4.3K
13 พฤษภาคม 2552

เบสท์เวสเทิร์นสบช่องศก.ซบ รุกเปิดโมเดลเพิ่มเป้ารับบริหาร 
 


เชนมะกัน"เบสท์เวสเทิร์น"ฉวยจังหวะเศรษฐกิจซบ เปิดโมเดลเพิ่มเป้าหมายการรับบริหารและขายแฟรนไชส์ธุรกิจโรงแรมในเอเชีย ชูจุดเด่นค่าธรรมเนียมถูกกว่าเชนต่างชาติรายอื่น แต่ได้ผลตอบแทนจากการลงทุนสูงกว่า หวังเปิดแนวรุกดึงโรงแรมเข้าร่วมเป็นสมาชิก


นางสาวนิรมล มครพฤติพงศ์ ผู้จัดการแผนกการจัดการและบริการลูกค้าสัมพันธ์ เบสท์เวสเทิร์น ภูมิภาคเอเชีย เปิดเผยกับว่าท่ามกลางวิกฤติการชะลอตัวของเศรษฐกิจขณะนี้ เบสท์เวสเทิร์นยังมองเห็นโอกาสในการขายแฟรนไชส์เพื่อให้โรงแรมได้ใช้ประโยชน์จากการใช้ระบบการจองห้องพักผ่านเครือข่ายของเบสท์เวสเทิร์นและการขยายโอกาสรับบริหารโรงแรมในภูมิภาคนี้เพิ่มขึ้น จากปัจจุบันที่ทางสำนักงานดูแลอยู่ 38 แห่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก(ยกเว้น จีน และอินเดีย)


"มั่นใจว่าโมเดลการดำเนินธุรกิจของเบสท์เวสเทิร์น จะสามารถตอบโจทย์ผู้ประกอบการโรงแรมในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงธุรกิจโรงแรมในไทยได้ เพราะในขณะนี้เจ้าของโรงแรมต่างมองการลดค่าใช้จ่ายโดยเปรียบเทียบผลตอบแทนในการเข้ามาลงทุนในการว่าจ้างเชนจากต่างประเทศเข้ามาบริหารโรงแรมมากขึ้น ซึ่งเบสท์เวสเทิร์น มีข้อได้เปรียบแตกต่างจากเชนอื่นๆที่เจ้าของโรงแรมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง แต่จ่ายในราคาสมเหตุสมผล เพื่อได้รับการให้บริการที่จะทำให้ธุรกิจเดินไปได้ เพราะเบสท์เวสเทิร์นเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร"


ดังนั้นการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้ประกอบการโรงแรมซึ่งเป็นสมาชิก ก็เพื่อให้องค์กรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ มีรายได้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายสำหรับการทำงานในด้านคอร์ปอเรต พีอาร์ ที่จะต้องประชาสัมพันธ์และโฆษณาโรงแรมทั้งหมดในเครือเบสท์เวสเทิร์น รวมถึงการซื้อตั๋วเครื่องบินหรือบัตรกำนัลต่างๆ ในการใช้เป็นรางวัลสะสมให้แก่ลูกค้า เพื่อกระตุ้นยอดขาย แตกต่างจากเชนจากต่างประเทศรายอื่นๆที่บริหารงานในรูปของบริษัท 


ทั้งนี้ เบสท์เวสเทิร์น จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆจากผู้ประกอบการโรงแรมในราคาที่ถูกกว่าเชนอื่นๆจากต่างประเทศ เช่นค่าธรรมเนียมในการเข้าเชน จะเรียกเก็บเป็นหลักแสนดอลลาร์สหรัฐฯขึ้นไป แต่เบสท์เวสเทิร์น จะเรียกเก็บตามจำนวนห้องพัก อาทิ ต่ำกว่า 50 ห้องเริ่มต้นที่ 4 หมื่นดอลลาร์สหรัฐฯ สัญญาของเบสท์จะอยู่ที่ 5 ปี ซึ่งหากลูกค้าพอใจก็สามารถต่อได้ แต่หากเป็นเชนอื่นจะผูกพันสัญญา 10-20 ปี ระบบบริการลูกค้า ก็จะรับคอมเมนต์จากลูกค้าเพื่อแก้ไขการให้บริการ หากใช้เชนอื่นโรงแรมจ่ายในราคา70-100 ดอลลาร์สหรัฐฯ แต่เบสท์เวสเทิร์นเก็บอยู่ที่ 26 ดอลลาร์สหรัฐฯ


ขณะที่ค่าธรรมเนียมรายเดือน เชนส่วนใหญ่มีทั้งการเรียกเก็บ 2-3% จากรายได้ หรือบางเชนก็เรียกเก็บ 2-3% ต่อกำไร แต่เบสท์เวสเทิร์น จะเรียกเก็บในลักษณะของค่าธรรมเนียมจองผ่านระบบเครือข่ายเบสท์เวสเทิร์นหรือรีเซอร์เวชัน ฟี ซึ่งจะคิด 8% ต่อบุ๊กกิ้ง ถูกกว่าการที่โรงแรมต้องจ่ายค่าคอมมิชชันให้เอเยนต์อยู่ที่ 10% เป็นต้น


นอกจากการนำเสนอโมเดลทางธุรกิจที่แตกต่างเชนอื่นแล้ว เบสท์เวสเทิร์น ยังต้องปรับภาพลักษณ์ของเครือใหม่ในสายตาของลูกค้า เพราะในสหรัฐอเมริกาแบรนด์โรงแรมที่ใช้เบสท์เวสเทิร์น ส่วนใหญ่จะเป็นโรงแรมระดับ 2-3 ดาวที่เรียกว่าอินน์หรือโมเต็ล แต่ปัจจุบันโรงแรมที่เบสท์เวสเทิร์น บริหารส่วนใหญ่จะอยู่ในยุโรปหรือเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นไทย เกาหลี ญีปุ่น บาหลี จะเป็นโรงแรมในระดับ 4-5 ดาว ภายใต้แบรนด์เบสท์เวสเทิร์น และพรีเมียร์


นางสาวนิรมล ยังกล่าวอีกว่าสำหรับการดำเนินธุรกิจโรงแรมนับจากกลางปีที่ผ่านมาถึงไตรมาสแรกของปีนี้ ผลจากวิกฤติการเงินของสหรัฐฯ ทำให้ทางเบสท์เวสเทิร์นต้องวิเคราะห์ข้อมูลและหารือทำแผนกับผู้ประกอบการโรงแรมอย่างใกล้ชิดเพื่อให้เกิดช่องทางในการทำตลาด และจากภาวะวิกฤติแบบนี้ ก็มีการยืดหยุ่น เช่นแผนการปรับปรุงห้องพักตามมาตรฐานของเบสท์เวสเทิร์น ก็มีการยืดหยุ่นในเรื่องของระยะเวลาในการรีโนเวต


ส่วนโรงแรมที่กำลังเตรียมจะเปิด ก็ต้องทำความเข้าใจว่าอย่าให้เขาถอดใจ เพราะการลงทุนในช่วงนี้ถือว่าค่าก่อสร้างถูก และการเปิดให้บริการได้เร็วก็จะทำให้โรงแรมมีรายได้เข้ามา มากกว่าการเลื่อนเปิดให้บริการ ซึ่งการชะลอตัวของการก่อสร้างโรงแรมใหม่ที่เกิดขึ้นภายใต้เครือเบสท์เวสเทิร์น จะเห็นชัดเจนในไทยและญี่ปุ่น ขณะที่ดูไบยังไปได้ดี 









อ้างอิงจาก ฐานเศรษฐกิจ
 

ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
อากิโกะที เปิด 2 สาขาใ..
5,954
สเต็กเด็กแนว สร้างรายไ..
2,721
ซอห์น ฟู้ด จัดโปรแรง! ..
1,192
ก๋วยเตี๋ยวเรือปัญจะรส ..
779
“THE GRAND MALL” ทำเลด..
646
ธงไชย ผัดไทย ร่วมกับคน..
628
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด