หน่วยงานสนับสนุน SMEs ยอดนิยม
หน้าแรก / SMEs / ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน / สพร. ศพจ. ทั่วประเทศ
หน่วยงานน่าสนใจ : Sky Ad Links
 
 
 
 
หน่วยงาน SMEs
4,645
ผู้ขอข้อมูล
8,588
มาใหม่
ยอดนิยม
ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน / สพร. ศพจ. ทั่วประเทศ
ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดพังงา
1.จัดฝึกอบรมยกระดับฝีมือแรงงาน  2.จัดฝึกอบรมเตรียมเข้าทำงาน  3.จัดฝึกอบรมอาชีพอิสระ  4.ส่งเสริม พ.ร.บ. 2540
สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย
ก่อตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เพื่อส่งเสริมการแรงงานสัมพันธ์และเพื่อให้การเจรจาต่อรองระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างได้กระทำในรูปขององค์กร โดยมีผู้แทนของแต่ละฝ่าย กล่าวคือ ผู้แทนนายจ้างและผู้แทนลูกจ้าง ซึ่งมาจากองค์กรของฝ่ายตนมาร่วมเจรจา ทั้งนี้สืบเนื่องมาจาก ในปี พ.ศ. 2517-2518 ภาคธุรกิจไทยประสบปัญหาความยุ่งยากด้านแรงงานเนื่องจากมีการยื่นข้อเรียกร้องและนัดหยุด งานบ่อยครั้งซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจการและเศรษฐกิจของประเทศ
ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดแม่ฮ่องสอน  เริ่มดำเนินการก่อสร้างในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2543 เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาและฝึกทักษะฝีมือแรงงานให้มีคุณภาพ พัฒนาคนให้เป็นแรงงานที่มีคุณภาพ เป็นมาตรฐานสากลมีความพร้อมที่จะทำงานและเป็นที่ต้องการของนายจ้างตลอดจนสามารถนำไปประกอบอาชีพอิสระ เป็นธุระกิจของตนเอง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการฝึก ในปัจจุบันให้บริการฝึกอาชีพสาขาช่างอุตสาหกรรมและธุรกิจบริการ  
สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 10 (ลำปาง)
สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 10 ลำปาง เดิมใช้ชื่อสถาบันพัฒนา ฝีมือแรงงานภาคเหนือตอนบนจังหวัดลำปาง จัดตั้งขึ้นปี พ.ศ. 2519 สังกัดกรม แรงงาน กระทรวงมหาดไทย โดยได้รับความร่วมมือและช่วยเหลือจากสำนักงาน โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และ รัฐบาลไทยเปิดดำเนินการปี พ.ศ  2520   วันที่  15  มีนาคม  พ.ศ. 2535   จัดตั้งกรมพัฒนาฝีมือแรงาน สังกัด กระทรวงมหาดไทย   และโอนสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานฯ มาสังกัด กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน วันที่  23  กันยายน พ.ศ. 2536  ได้จัดตั้งกระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคม ขึ้น กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จึงมาสังกัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม     วันที่ 3 ตุลาคม  2545  สังกัดกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน  ตาม โครงสร้างกระทรวง ทบวง กรมใหม่ ในการปฏิรูประบบบริหารราชการของรัฐบาล  และ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาคเหนือตอนบนจังหวัดลำปาง  เปลี่ยนชื่อเป็นสถาบัน พัฒนาฝีมือแรงงานภาค 10 ลำปาง
ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดเชียงใหม่
ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดเชียงใหม่ได้เริ่มวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างศูนย์เมื่อวันศุกร์ ที่ 18 กันยายน 2541  โดยมีรัฐมนตรีช่วยกระทรวงเเรงงานและสวัสดิการสังคม นายจองชัย เที่ยงธรรม เป็นประธานพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดเชียงใหม่ และเปิดให้บริการด้านการพัฒนาฝีมือแรงงานตั้งแต่วันที่  3 พฤษภาคม  พ.ศ.2543 เพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานให้แก่แรงงานใหม่และยกระดับฝีมือแรงงานให้แก่แรงงานที่มี งานทำอยู่แล้วในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่โดยจัดฝึกอาชีพในหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด แรงงานและเอื้อต่อการพัฒนาฝีมือแรงงานสตรีภายใต้ชื่อโครงการ “Women’s Friendly Centre”
สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติเชียงแสน
สืบเนื่องจากความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การพัฒนาด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสิ่งแวดล้อมในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง "The Greater Mekong Subregion(GMS)" ประกอบด้วย 6 ประเทศ คือ ประเทศจีน(มณฑลยูนนาน) พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา และไทย                           โดยคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2539 อนุมัติให้กระทรวงแรงงาน จัดตั้งสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติเชียงแสนขึ้น ณ อำเภอเชียงแสน จังหวัด    เชียงราย เนื่องจากมีพื้นที่เหมาะสมและเป็นศูนย์กลางของอนุภูมิภาค นี้ด้วย พร้อมทั้งเป็นประตูหน้าด่านทางการค้าไปสู่ประเทศจีนตอนล่าง(มณฑลยูนนาน) สถาบันฯ ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2543 และก่อสร้าง แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2546 โดยใช้งบประมาณรัฐบาลในวงเงิน 144 ล้านบาท.  
สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 11 (สุราษฎร์ธานี)
1. ความเป็นมา      สถาบันพัฒนาฝีมือแรงานภาค 11 สุราษฎร์ธานี กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน  กระทรวงแรงงาน จัดตั้งขึ้นโดยมติคณะรัฐมนตรีในปี 2532 ตั้งอยู่เลขที่ 433 หมู่ 5 ถนนสุราษฎร์-นาสาร ตำบลขุนทะเล อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี บนพื้นที่ดิน ที่ได้รับมอบจากนิคมขุนทะเล กรม ประชาสงเคราะห์ ประมาณ 70 ไร่ และเปิดดำเนินการในเดือนพฤษภาคม 2536   2. พื้นที่รับผิดชอบ      มีเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ได้แก่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ชุมพร กระบี่  ระนอง พังงาและภูเก็ต  
ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดนครศรีธรรมราช
ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดนครธรรมราช เป็หน่วยงานราชการ สังกัดกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน  กระทรวงแรงงาน  สำนักงานตั้งอยู่เลขที  ๗๙  หมู่ที่  ๑  ถนนนครศรีฯ-ปากพนัง  ตำบลบางจาก  อำเภอเมือง  จังหวัดนครศรีธรรมราช  ๘๐๓๓๐  ทำการก่อสร้างบนเนื้อที่  ๓๕ ไร่  ๓ ไร่ ๔๔ ตารางวา  ซึ่งเป็นที่ดินเช่าวัดบ่อจิก หรือ วัดมุจลินทราวาส   เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่  ๓  พฤษภาคม  ๒๕๓๙  และเปิดดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐
ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดกระบี่
ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดกระบี่ เป็นหน่ายงานราชการ สังกัดกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน เปิดดำเนินการครั้งแรกโดยเช่าอาคารสำนักงานชั่วคราวเลขที่ 1/36-37 ถ.วัชระ ต.กระบี่ใหญ่ อ.เมือง จ.กระบี่  ปัจจุบันได้ย้ายมาสร้างอาคารสำนักงาน ณ ที่ตั้ง 245 หมู่ที่ 7 ต.ไสไทย อ.เมือง จ.กระบี่ ในพื้นที่ 25 ไร่ 3 งาน 81 ตารางวาแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2546  
ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดภูเก็ต
สืบเนื่องจากรัฐบาลนับแต่อดีตถึงปัจจุบัน ได้เล็งเห็นถึงวามสำคัญด้านการพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อรองรับการขาดแคลนแรงงานฝีมือ และเพื่อส่งเสริม การประกอบธุรกิจส่วนตัว  ตลอดจน เพื่อเพิ่มความสามารถ ในการแข่งขัน ด้านการผลิตให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ จึงให้การสนับสนุนงบประมาณในด้านนี้ มาอย่างต่อเนื่อง โดยในปีงบประมาณ 2539  รัฐบาลได้จัดสรร งบประมาณให้ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ดำเนินการ จัดตั้งศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดภูเก็ตขึ้นโดยได้เริ่มก่อสร้าง  เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2542 ใช้งบประมาณในการก่อสร้างในเบื้องต้นนี้ เป็นเงินทั้งสิ้น 41,500,000 บาท
ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดระนอง
สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานระนอง เป็นหน่วยงานราชการส่วนกลาง อยู่ในเครือข่ายของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 11 สุราษฎร์ธานี สังกัดกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ตั้งอยู่เลขที่ 777 ถนนเพชรเกษม หมู่ที่ 4 ตำบลบางนอน อำเภอเมือง จังหวัดระนอง มีพื้นที่ 34 ไร่ 2 งาน 6.9 ตารางวา ได้เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2545 ซึ่งในขณะนั้นได้เช่าอาคารพาณิชย์ เลขที่ 400/12-14 ถนนเพชรเกษม หมู่ที่ 4 ตำบลบางนอน อำเภอเมือง จังหวัดระนอง เป็นสำนักงานชั่วคราว ต่อมานายรสพณ จันทร์เพ็ญ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดระนอง ในช่วงเวลานั้นได้ประสานงานติดต่อขอใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์กับนายบุญจริง แก้วนาบอน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางนอน จากการประสานงานและดำเนินการต่างๆตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบราชการ กรมที่ดินได้อนุญาตให้ใช้ที่ดินสำหรับก่อสร้างศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด ระนอง พื้นที่ 31 ไร่ 2 งาน 47 ตารางวา รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณ 60,276,000 บาท (หกสิบล้านสองแสนเจ็ดหมื่นหกพันบาทถ้าน) ให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานก่อสร้างศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดระนอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้ว่าจ้าง กิจการร่วมค้า บริษัทพระราม 2 การโยธา จำกัด กับบริษัท ตรีสกุล จำกัด เป็นผู้ก่อสร้าง โดยเริ่มทำการก่อสร้างเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2550 และได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม 2550 ก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือน กันยายน พ.ศ. 2553   ผังการก่อสร้างครั้งแรกทางเข้าศูนย์ฯ ใช้ร่วมกันกับทางเข้ากองร้อยอาสาสมัครรักษาดินแดน ต่อมากรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้ซื้อที่ดินเพิ่มเติมเพื่อทำเป็นทางเข้า - ออก เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2550 พื้นที่ 2 ไร่ 3 งาน 59.9 ตารางวา ราคาสามล้านบาท จึงมีการปรับผังการก่อสร้างใหม่ ทำให้ทางเข้าจากถนนเพชรเกษมถึงอาคารอำนวยการ มีระยะทางใกล้กว่าเดิมเพิ่มความสะดวกต่อประชาชนผู้มาติดต่อราชการ นอกจากนี้ยังทำให้ภูมิทัศน์ทางเข้าสวยงามกว่าผังเดิมอีกด้วย  
ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดชุมพร
พัฒนาคน พัฒนางาน ใช้บริการสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานชุมพร
สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 12 (สงขลา)
พ.ศ.2523 จัดตั้งขึ้นตามโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย และรัฐบาลสหพันธสาธารณรัฐเยอรมัน ณ ตำบลเขารูปช้างอำเภอเมือง จังหวัดสงขลาในพื้นที่80ไร่ตลอดระยะเวลาแห่งความร่วมมือทั้งสองฝ่ายได้ทุ่มเทความรู้และงบประมาณในการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้ร่วมกันเช่นรัฐบาล ไทยได้สนับสนุนงบประมาณการก่อสร้างอาคารสถานที่และจัดเจ้าหน้าที่เข้าร่วมปฏิบัติงานในโครงการส่วนรัฐบาลเยอรมันได้สนับสนุนงบประมาณเกี่ยวกับเครื่องมือเครื่องจักรทุนการศึกษาดูงานด้านเทคนิคเกี่ยวกับการฝึกอาชีพและนำผลไปปฏิบัติจนเกิดผลดีและสร้างชื่อเสียงให้สถาบันฯสงขลาเป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป เสร็จสิ้นโครงการความร่วมมือเมื่อ พ.ศ.2533 และได้ดำเนินการ ตลอดมาภายใต้สังกัดกรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทย   พ.ศ.2536 สังกัดกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงมหาดไทย   พ.ศ.2536-2545 สังกัดกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม   พ.ศ.2545-ปัจจุบัน สังกัดกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน  
ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสตูล
มติคณะรัฐมนตรี  เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2534 เห็นชอบในหลักการ โครงการปรับแผนการพัฒนาฝีมือแรงงาน สาระสำคัญก็คือ จัดตั้งสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานเพิ่มขึ้นในจังหวัดที่เป็นแหล่งอุตสาหกรรม และขยายการจัดตั้งศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานในจังหวัด ที่ไม่มีสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานให้ครบทุกจังหวัดภายในปี 2539 เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนช่างฝีมืออุตสาหกรรม "ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสตูล" ได้จัดตั้งขึ้นตามมติดังกล่าว   ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสตูล เป็นหน่วยงานราชการส่วนกลาง สังกัดกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน สำนักงานตั้งอยู่ ณ เลขที่ 258 หมู่ 2 ถนนบ้านคลองขุด-นาแค ตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล รหัสไปรษณีย์ 91000   ทำการก่อสร้างบนเนื้อที่ 20 ไร่ 1 งาน 95 ตารางวา เริ่มก่อสร้างในปีงบประมาณ 2537  สามารถเปิดให้บริการแก่ประชาชนได้ในปี 2539 เป็นต้นมา และในปีต่อๆมา ศูนย์ฯได้รับการจัดสรรงบประมาณด้านสิ่งก่อสร้างเพิ่มเติมตามลำดับ   
ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดตรัง
ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดตรัง เริ่มเปิดดำเนินการฝึกอบรมหลักสูตรเตรียมเข้าทำงานเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๒ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบริการฝึกอบรมฝีมือแรงงานให้กับเยาวชนนอกระบบการศึกษาที่ว่างงาน ประชากรวัยทำงานที่ด้อยโอกาสในการศึกษาต่อ เพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงาน หลักสูตรยกระดับฝีมือแรงงานให้กับผู้มีงานทำ หลักสูตรฝึกปรับเปลี่ยนงาน และทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแก่ประชาชน และเยาวชนในสถานประกอบการ ให้ทั่วถึงอีกทั้งส่งเสริมสถานประกอบกิจการให้มีการพัฒนาฝีมือแรงงาน ตาม พรบ. ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๕   ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดตรัง จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๘ บนพื้นที่ ๓๖ ไร่ ๖๔ ตารางวา ตามโครงการก่อตั้งศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดทั่วประเทศ ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่เลขที่ ๒๕๒/๖ ถนนท่ากลาง ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง มีเลขรหัสประจำบ้านหมายเลข ๙๒๙๙ – ๐๒๓๖๒๕ – ๒  
ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดพัทลุง
วิสัยทัศน์ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดพัทลุง   “องค์การมีธรรมาภิบาล บริหารงานเชิงรุก ส่งเสริมเครือข่าย พัฒนาฝีมือแรงงานไทยสู่มาตรฐานสากล”   พันธกิจศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดพัทลุง  ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนากำลังแรงงาน  พัฒนาระบบรองรับมาตรฐานฝีมือแรงงานสู่มาตรฐานสากล  พัฒนาและทดสอบกำลังแรงงานให้มีมาตรฐานฝีมือแรงงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน  พัฒนากำลังแรงงานให้มีสมรรถนะเพื่อเพิ่มผลิตภาพรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี เป้าประสงค์ แรงงานในพื้นที่มีทักษะฝีมือ ความรู้ ความสามารถได้มาตรฐานสากล  องค์กรมีการบริหารงานที่ทันสมัยตามหลักธรรมาภิบาล
ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดปัตตานี
มติคณะรัฐมมนตรี เมื่อ 22 เมษายน พ.ศ.2523 เห็นชอบตามข้อเสนอของจังหวัดปัตตานีและกองทัพภาคที่ 4 ให้จัดตั้ง "โครงการพัฒนาเยาวชนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและความมั่นคงของชาติ" ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งของโครงการพัฒนาฝีมือแรงงานภาคใต้ โดยสำนักงานแรงงานจังหวัดปัตตานี โดย นายยาทิพย์ นาคประดิษฐ์ แรงงานจังหวัด เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการและประสานงาน มีการก่อสร้างอาคารโรงฝึกงานและหอพักขึ้นในบริเวณพื้นที่ของสำนักงานแรงงานจังหวัดปัตตานี
ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดยะลา
ประวัติของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 24 ยะลา   5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2534 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติในหลักการโครงการปรับแผนการพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนช่างฝีมืออุตสาหกรรมให้จังหวัดยะลาเตรียมจัดหาที่ดินเพื่อจัดตั้ง                ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดยะลา 9 เมษายน พ.ศ. 2534 จังหวัดยะลาเห็นชอบให้ใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์บริเวณด้านข้างและด้านหลัง กองร้อย อส.จังหวัดยะลา ต.วังพญา อ.รามัน พื้นที่ 50 ไร่ เป็นสถานที่จัดตั้งศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดยะลา   22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 คณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้มีมติสนับสนุนโครงการก่อสร้างศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดยะลา โดยใช้งบประมาณผูกพันประจำปี 2536-2538 รวม 47,777,600 บาท โดยมี กรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการ   พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารบางส่วนของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 109 ตอนที่ 21 ลงวันที่ 14 มีนาคม 2535 โดยยุบกรมแรงงาน และจัดตั้งเป็นกรมพัฒนาฝีมือแรงงานและกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ซึ่งโครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาคและศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด อยู่ในความรับผิดชอบของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานและดำเนินการตามโครงการ ต่อไป  
ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดนราธิวาส
ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดนราธิวาส ถูกก่อตั้งขั้นโดย นโยบายการขยายการให้บริการของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ให้ถึงกลุ่มเป้าหมาย คือประชาชนผู้ด้อยโอกาสที่อยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศไทย เพื่อเพิ่มโอกาสให้ได้รับ การฝึกอบรมเพิ่มพูนทักษะฝีมือ นำไปประกอบอาชีพ เพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว และลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานฝีมือ รองรับการขยายตัวด้านเศรษฐกิจของประเทศ โดยเริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2535 และเริ่มเปิดบริการด้านการพัฒนาฝีมือแรงงานให้แก่ประชาชนในจังหวัดนราธิวาสในปี พ.ศ.2537 โดยในช่วงต้นนั้น ดำเนินการฝึกใน 2 สาขาช่าง คือช่างซ่อมรถจักรยานยนต์ และช่างตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี ต่อมาได้มีการสร้างอาคารโรงฝึกงาน อาคารฝึกอบรม และอาคารประกอบอื่นๆ ซึ่งปัจจุบันสามารถให้บริการครบทุกด้านการพัฒนาฝีมือแรงงาน เช่นการฝึกอาชีพ การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน และกิจกรรมอื่นๆ โดยจัดเป็นกลุ่มช่าง คือกลุ่มอาชีพช่างยนต์ กลุ่มอาชีพช่างไฟฟ้า กลุ่มอาชีพช่างก่อสร้าง กลุ่มอาชีพอุตสาหการ กลุ่มอาชีพอุตสาหกรรมศิลป์ และกลุ่มอาชีพภาคบริการ ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดนราธิวาส มีประวัติการสังกัดตามลำดับ ดังนี้ พ.ศ.2535 สังกัดกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2536-2545 สังกัดกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม พ.ศ.2545-ปัจจุบัน สังกัดกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน
ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  เป็นหน่วยงานราชการสังกัด กรมพัฒนา ฝีมือแรงงานกระทรวงแรงงาน โดยเริ่มเปิดดำเนินการเมื่อวันที่  16 พฤษภาคม  2545  สถานที่ตั้ง เลขที่ 59/2 หมู่ 4 ตำบลบางระกำ  อำเภอนครหลวง  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บนเนื้อที่  44 ไร่  
หน่วยงานสนับสนุน SMEs : Links Support SMEs
 เพิ่มเพื่อน
NO.1 Franchise Solution