง “ผู้จัดการร้านขั้นเทพ” ณ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ถนนแจ้งวัฒนะ

สัมมนานี้เหมาะสำหรับ ผู้สนใจ เจ้าของกิจการ หัวหน้างาน ผู้จัดการ หรือ ต้องการส่งพนักงานเข้าร่วมอบรม

หากท่านใดสนใจอบรมคอร์สไหน กรุณาสอบถามได้ที่ 02-896-7330
ทั้งนี้ ท่านที่สนใจ สามารถสมัครเรียน ได้ผ่านทาง https://www.thaifranchisecenter.com/seminar/show.php?etID=8625
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
อากิโกะที เปิด 2 สาขาใ..
5,871
สเต็กเด็กแนว สร้างรายไ..
2,712
ซอห์น ฟู้ด จัดโปรแรง! ..
1,184
ก๋วยเตี๋ยวเรือปัญจะรส ..
779
“THE GRAND MALL” ทำเลด..
638
ธงไชย ผัดไทย ร่วมกับคน..
620
ข่าวอบรมสัมนามาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด