2.6K
5 มิถุนายน 2558
ตลาดพื้นที่ค้าปลีกในกรุงเทพมหานครขยายตัวสูง ปี 2558 เปิดใหม่ทะลุล้านตร.ม.



 
ตลาดพื้นที่ค้าปลีกในกรุงเทพมหานคร และพื้นที่โดยรอบ ณ ไตรมาสที่ 1 พ.ศ.2558 ยังคงขยายตัวโดดเด่นสวนกระแสเศรษฐกิจจากช่วงก่อนหน้า โดยเฉพาะพื้นที่ห้างสรรพสินค้าและคอมมูนิตี้มอล ที่เปิดตัวตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาสูงเกิน 1 ล้านตร.ม.

ตลาดพื้นที่ค้าปลีกเป็นอีกหนึ่งตลาดที่มีการแข่งขันรุนแรงในช่วงหลายปีที่ผ่านมาโดยการแข่งขันนั้นเป็นไปในทุกระดับ ทุกประเภทของโครงการค้าปลีก โดยในเรื่องนี้นายสุรเชษฐ กองชีพ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย กล่าวว่า “ตลาดพื้นที่ค้าปลีกนั้นรวมพื้นที่ค้าปลีกทุกประเภทในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และพื้นที่โดยรอบที่ติดกับกรุงเทพมหานคร โดยในปัจจุบันมีพื้นที่รวมประมาณ 7,074,100 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากช่วง 5 ปีก่อนมากกว่า 2.5 ล้านตารางเมตร


โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ที่เพิ่มขึ้นนั้นมาจากศูนย์การค้าขนาดใหญ่ที่ทยอยเปิดในพื้นที่รอบๆ กรุงเทพมหานคร และรองลงมาคือคอมมูนิตี้มอลล์ที่เปิดให้บริการกันในหลายๆ พื้นที่ ทั้ง 2 รูปแบบนี้มีการแข่งขันกันค่อนข้างสูง โดยสามารถดูได้จากจำนวนของโครงการใหม่ๆ ที่เปิดใบริการในช่วง 4 – 5 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในกลุ่มของคอมมูนิตี้มอลล์ที่เปิดกันจำนวนมากจนมีพื้นที่รวม ณ ไตรมาสที่ 1 พ.ศ.2558ประมาณ 1,009,659 ตารางเมตร จากที่ในปีพ.ศ.2553 มีอยู่ประมาณ 524,370 ตารางเมตรเท่านั้น ซึ่งในปัจจุบันมีพื้นที่รวมมากเป็นอันดับที่สองรองจากศูนย์การค้า”

พื้นที่ค้าปลีกที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้างและมีกำหนดเปิดให้บริการในอีก 3 ไตรมาสที่เหลือของปีพ.ศ.2558 รวมกันมากกว่า 1,232,000 ตารางเมตรโดยที่พื้นที่ส่วนใหญ่หรือประมาณ 987,500 ตารางเมตรเป็นพื้นที่ของศูนย์การค้า

“ศูนย์การค้าขนาดใหญ่หลายโครงการกำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง และมีกำหนดแล้วเสร็จในปีพ.ศ.2558 – 2559 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครรอบนอก ซึ่งโครงการเหล่านี้จะอยู่บนถนนวงแหวนรอบนอก เพื่อความสะดวกในการเดินทางของคนในพื้นที่อื่นๆ รอบกรุงเทพมหานคร”นายสุรเชษฐ กล่าว


ดัชนีค้าปลีกในไตรมาสที่ 1 พ.ศ.2558 ลดลงจากไตรมาสที่ 4 พ.ศ.2558 สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมาเช่นกัน แต่อัตราการเช่า และค่าเช่ายังปรับขึ้นต่อเนื่องในปีนี้ เพราะว่ามีปัจจัยในระยะยาวอีกหลายอย่างที่มีผลต่อตลาดพื้นที่ค้าปลีก “กรุงเทพมหานครยังคงเป็นเมืองที่แบรนด์หรือร้านค้าต่างชาติให้ความสนใจเป็นลำดับต้นๆ ของเอเซียอยู่ ร้านเหล่านี้เข้ามาเปิดร้าน หรือสาขาในกรุงเทพมหานคร และหัวเมืองท่องเที่ยวต่างๆ ต่อเนื่อง และจะยังคงมีต่อไปในอนาคต

อัตราการเช่าของโครงการพื้นที่ค้าปลีกต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร และพื้นที่โดยรอบค่อนข้างสูง คือมากกว่า 96% และคาดว่าจะยังคงเพิ่มขึ้นในปีนี้อีกประมาณ 3 – 5% แม้ว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยจะยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนไทยได้มากเท่าที่ควร ในส่วนของค่าเช่าเองก็มีแนวโน้มที่จะยังใกล้เคียงกับในปีที่ผ่านมา หรือปรับขึ้นในบางพื้นที่เนื่องจากมีโครงการใหม่ๆ เปิดให้บริการ” สุรเชษฐ สรุป

“ผู้ประกอบการพื้นที่ค้าปลีกเพิ่มความสนใจในจังหวัดหัวเมืองรองเพื่อรอการเติบโตของจังหวัดนั้นๆ อีกทั้งรองรับการขยายตัวของหัวเมืองหลัก แต่อาจจะเลือกรูปแบบของโครงการที่แตกต่างกันในการพัฒนา เพื่อให้สอดคล้องกับขนาด และกำลังซื้อของคนในจังหวัดนั้นๆโดยเฉพาะในกลุ่มของผู้ประกอบการรายใหญ่ที่แข่งขันกันแย่งชิงพื้นที่ แม้กระทั่งในตลาดขนาดเล็กระดับชุมชนที่ใช้การเปิดร้านสะดวกซื้อเพื่อรองรับคนในชุมชน” สุรเชษฐ กล่าวเพิ่มเติม

อ้างอิงจาก  propertychannelnews.com
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ชวนชิม&ช้อปแฟรนไชส์น่าลงทุน เสิร..
510
งาน มหกรรมของดีกลุ่มเขตกรุงธนใต้..
457
งาน SSO MARKET 2024
453
งาน Rainbow Market
451
งาน Westville Art Toys Fest 2024
445
งาน Chinese Eatery
444
ข่าวทำเลค้าขายมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด