หน้าอินโฟกราฟฟิค    บทความ    รวมข้อดี-ข้อเสีย การจัดตั้งธุรกิจในแต่ละรูปแบบ
3.2K
27 กันยายน 2565
รวมข้อดี-ข้อเสีย การจัดตั้งธุรกิจในแต่ละรูปแบบ
1.ธุรกิจเจ้าของคนเดียว

ข้อดี

  • จัดตั้งง่าย ใช้เงินน้อย
  • เจ้าของกิจการมีอำนาจตัดสินใจโดยตรง
  • กำไรอยู่ที่เจ้าของทั้งหมด
  • ข้อบังคับกฎหมายน้อย
  • เลิกกิจการง่าย
ข้อเสีย
  • เงินทุนมีจำกัด
  • หากมีหนี้สิน เจ้าของกิจการรับผิดชอบเพียงคนเดียว
  • เสียประโยชน์ด้านภาษี เนื่องจากรายได้จะต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษี
  • ระดมทุนได้ยาก
  • กิจการมีอายุจำกัด โดยจะคงอยู่เมื่อเจ้าของมีชีวิตอยู่

2.ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน

ข้อดี
  • มีแหล่งเงินทุนมากกว่ากิจการคนเดียว
  • ความเสี่ยงน้อย เพราะมีผู้มาร่วมบริหารความเสี่ยง
  • จัดตั้งง่าย เลิกกิจการง่าย
ข้อเสีย
  • ระดมทุนได้เฉพาะผู้ถือหุ้นส่วน
  • มีอายุจำกัด หากหุ้นส่วนถอนตัว หรือเสียชีวิตลง
  • เสียภาษีซ้ำซ้อน นอกจากจะต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดาแล้ว ห้างฯ ยังต้องแบ่งกำไรให้กับหุ้นส่วนแล้วนำไปเสียภาษีบุคคลธรรมดาอีกต่อหนึ่ง
  • หุ้นส่วนต้องรับผิดชอบหนี้สินของห้างฯ อย่างไม่จำกัด

3.ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล (จดทะเบียน) เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียน
 
ข้อดี
  • มีแหล่งเงินทุนมากกว่าเจ้าของกิจการคนเดียว
  • ความเสี่ยงน้อย เพราะมีผู้ร่วมเฉลี่ยความเสี่ยง
  • จัดตั้งง่าย เลิกกิจการง่าย
  • มีความน่าเชื่อถือกว่าห้างหุ้นส่วนสามัญ
  • ได้ประโยชน์ทางภาษีมากกว่าห้างหุ้นส่วนสามัญ
ข้อเสีย
  • ผู้ถือหุ้นต้องรับภาระหนี้สินของห้างฯ อย่างไม่จำกัด
  • มีอายุจำกัด ความเป็นห้างสิ้นสุดลงเมื่อหุ้นส่วนถอนตัว หรือเสียชีวิต

4.ห้างหุ้นส่วนจำกัด
 
ข้อดี
  • ผู้ลงทุนที่เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบมีความเสี่ยงต่ำ ไม่ต้องรับผิดชอบมากกว่าส่วนที่ตนลงทุน
  • มีแหล่งเงินทุนมากกว่าเจ้าของคนเดียว
  • จัดตั้งง่าย เลิกกิจการง่าย
  • ได้ประโยชน์ทางภาษีมากกว่าห้างหุ้นส่วนสามัญ เนื่องจากการเสียภาษีนิติบุคคลสามารถหักค่าใช้จ่าย
  • มีความเสี่ยงน้อยลง เพราะมีผู้ร่วมบริหารเสี่ยง
ข้อเสีย
  • ขั้นตอนการจัดตั้งยุ่งยาก
  • มีค่าใช้จ่ายการบริหารงานสูง
  • ยกเลิกกิจการได้ยาก เพราะต้องมีการชำระบัญชี และจัดการให้ถูกต้องตามกฎหมาย
  • ต้องทำบัญชี และจัดส่งงบดุล
 

5.บริษัทจำกัด

ข้อดี
  • มีความน่าเชื่อถือ
  • ผู้ถือหุ้นไม่จำเป็นต้องบริหารเอง
  • ระดมเงินทุนได้มาก
  • ผู้ถือหุ้นมีความรับผิดชอบในหนี้สินของกิจการเพียงมูลค่าที่ตนยังค้างชำระเท่านั้น เจ้าหนี้ไม่สามารถยึดทรัพย์ส่วนตัวของผู้ถือหุ้นได้
  • ขาย หรือโอนหุ้นให้กับผู้อื่นได้
  • บริษัทยังดำเนินกิจการต่อไปได้ แม้ผู้ถือหุ้นจะเสียชีวิตหรือล้มละลาย
ข้อเสีย
  • ขั้นตอนจัดตั้งยุ่งยาก
  • ค่าใช้จ่ายบริหารสูง
  • ยกเลิกกิจการได้ยากต้องมีการชำระบัญชี และจัดการให้ถูกต้องตามกฎหมาย
  • ต้องจัดทำบัญชี จัดส่งงบดุล
อินโฟกราฟฟิคที่น่าสนใจอื่นๆ