3.7K
3 มกราคม 2558
เจาะเทรนด์คอมมูนิตี้มอลล์ 2558 ธุรกิจที่ยังเนื้อหอม


ในช่วงระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจศูนย์การค้าขนาดย่อมหรือคอมมูนิตี้มอลล์ ได้เริ่มมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง  เพราะด้วยบทบาทและวิถีชีวิตของคนไทยที่เปลี่ยนไป แม้ว่าจะมีความต้องการเข้าใช้บริการศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้า  แต่ก็ยังอยากที่จะสัมผัสกับบรรยากาศโดยรอบได้อย่างใกล้ชิด  จึงทำให้มีผู้ประกอบการหันมาปรับตัวสร้างโครงการในลักษณะของคอมมูนิตี้มอลล์กันเป็นจำนวนมาก

ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสามารถดำเนินการได้ด้วยขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก เพียงมีที่ดินของตัวเองอยู่ในมือตนเองก็นำมาพัฒนาเป็นโครงการต่างๆ ได้แล้ว จึงทำให้เกิดคอมมูนิตี้มอลล์หลากหลายรูปแบบขึ้น ทั้งที่มีขนาดเล็กตามต่างจังหวัดด้วยนักพัฒนาท้องถิ่นเอง  หรือถูกพัฒนาขึ้นด้วยแบรนด์ที่มีชื่อเสียง

สำหรับแนวโน้มหรือเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นกับคอมมูนิตี้มอลล์ในอนาคต แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นตามไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค หรืออาจกล่าวได้ว่าปรับเปลี่ยนไปตามพฤติกรรมความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก “ความสะดวกสบาย” เป็นโจทย์ที่ทางผู้พัฒนาโครงการจะต้องสรรหาบริการเข้ามาให้กับธุรกิจของตัวเอง เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัยหลักที่เหล่าคนไทยต้องการเป็นอย่างมาก รวมถึงพฤติกรรมการเข้าใช้บริการร้านอาหารของคนในยุคนี้


ไม่ใช่เพียงแค่ต้องการรับประทานอาหารเสร็จแล้วเรียกเช็กบิล แต่ต้องการที่จะมาหาที่พักผ่อนหย่อนใจหรือเป็นจุดนัดพบกับเพื่อนฝูง เพื่อใช้เป็นสถานที่ในการสังสรรค์ขนาดย่อมให้กับตัวเองทางหนึ่งด้วย อีกหนึ่งสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคงหนีไม่พ้นการเดินทางไปยังโครงการได้อย่างง่าย เพราะหากจุดเริ่มต้นเป็นเรื่องความสะดวกของการเดินทางแล้ว ก็ไม่ยากที่จะดึงดูดลูกค้าให้เข้ามายังคอมมูนิตี้มอลล์ได้

ตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการขยายตัวของคอมมูนิตี้มอลล์ การเกิดโครงการของผู้เล่นในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ศูนย์การค้าขนาดย่อมเกิดขึ้นเป็นเงาตามตัว โดยในขณะนี้จะเห็นได้ว่าตามโครงการหมู่บ้านหลายแห่ง มักต่อยอดด้วยการสร้างคอมมูนิตี้มอลล์ภายในพื้นที่ของตนเอง แต่กลุ่มเป้าหมายจะไม่ใช่ตลาดผู้บริโภคทั่วไป จะเน้นจับกลุ่มเฉพาะลูกค้าภายในโครงการมากกว่า การปรับสินค้าและบริการในแต่ละแห่ง จึงนับว่าเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์อันสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงยิ่งนัก


การลงทุนด้วยปริมาณเงินที่ไม่มากนัก ประกอบกับระยะเวลาในการสร้างก็ไม่นาน “คอมมูนิตี้มอลล์” จึงเป็นสิ่งที่นักลงทุนมองเห็นเป็นโอกาสของการสร้างรายได้ และอย่างที่กล่าวไปข้างต้นในเรื่องของไลฟ์สไตล์ครอบครัวคนไทยในยุคใหม่ ค่อนข้างรักความสะดวกเป็นชีวิตจิตใจ ยิ่งหากไม่เสียเวลาในการเดินทางมาก หรือมีอาณาเขตใกล้ที่พักด้วยแล้ว ยิ่งทำให้การตัดสินใจเลือกใช้บริการเป็นไปอย่างง่ายดาย จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมหลายกลุ่มทุนจึงเลือกมาทดลองลงสมรภูมินี้ แม้แต่นักพัฒนาค้าปลีกรายใหญ่ยังเลือกปรับการลงทุนของตัวเองในลักษณะศูนย์การค้า มาเป็นคอมมูนิตี้มอลล์

นางสรันทิพย์ เลิศปัญญาโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แกรนด์ ยูนิแลนด์ จำกัด ผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า การเกิดคอมมูนิตี้มอลล์ในประเทศไทย คงเริ่มมีแนวโน้มการขยายตัวเหมือนกับต่างประเทศที่ในตอนนี้หลายประเทศก็มีคอมมูนิตี้มอลล์ให้ได้เห็นกันมากมาย ซึ่งประเทศไทยก็คงไม่แตกต่างกัน เนื่องจากการไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป มองว่าอย่างไรเสียการที่ธุรกิจศูนย์การค้าขนาดย่อม หรือคอมมูนิตี้มอลล์ จะยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องแน่นอน


เนื่องจากมีผู้ประกอบการหลายรายให้ความสนใจลงมาเล่นในตลาดนี้ แต่ก็นับว่าเป็นสิ่งที่น่ากังวลจากการที่มีผู้สนใจหันมาสร้างศูนย์การค้าในรูปแบบนี้กันเป็นจำนวนมาก เพียงแค่มีที่ดินอยู่ในมือก็นำมาพัฒนากัน จึงทำให้ขาดความเป็นมืออาชีพในการดำเนินงาน

สำหรับแนวโน้มของพื้นที่ในการขยายธุรกิจศูนย์การค้าขนาดย่อม จะเป็นไปในแถบเส้นทางหัวเมืองใหญ่เป็นหลัก  มองว่าหากผู้ประกอบการรายใดต้องการที่จะขยายธุรกิจภายในพื้นที่บริเวณกรุงเทพฯ คงเป็นสิ่งที่ดำเนินการยากสักหน่อย  เนื่องด้วยข้อจำกัดของการหาที่ดินนำมาพัฒนาโครงการ  ประกอบกับราคาค่อนข้างสูง การขยายออกไปยังชานเมืองหรือตามหัวเมืองใหญ่ของต่างจังหวัด จึงมีโอกาสและศักยภาพในการทำธุรกิจมากกว่า

ขณะที่ปัจจัยที่จะช่วยหนุนให้คอมมูนิตี้มอลล์มีการขยายตัวอีกมากในเมืองไทย ส่วนหนึ่งมาจากการเปิดประชาคมทางเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีที่กำลังจะเกิดขึ้น รวมถึงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของทางภาครัฐที่กำลังจะมีการดำเนินการในอนาคต ผู้ประกอบการก็จะหาพื้นที่อิงไปกับปัจจัยบวกเหล่านี้ เพื่อการสร้างโครงการของตนเอง คาดการณ์ว่าในเมืองไทยธุรกิจนี้ยังสามารถเติบโตได้อีกมาก และจะมีความหลากหลายให้ได้เห็นกัน แต่ประเด็นสำคัญคือต้องมีความเป็นมืออาชีพในการทำงานและเรื่องของบุคลากร


ด้านขนาดของพื้นที่ในการสร้างคอมมูนิตี้มอลล์ ก็แล้วแต่โครงการว่าตั้งอยู่บริเวณใด แต่ก็ไม่ควรจะสร้างในขนาดที่เล็กจนเกินไป เพราะจะทำให้มีบริการที่ไม่ครบวงจร โดยลักษณะของธุรกินี้จะเป็นในรูปแบบของวันสต็อป เซอร์วิส กล่าวคือเป็นศูนย์รวมของบริการที่หลากหลายในพื้นที่เดียว ซึ่งร้านค้าส่วนใหญ่ที่จะเปิดให้บริการภายในโครงการจะเป็นพวกร้านอาหาร ร้านกาแฟ คิดเป็นร้อยละ 80% ของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนที่เหลือก็จะเป็นบริการเสริมเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า.

อ้างอิงจาก ไทยโพสต์
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ชวนชิม&ช้อปแฟรนไชส์น่าลงทุน เสิร..
510
งาน มหกรรมของดีกลุ่มเขตกรุงธนใต้..
457
งาน SSO MARKET 2024
453
งาน Rainbow Market
451
งาน Chinese Eatery
444
งาน Westville Art Toys Fest 2024
440
ข่าวทำเลค้าขายมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด