2.0K
2 ตุลาคม 2559
เฮฟต้า รุกขายแฟรนไชส์วัสดุก่อสร้างตปท.

 
"เฮฟต้า" ลุยหาพาร์ตเนอร์ขยายแฟรนไชส์บุก AEC สปป.ลาว เมียนมา เนปาล อินเดีย เร่งหาตลาดใหม่ ปรับตัวรับมือเศรษฐกิจซบ ยอดขายตลาดในประเทศหดกว่า 50% พร้อมปัดฝุ่นระบบโลจิสติกส์ ซัพพลายเชนหลังบ้านเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร
 
นางสาววันทา เปี่ยมพงศ์สุข กรรมการผู้จัดการ บริษัท เฮฟต้า จำกัด ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายโครงสร้างประตู หน้าต่าง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ยอดขายปี 2558 ลดลงเกือบ 50% จากรายได้ทั้งหมดที่ 200 ล้านบาท

โดยเฉพาะสถานการณ์ในช่วงครึ่งปีหลัง ได้ส่งผลกับทุกธุรกิจ ดังนั้น ในปี 2559 บริษัทจึงได้ปรับแผน โดยการหาตลาดใหม่ ใช้รูปแบบขยายแฟรนไชส์หาพาร์ตเนอร์ เพื่อออกไปสู่ตลาดต่างประเทศ เช่น สปป.ลาว เมียนมาเนปาล อินเดีย ฯลฯ
 
 
ขณะเดียวกันสนใจหาพาร์ตเนอร์เพื่อลงทุนตามหัวเมืองใหญ่ภายในประเทศ เช่น จ.สงขลา จ.สุราษฎร์ธานี จ.นครราชสีมา จากปัจจุบันบริษัทมีพาร์ตเนอร์ ทั้งหมด 12 ราย(เฉพาะในประเทศ) คาดว่านโยบายการขยายตลาดในลักษณะดังกล่าวจะส่งผลให้รายได้ปีนี้เติบโตปีละประมาณ 10% และอาจเติบโตแบบก้าวกระโดดหลังจากขยายตลาดไปลงทุนยังต่างประเทศ
 
"นโยบายลงทุนไปเพื่อนบ้าน เริ่มจากการเปิดตลาดใน สปป.ลาว เมื่อปลายปีที่แล้ว และที่กัมพูชาเมื่อต้นปีที่ผ่านมา และอยู่ระหว่างการเจรจาพาร์ตเนอร์ท้องถิ่นรายหนึ่งในประเทศเนปาล จากที่เราเคยไปออกงานแสดงสินค้า ลูกค้าชอบสินค้าของเราจึงเป็นโอกาสที่ลูกค้าจะนำสินค้าเข้าไปเปิดตลาด ส่วนอินเดียตลาดนี้ใหญ่มากเราสนใจและกำลังศึกษาลู่ทางอยู่ และเมียนมามีศักยภาพการเติบโตที่สูงมาก เพราะกำลังเปิดประเทศ มีโครงการลงทุนก่อสร้างจำนวนมากใน 2 ประเทศนี้ จึงถือเป็นเป้าหมายหลัก"
 
 
สำหรับรูปแบบการลงทุนจะใช้วิธีการขยายแฟรนไชส์ไปกับพาร์ตเนอร์ไม่ใช่การลงทุนตรง100% โดยพาร์ตเนอร์จะเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด จำเป็นต้องเตรียมงบฯลงทุนไว้ที่ 2 ล้านบาททั้งในส่วนของเครื่องจักร แวร์เฮ้าส์ สร้างโรงงาน จ้างคน จากนั้นบริษัทจะเข้าไปเซตระบบการบริหารจัดการงานให้ และสอนในเรื่องของการขาย การผลิต รวมถึงการติดตั้ง อุปกรณ์หลังการขาย ภายใต้แบรนด์สินค้าของเฮฟต้า จากนั้นจะคอยเป็นพี่เลี้ยงให้ รูปแบบการลงทุนลักษณะนี้เหมาะกับผู้ประกอบการรายย่อย
 
บริษัทได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการกับทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม(กสอ.) ในโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิต เพื่อยกระดับการแข่งขัน (MDICP Standard) แน่นอนว่ารางวัลจากการผ่านโครงการดังกล่าวถือเป็นเครื่องการันตีศักยภาพขององค์กรและประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจเนื่องจากโครงการจะสอนการพัฒนาและปรับปรุงส่วนการผลิต การยกระดับการบริหารจัดการองค์กรให้เป็นระบบมาตรฐานสากล การเพิ่มความสามารถและการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีนำไปสู่นวัตกรรม การเสริมสร้างความสามารถทางการบริหารการเงินและการลงทุน"
 
 
"บางรายอาจจะไม่สนใจในโครงการที่รัฐจัดขึ้นแต่การที่จะอยู่รอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้รายย่อยเองจะต้องกลับไปทบทวนเรื่องของนโยบายภายในองค์กรก่อนการอบรมทีมงานสำคัญอย่าง MDICP เขามีเจ้าหน้าที่ช่วยอบรมมาดูสถานที่จริงมาช่วยแนะนำ รัฐถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้เอกชนโดยเฉพาะผู้ประกอบการรายเล็ก เพราะบางรายไม่มีทางออกจริง ๆรัฐช่วยสนับสนุน และผลักดันให้รายเล็กเป็นรายกลาง สามารถขยายตลาดไปต่างประเทศได้ และในอนาคตจะพัฒนาเป็นรายใหญ่ เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในเศรษฐกิจของไทย"
 
หากประเมินภาพรวมภาวะเศรษฐกิจครึ่งปีหลังนี้ เชื่อว่ามีแนวโน้มดีขึ้น ดังนั้น การพยายามผลิต สินค้าตามไลฟ์สไตล์นับเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งการสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งให้ลูกค้ามีตัวเลือกมากขึ้น

อ้างอิงจาก  ประชาชาติธุรกิจ
 
ขอบคุณรูปภาพจาก  http://goo.gl/GjcM0r
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
อากิโกะที เปิด 2 สาขาใ..
5,852
สเต็กเด็กแนว สร้างรายไ..
2,705
ซอห์น ฟู้ด จัดโปรแรง! ..
1,184
ก๋วยเตี๋ยวเรือปัญจะรส ..
779
“THE GRAND MALL” ทำเลด..
638
ธงไชย ผัดไทย ร่วมกับคน..
617
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด