1.4K
17 ธันวาคม 2559
มาแล้ว! ค้ำประกันสินเชื่อ 1 แสนล. บสย. ผนึกแบงก์ลุย “เอสเอ็มอี ทวีทุน”

 
 
มาแล้ว! สำหรับโครงการค้ำประกันสินเชื่อ “เอสเอ็มอี ทวีทุน” หรือ PGS6 หลังจากเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2559 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติให้ บสย. ดำเนินโครงการดังกล่าว ในวงเงิน 1 แสนล้านบาท ซึ่งจะหมดเขตในวันที่ 30 มิถุนายน 2561 หรือประมาณ 1 ปีครึ่งจากนี้

ซึ่งคาดว่าจะช่วยผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ 33,000 ราย ก่อให้เกิดสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินรวม 168,000 ล้านบาท และก่อให้เกิดเงินทุนหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ 458,000 ล้านบาท
       
ถือเป็นอีกหนึ่งข่าวดีสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่ต้องการของสินเชื่อเพื่อลงทุน ขยายธุรกิจ หรือเพื่อเสริมสภาพคล่อง โดยการค้ำประกันของ บสย. สามารถเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการที่ขาดหลักประกัน หรือหลักประกันไม่เพียงพอในการขอสินเชื่อ

โดย บสย. จะมีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ภายใต้โครงการนี้กับธนาคารต่างๆ ในช่วงต้นเดือนธันวาคม เพื่อเร่งให้การค้ำประกันสินเชื่อกับผู้ประกอบการเกิดขึ้นได้เร็วที่สุด 
 

 
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยมติ ครม. อนุมัติให้ บสย. ดำเนินโครงการ“เอสเอ็มอี ทวีทุน” วงเงิน 1 แสนล้านบาท
 
ข้อดีของโครงการค้ำประกันสินเชื่อ “เอสเอ็มอี ทวีทุน” หากเทียบกับโครงการค้ำประกัน PGS5 (ปรับปรุงใหม่) ก่อนหน้านี้ที่ชัดเจนคือ กรณีที่เกิดความสูญเสียจากหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) บสย. รับผิดสูงขึ้นเป็น 23.75% จากเดิม 22.5% และขยายระยะเวลาการค้ำประกันจาก 7 ปี เป็น 10 ปี ซึ่งทำให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการเป็นไปอย่างต่อเนื่อง 
 
อีกหนึ่งสิ่งที่แตกต่างเป็นเรื่องของ “คุณสมบัติของ SMEs” ที่จะเข้ามาใช้บริการโครงการนี้ ซึ่งเพิ่มเติมเข้ามา คือ ต้อง “ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้” ทั้งที่เป็น SMEs ประเภทบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล

โดยมีเอกสารหรือหลักฐานแสดงการยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ในรอบปีปัจจุบันหรือ 1 ปีก่อนหน้า จุดประสงค์ก็เพื่อสนับสนุน SMEs ที่เข้าระบบฐานภาษีได้รับสิทธิประโยชน์ และความช่วยเหลือต่างๆ จากภาครัฐอย่างเต็มที่
       
แน่นอนว่าการที่ ครม. อนุมัติการดำเนินโครงการค้ำประกันสินเชื่อ “เอสเอ็มอี ทวีทุน” ซึ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายไปที่ผู้ประกอบการทั่วไป จะทำให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ของ บสย.

จากนี้ ทำได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และครอบคลุม SMEs ทุกกลุ่ม เนื่องจากปัจจุบัน บสย. มีการค้ำประกันใน 2 โครงการอยู่แล้ว คือ โครงการค้ำประกันผู้ประกอบการรายย่อย Micro Entrepreneurs ระยะที่ 2 และโครงการค้ำประกันสินเชื่อผู้ประกอบการใหม่และนวัตกรรม
       
สำหรับโครงการค้ำประกันฯ รายย่อย ซึ่งมุ่งช่วยเหลือกลุ่มพ่อค้า แม่ค้า หาบเร่ แผงลอย ที่ขาดหลักประกัน โดยค้ำประกันฯ สูงสุดรายละไม่เกิน 2 แสนบาท ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา บสย. สามารถค้ำประกันฯ กลุ่มรายย่อย รวมแล้วกว่า 15,000 ราย และขณะนี้กำลังเดินหน้าช่วยเหลือผู้ประกอบการอย่างเข้มข้นผ่าน 4 ธนาคาร คือ ออมสิน ไทยเครดิตเพื่อรายย่อย ทิสโก้ และธนาคารกรุงเทพ
       
ขณะที่โครงการค้ำประกันฯ ผู้ประกอบการใหม่และนวัตกรรม ซึ่ง บสย. ได้รับการอนุมัติโครงการจาก ครม. เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2559 วงเงินรวม 1 หมื่นล้านบาท ปัจจุบันเริ่มมีการอนุมัติค้ำประกันแล้ว ผ่านธนาคารกรุงเทพ และธนาคารออมสิน ซึ่งมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
       
วันนี้เมื่อกลไกการค้ำประกันสินเชื่อ สามารถเดินหน้าได้อย่างเต็มที่ สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ทำให้โอกาสและศักยภาพของ SMEs ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนมีมากขึ้น สิ่งที่จะตามมาคือ เจ้าของธุรกิจ และ SMEs ไทยมีความเข้มแข็งมากขึ้น 
       
อีกหนึ่งสัญญาณดีๆ ที่จะเกิดขึ้นกับวงการ “เอสเอ็มอีไทย” หลังจากนี้ 
       
บทความโดย: บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) 

อ้างอิงจาก ผู้จัดการออนไลน์
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
อากิโกะที เปิด 2 สาขาใ..
5,982
สเต็กเด็กแนว สร้างรายไ..
2,734
ซอห์น ฟู้ด จัดโปรแรง! ..
1,192
ก๋วยเตี๋ยวเรือปัญจะรส ..
779
“THE GRAND MALL” ทำเลด..
650
ธงไชย ผัดไทย ร่วมกับคน..
628
ข่าว SMEsมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด