หน้าอินโฟกราฟฟิค    แฟรนไชส์    แฟรนไชส์ (Franchise) vs เชนสโตร์ (Chain Store)
1.5K
8 กรกฎาคม 2567
แฟรนไชส์ (Franchise) vs เชนสโตร์ (Chain Store)

แฟรนไชส์ (Franchise)
  • แฟรนไชส์ซอร์อนุญาตให้แฟรนไชส์ซีใช้สินค้า/บริการ และระบบธุรกิจรูปแบบเดียวกัน
  • แฟรนไชส์ซอร์สนับสนุนในด้านต่างๆ เช่นการฝึกอบรม การตลาด และเทคโนโลยี
  • แฟรนไชส์ซีมีอิสระในการบริหารสาขาภายใต้เงื่อนไขของแฟรนไชส์ซอร์
  • ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้แฟรนไชส์ซอร์เป็นค่าสิทธิ์ในการใช้แบรนด์และระบบ
ตัวอย่างธุรกิจ 7-Eleven, Cafe amazon , เชสเตอร์
  • เจ้าของ แฟรนไชส์ซอร์ (เจ้าของแบรนด์) และแฟรนไชส์ซี (เจ้าของสาขา)
  • การบริหาร แฟรนไชส์ซีบริหารตาม เงื่อนไขแฟรนไชส์ซอร์
  • พนักงาน แฟรนไชส์ซีเป็นผู้จัดหาและฝึกอบรม
  • ข้อดี ความเสี่ยงต่ำ, แฟรนไชส์ซีได้รับการสนับสนุนจากแฟรนไชส์ซอร์
  • ข้อเสีย ต้องทำตามเงื่อนไขของแฟรนไชส์ชอร์ จ่ายค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์รายเดือน/รายปี

เชนสโตร์ (Chain Store)
  • ธุรกิจมีหลายสาขาภายใต้ชื่อเดียวกัน และมีรูปแบบการดำเนินงานที่เหมือนกัน
  • สำนักงานใหญ่เป็นผู้วางแผนการบริหารจัดการเกือบทุกอย่างให้แต่ละสาขาย่อย
  • พนักงานได้รับการอบรมจากส่วนกลางเพื่อให้บริการเป็นมาตรฐานเดียวกัน
  • หน้าที่หลักของแต่ละสาขาย่อยมุ่งเน้นไปที่ การดำเนินงานที่หน้างาน เช่น การขาย
ตัวอย่างธุรกิจ โลตัส, แม็คโคร, บิ๊กซี
  • เจ้าของ บริษัทเดียว เป็นเจ้าของทุกสาขา
  • การบริหาร สำนักงานใหญ่วางแผน การบริหารจัดการให้แต่ละสาขา
  • พนักงาน ส่วนกลางจัดหาและฝึกอบรมพนักงาน
  • ข้อดี อำนาจต่อรองสูงกับซัพพลายเออร์ การบริหารมีประสิทธิภาพจากส่วนกลาง
  • ข้อเสีย การขยายสาขาเชนสโตร์ ไม่การันตีกำไร ได้เหมือนกันทุกสาขา แม้มีมาตรฐานเดียวกัน
รู้ไว้ใช่ว่า
 
วิจัยกรุงศรีเผยจำนวนธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern trade) ในไทย ปี 2566 มี 20,000 สาขา มูลค่า 2.8 ล้านล้านบาท สัดส่วน 15.7% ของ GDP คาดการณ์ปี 2567-2569 มีแนวโน้มเติบโตเฉลี่ย 5-5.5% 
 
ข้อมูล ณ วันที่ 5 ก.ค. 2567
อินโฟกราฟฟิคที่น่าสนใจอื่นๆ