ประวัติ และความเป็นมาของสมาคม
เมื่อ 30 กว่าปี ขณะที่รัฐบาลกำลังเร่งการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลิตยากลุ่มหนึ่ง ภายใต้การนำของ เภสัชกร ดร. เกษม ปังศรีวงศ์ และนายพิชัย รัตตกุล
ได้คำนึงถึงความรับผิดชอบที่มีต่อรัฐบาล ต่อวิชาชีพทางการแพทย์ และต่อสาธารณชนผู้ใช้ยาในประเทศไทย ประสงค์จะดำเนินการด้านเภสัชกรรมให้มีคุณสมบัติอยู่ในระดับมาตรฐาน
เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันในระหว่างผู้ผลิต เพื่อปรับปรุงการผลิตและจำหน่ายผลผลิตเภสัชกรรม จึงได้รวมกันจัดตั้งสมาคมขึ้นให้ชื่อว่า “สมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน”
รายนามอดีตนายกสมาคม
1. เภสัชกร ดร.เกษม ปังศรีวงศ์ พ.ศ. 2512
2. นายพิชัย รัตตกุล พ.ศ. 2513-2516, 2520-2521, 2523-2524
3. มร. ริชาร์ด ซี. มา พ.ศ. 2517
4. มร. แองกัส โรเบอร์ตสัน พ.ศ. 2518-2519
5. นายแพทย์เกริก ผลนิวาส พ.ศ. 2522
6. นายเฉลียว อยู่วิทยา พ.ศ. 2525-2529
7. นายอาณัฐชัย รัตตกุล พ.ศ. 2529-2530
8. นายแพทย์ไววุฒิ ธเนศวรกุล พ.ศ. 2531-2532
9. นางปรียา สีบุญเรือง พ.ศ. 2533-2534
10. เภสัชกร จารุโรจน์ ด่านเกียรติก้อง พ.ศ. 2535-2542
11. เภสัชกร เชิญพร เต็งอำนวย พ.ศ. 2543-ปัจจุบัน
อักษรย่อของสมาคม
สมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน ได้จดทะเบียนกับสำนักงานทะเบียนสมาคมการค้า กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ตามพระราชบัญญัติสมาคมการค้า เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2512 ใช้อักษรย่อว่า “ส.ท.อ.ย.” มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “Thai Pharmaceutical Manufacturers Association” ใช้อักษรย่อว่า “T.P.M.A.”
โดยมี เภสัชกร ดร. เกษม ปังศรีวงศ์ เป็นนายกสมาคมคนแรก
เครื่องหมายและตราของสมาคมมีรูป คือ โรงงานกับยาเม็ด และมีอักษรย่อภาษาไทย สทอย และอักษรภาษาโรมัน TPMA
สมาชิกสมาคม
สมาชิกของสมาคม แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
สมาชิกสามัญ ได้แก่ นิติบุคคลตามกฎหมายของไทยที่ประกอบวิสาหกิจในทางอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบันในประเทศไทย
สมาชิกสมทบ ได้แก่ บุคคลธรรมดาซึ่งประกอบวิสาหกิจหรือเกี่ยวเนื่องกับวิสาหกิจในทางอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบันในประเทศไทย
สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้ที่มีอุปการคุณแก่สมาคม ซึ่งคณะกรรมการบริหารของสมาคมมีมติเชิญเข้ามาเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ และบุคคลนั้นตอบรับคำเชิญ
การดำเนินงาน
การดำเนินงาน โดยคณะกรรมการบริหารที่เลือกจากสมาชิกสามัญจำนวน 17 ท่านอยู่ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี