1.2K
10 กรกฎาคม 2562
ยูบีเอ็ม เอเชีย  ร่วมกับพันธมิตร จัด "Fi Asia 2019" เพื่อสตาร์ทอัป เอสเอ็มอี
 
 
 
บริษัท ยูบีเอ็ม เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด ในเครือ บริษัท อินฟอร์มาร์ พีแอลซี ประเทศอังกฤษพร้อมจัดงาน Fi Asia 2019 หรืองานแสดงเทคโนโลยี และนวัตกรรม ส่วนผสมอาหารและเครื่องดื่ม และประกาศเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมการประกวดนวัตกรรมผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มครั้งที่ 2
 

 
นายมนู เลียวไพโรจน์ ประธาน บริษัท ยูบีเอ็ม เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด

นายมนู เลียวไพโรจน์ ประธาน บริษัท ยูบีเอ็ม เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า มีการคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมอาหารไทยในปี 2562 จะมีมูลค่าประมาณ 2.6 ล้านล้านบาท โดยเป็นการบริโภคภายในประเทศ 1.5 ล้านล้านบาท และเป็นการส่งออก 1.1 ล้านล้านบาท ซึ่งมีประเทศคู่ค้าหลักเป็นกลุ่มอาเซียน รองลงมาได้แก่กลุ่มประเทศอเมริกาเหนือ, แอฟริกา, สหภาพยุโรป และโอเชียเนีย โดยประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารอันดับที่ 12 ของโลก และเมื่อพิจารณาจากมูลค่าส่งออกอาหารในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ พบว่า ไทยมีส่วนแบ่งตลาดโลกเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.36 จากร้อยละ 2.34 ในปีก่อนหน้า ขณะที่ประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่เช่น สหรัฐฯ, บราซิล และจีน ต่างมีส่วนแบ่งตลาดโลกลดลง ส่วนประเทศผู้ส่งออกอาหารที่สำคัญในภูมิภาคอย่างอินเดียและเวียดนาม ต่างมีส่วนแบ่งตลาดโลกลดลงเช่นกัน
 
 
นางสาวรุ้งเพชร ชิตานุวัตร์ ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการ-ภูมิภาคอาเซียน บริษัท ยูบีเอ็ม เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด
 
ด้าน นางสาวรุ้งเพชร ชิตานุวัตร์ ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการ-ภูมิภาคอาเซียน บริษัท ยูบีเอ็ม เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด ในเครือ บริษัท อินฟอร์มาร์ พีแอลซี ประเทศอังกฤษ เปิดเผยถึงการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาว่า มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากทั้งปัจจัยของเทคโนโลยีและพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยความเป็น ‘ดิจิทัล’ ได้เข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงแพลตฟอร์มของทุกอย่างในปัจจุบัน นำไปสู่พฤติกรรมของผู้บริโภคที่ไม่เหมือนเดิม ผู้ประกอบการในวงการนี้จึงต้องปรับตัวและอยู่ให้รอดท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและรุนแรง โดยการตามกระแสไปกับเทคโนโลยี นวัตกรรม เทรนด์การรักษ์โลก และความนิยมของการดูแลสุขภาพ
 
ทั้งนี้ อุตสาหกรรมอาหารเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูงของไทย ที่ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศทั่วโลก แต่ในขณะเดียวกันนานาประเทศก็กำลังมุ่งเข้ามาแข่งขันในอุตสาหกรรมนี้ ด้วยความหวังว่าจะสามารถช่วงชิงพื้นที่ตลาด ผู้ประกอบการด้านอาหารจึงต้องปรับตัว จะหยุดนิ่งอยู่กับที่ไม่ได้ โดยเฉพาะผู้ประกอบการสตาร์ทอัพและเอสเอ็มอีที่มีส่วนสำคัญต่อการเคลื่อนไหวของอุตสาหกรรมนี้ เนื่องจากเป็นหน่วยที่เล็กที่สุด อัพเดตตนเองได้ไวที่สุด ในขณะเดียวกันก็มีศักยภาพมากพอที่จะพัฒนาสินค้า บริการ และแพลตฟอร์ม เพื่อตามให้ทันต่อยุคสมัยและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเอสเอ็มอีในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของไทย เป็นภาคส่วนที่ขับเคลื่อนให้ GDP ในปี 2560 มีการขยายตัวขึ้น รวมไปถึงการสร้างมูลค่าการส่งออกของภาคเกษตรที่น่าจับตามอง โดยมีมูลค่า 6,551,718 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.1 เร่งขึ้นจากปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 4.9 และมีสัดส่วนต่อ GDP รวมทั้งประเทศคิดเป็นร้อยละ 42.4 ส่วนสตาร์ทอัพด้านอาหารของไทยเป็นกลุ่มที่มีการลงทุนมากที่สุดในธุรกิจสตาร์ทอัพของทั้งประเทศ โดยคิดเป็น 14% ของการลงทุน
 
 
 ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
 
ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เปิดเผยว่า เนื่องจากรายได้ส่วนใหญ่ของประเทศไทยมาจากสินค้าเกษตรเป็นสำคัญ การใช้เทคโนโลยีการเกษตรที่ทันสมัย เกษตรกรรมแบบแม่นยำสูงหรือฟาร์มอัจฉริยะ เกษตรกรรมในเมือง และเกษตรกรรมแบบยั่งยืน รวมไปถึงการจัดการผลิตผลเกษตรแบบครบวงจร จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาภาคการเกษตรของไทย นวัตกรรมเกษตรจึงเป็นเกษตรกรรมยุคใหม่ที่จะมีบทบาทมากขึ้นและถือว่าเป็นเกษตรกรรมของอนาคตอย่างแท้จริง ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่มีคุณภาพดีย่อมมีต้นกำเนิดมาจากแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพสูง ดังนั้น การสนับสนุนให้ภาคเกษตรกรรมไทย ผลิตวัตถุดิบต้นทางได้อย่างมีมาตรฐานโดยนำ STI (องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม) เข้ามาใช้อย่างจริงจัง ย่อมการันตีได้ว่าสินค้าอาหารและเครื่องดื่มจะมีคุณภาพที่ดี ซึ่งจะส่งเสริมให้ประเทศไทยยังคงเป็นฐานการผลิตสำคัญของผลิตผลเกษตรของโลกต่อไป
 
ทั้งนี้ วว. พร้อมให้การสนับสนุนผู้ประกอบการไทยด้วยการให้บริการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ รวมทั้งบริการวิเคราะห์ ทดสอบ สอบเทียบ รับรองระบบคุณภาพและบริการ ตลอดจนการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ โรงงานบริการนวัตกรรมอาหาร หรือ FISP ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP พร้อมห้องปฏิบัติการวิจัยพัฒนาและห้องปฏิบัติการในการตรวจสอบคุณภาพในสายการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและผลิตภัณฑ์ผลไม้แช่อิ่มอบแห้ง ถือเป็นศูนย์บ่มเพาะเทคโนโลยีเพื่อนำไปใช้พัฒนาต่อยอดธุรกิจ โดยให้บริการกับผู้ประกอบการสำหรับทดลองผลิตสินค้าในช่วงที่ผู้ประกอบการรายใหม่เพิ่งจะเริ่มต้นกิจการ หรือในระยะรอการสร้างโรงงานของผู้ประกอบการ หรืออยู่ในช่วงของการทดสอบตลาดผลิตภัณฑ์เพื่อลดความเสี่ยงจากการลงทุนสำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ 
 
 
ผศ.ดร. ชุติมา ไวศรายุทธ์ รองคณบดียุทธศาสตร์แบรนด์และธุรกิจสัมพันธ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 
ผศ. ดร. ชุติมา ไวศรายุทธ์ รองคณบดียุทธศาสตร์แบรนด์และธุรกิจสัมพันธ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ทิศทางต่อไปของสตาร์ทอัพและเอสเอ็มอีด้านอาหารและเครื่องดื่มของไทยคือการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในระดับที่เป็นที่ยอมรับของอุตสาหกรรมชั้นแนวหน้า เพื่อเสริมความมั่นใจให้กับนักลงทุนและดึงความสนใจจากผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด ขณะที่ภาคเกษตรกรรมในปัจจุบันต้องมีการปรับตัว และคำนึงถึงการจัดการทรัพยากร การใช้ปัจจัยการผลิตอย่างเหมาะสม โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตเพื่อควบคุมการผลิต 
 
 
ผศ.ดร.พิสิฏฐ์ ธรรมวิถี รองคณบดี คณะเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์การเกษตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
 
ผศ.ดร.พิสิฏฐ์ ธรรมวิถี รองคณบดี คณะเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์การเกษตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มี Comparative advantage สำคัญ 2 ประการ คือ Biodiversity and Cultural diversity ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพและความได้เปรียบเหนือผู้ประกอบการประเทศอื่น ๆ ที่อาจไม่มี หรือมีเพียงบางปัจจัยที่สนับสนุนการเติบโตของธุรกิจอาหาร เพราะอาหารไม่เพียงแต่รับประทานเพื่อความจำเป็นต่อร่างกายเท่านั้น ยังทำหน้าที่เป็นสื่อกลางของวัฒนธรรม วิถีชีวิต และความเป็นอยู่ของผู้คนผ่านทางอาหารได้อย่างน่าอัศจรรย์อีกด้วย ซึ่งการบริโภคอาหารที่ผ่านมานั้นเป็นเพียงแค่ 1 ในปัจจัย 4 นั่นหมายถึงรับประทานในฐานะอาหาร แต่เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าวันนี้ผู้คนสนใจอาหารในฐานะของ “ผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมสุขภาพ” ในด้านการป้องกัน (Prevention) เพราะในปัจจุบันเราจะเห็นคนสนใจการออกกำลังกาย รักษาสุขภาพกันเป็นจำนวนมาก ดังนั้นในเมื่อความคาดหวังของผู้บริโภคเปลี่ยนไปจากการ “กินเพื่ออิ่มอร่อย” มาเป็น “กินเพื่อสุขภาพที่ดี” นั่นคือสิ่งที่กำลังบอกผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder) ว่าคุณค่าที่เราจะส่งมอบนั้นมีค่ามากมายมหาศาลมากเพียงใดกับผู้บริโภค และนั่นคือคำตอบว่าเหตุใดเกษตรและอาหารของไทยถึงต้องได้การยอมรับในระดับโลก
 
โดยงาน Fi Asia 2019 จะจัดขึ้นในวันที่ 11-13 กันยายน 2562 ณ ไบเทค บางนา มีผู้ประกอบการกว่า 750 บูธ จาก 50 ประเทศทั่วโลก ทั้งยังมีส่วน Innovation Zone ที่จัดแสดงนวัตกรรมส่วนผสมอาหารและเครื่องดื่มจากเทรนด์อาหารที่น่าสนใจ พร้อมการประกาศผลการประกวดนวัตกรรมผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มให้กับผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ และการจัดสัมมนาวิชาการนานาชาติในหัวข้อที่น่าสนใจอีกมากมาย โดยสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.fiasia.com/thailand

อ้างอิงจาก : MGROnline.com
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ฉลองขึ้นปีที่ 9 ธงไชยผ..
867
เปิดให้บริการแล้ว! แฟร..
704
“จง ชง ดี” ร่วมกับ Pas..
685
พบบูธโทกิวอช หมายเลข A..
629
โอจังชานมไข่มุก เปิดแพ..
575
งาน “แฟรนไชส์เอสเอ็มอี..
572
ข่าว SMEsมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด