12K
29 มิถุนายน 2552

สั่งสอบห้างยักษ์ดัมพ์ราคา โชห่วยเรียงคิวเจ๊งทะลุหมื่น

 

 

  "กรมการค้าภายใน"  สอบห้างยักษ์ดัมพ์ราคา  หลังโชห่วยร้องเรียนหนัก  ระบุผิดจริงจำคุก  3  ปี  ปรับ  6  ล้าน  ด้าน  สสว.เผยร้านค้าปลีกไทยแห่ปิดกิจการเดือนละ  2,500  ราย  เล็งทั้งปีตายเกือบ  3  หมื่น  เซเว่นฯ  เพิ่มมาตรการขายแฟรนไชส์  เจอบางรายทำไม่จริงจนต้องปิด

     นายยรรยง  พวงราช  อธิบดีกรมการค้าภายใน  กระทรวงพาณิชย์  เปิดเผยว่า  กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับกระทรวงมหาดไทยเข้ามาดูแลผู้ประกอบการค้าปลีกรายย่อยในแต่ละพื้นที่มากขึ้น  พร้อมตรวจสอบการกระทำของห้างค้าปลีกรายใหญ่  เนื่องจากมีผู้ประกอบการโชห่วยร้องเรียนอย่างต่อเนื่องประมาณ  100  ราย  ถึงความไม่เป็นธรรมด้านการแข่งขันทางการค้าของห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ในการลดราคาสินค้าต่ำกว่าทุน  นอกจากนี้มีแผนตรวจสอบสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ของห้างค้าปลีกรายใหญ่เข้าข่ายการขายสินค้าต่ำกว่าทุนและเอาเปรียบซัพพลายเออร์หรือไม่  เพราะผู้ประกอบการห้างค้าปลีกจ้างซัพพลายเออร์ผลิตสินค้าติดแบรนด์ของห้างค้าปลีกนั้นๆ  เพิ่มขึ้น  หากเข้าข่ายผิด  พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า  มีบทลงโทษ  คือ  จำคุก  3  ปี  ปรับ  6  ล้านบาท

     นายภักดิ์  ทองส้ม  รักษาการผู้อำนวยการผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม  (สสว.)  กล่าวว่า  ขณะนี้ร้านค้าปลีกที่จดและไม่จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ปิดกิจการเฉลี่ยเดือนละ  2,000-2,500  ราย  หรือเกือบ  3  หมื่นรายตลอดปี  เพราะประสบปัญหาดำเนินธุรกิจอย่างมากจากการขยายตัวของค้าปลีกขนาดใหญ่และวิกฤติเศรษฐกิจโลก  เนื่องจากไม่สามารถลดราคาให้ต่ำใกล้เคียงรายใหญ่  เพื่อดึงดูดผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่ต้องการสินค้าราคาถูก  ซึ่งภาครัฐจำเป็นต้องช่วยเหลือร้านค้าปลีก  7-8  แสนรายให้อยู่รอดในภาวะแข่งขันรุนแรง

     ทั้งนี้  ธุรกิจค้าปลีกของคนไทยส่วนใหญ่ทำธุรกิจแบบตั้งรับ  ไม่สามารถใช้นโยบายเชิงรุกต่อสู้กับคู่แข่งรายใหญ่หรือทุนต่างชาติได้  เบื้องต้นภาครัฐจะส่งเสริมการลดต้นทุนการขนส่งและสินค้า  ขณะเดียวกันร้านค้าเองต้องปรับปรุงมาตรฐานสินค้า  โดยไม่จำหน่ายสินค้าหมดอายุและเพิ่มบริการให้พอใจของผู้บริโภค  เช่น  การส่งสินค้าถึงบ้านลูกค้า

     "ภาครัฐเร่งพัฒนาเอสเอ็มอีเพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียนในปี  58  หากไม่พร้อมจะเสียเปรียบทันที  โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีกรายเล็กต้องแข่งขันกันมากขึ้น  ตรงนี้  สสว.ได้ให้ความรู้การบริหารจัดการหลายด้าน  เช่น  ปรับปรุงธุรกิจให้ทันสมัย  ใช้ระบบไอที  หากไม่พัฒนาคงลำบาก"  นายภักดิ์กล่าว
 


 

     ด้านนายสุวิทย์   กิ่งแก้ว   รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส  บริษัท  ซีพี  ออลล์  จำกัด  (มหาชน)  ผู้บริหารร้านเซเว่นอีเลฟเว่น  กล่าวว่า  บริษัทได้เพิ่มความเข้มงวดในการขายแฟรนไชส์เนื่องจากบางแห่งไม่ประสบความสำเร็จ  ผู้ซื้อแฟรนไชส์ส่วนใหญ่เป็นอินเวสเตอร์เน้นการลงทุนแต่ไม่เน้นการเข้ามาบริหารงาน ส่งผลให้เกิดปัญหาภายในร้าน  เช่น  ลูกน้องหยิบเงินไปใช้  

โดยกำหนดหลักเกณฑ์  2  ข้อ  คือ 

  1. ผู้ขอแฟรนไชส์ต้องเข้ามาเป็นผู้ประกอบการจริง 
  2. ต้องประกอบธุรกิจของร้านเซเว่นอีเลฟเว่นอย่างเดียวไม่ทำอาชีพอื่น  เพื่อการบริหารร้านที่มีประสิทธิภาพ 
นอกจากนี้เปิดโอกาสให้ผู้สนใจที่ไม่มีพื้นที่สามารถซื้อร้านเซเว่นฯ  ที่เปิดให้บริการแล้ว  งบลงทุน  1.5  ล้านบาท  และคืนทุนภายใน  2  ปี

     ปัจจุบัน   บริษัทขยายร้านเซเว่นฯ   5,000  สาขา  คาดขยายครบ  5,200  สาขา  ภายในสิ้นปี   ซึ่งสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวส่งผลให้มีผู้สนใจร่วมธุรกิจกับร้านเซเว่นฯ   มากขึ้น  โดยเฉพาะกลุ่มเกษียณอายุและกลุ่มคนถูกเลิกจ้าง

 
อ้างอิงจาก ไทยโพสต์
 

ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
อากิโกะที เปิด 2 สาขาใ..
5,834
สเต็กเด็กแนว สร้างรายไ..
2,705
ซอห์น ฟู้ด จัดโปรแรง! ..
1,184
ก๋วยเตี๋ยวเรือปัญจะรส ..
779
“THE GRAND MALL” ทำเลด..
638
ธงไชย ผัดไทย ร่วมกับคน..
617
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด