หน่วยงาน    สมาคมผู้ประกอบการธุรกิจ | Business Organization
9.1K
2
5
สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน
SMEs
องค์กร สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน 
Organization Home Builder Association
รายละเอียด
ในอดีตการสร้าง "บ้านพักอาศัย" ของคนไทยนั้น นิยมปลูกสร้างบ้านด้วยวัสดุประเภท "ไม้"  เป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้เพราะสมัยก่อนป่าไม้และทรัพยากรของประเทศไทย มีความอุดมสมบูรณ์อย่างมาก รวมทั้งราคาถูกกว่าการก่อสร้างด้วยวัสดุถาวรประเภทอิฐและคอนกรีต

ซึ่งจะพบเห็นและนำมาก่อสร้างกับอาคารที่เป็นสถานที่สำคัญๆของทางราชการเท่านั้น ทั้งนี้การปลูกสร้างบ้านไม้ในสมัยก่อน ต้องอาศัยช่างไม้ฝีมือที่มีความชำนาญและถ่ายทอดประสบการณ์ผ่านมาหลายชั่วอายุคน จึงจะได้ผลงานที่สวยงามและมีความประณีต
 
  ต่อมาเมื่อป่าไม้และทรัพยากรลดลง การนำเอาวัสดุก่อสร้างประเภทอิฐและคอนกรีตเสริมเหล็กมาใช้ในการสร้างบ้าน เริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายและได้รับการยอมรับจากคนไทยมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งระยะต่อๆมาการสร้างบ้านที่ต้องการความมั่นคงถาวร และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ส่วนใหญ่จะทำการก่อสร้างจากโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กและการก่ออิฐฉาบปูน
 
เมื่อระบบการสร้างบ้านเปลี่ยนจากการปลูกสร้างด้วยไม้ มาเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กและการก่ออิฐฉาบปูน ความชำนาญของช่างไม้แต่เดิมนั้น ไม่เพียงพอต่อการจะก่อสร้างบ้านระบบใหม่เสียแล้ว ทั้งนี้เพราะการออกแบบโครงสร้างและรูปแบบทางสถาปัตย์ จะต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้ทางด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม

โดยมีสถาบันการศึกษาของรัฐทำหน้าที่ผลิตบุคลากรผู้มีความรู้ความสามารถคือ วิศวกร และ สถาปนิก ออกมาประกอบอาชีพด้านนี้โดยเฉพาะ รวมทั้งเทคนิคและขั้นตอนการก่อสร้างต่างๆ ก็จะต้องได้รับการควบคุมดูแลอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อให้การสร้างบ้านได้มาตรฐานและมีความมั่นคงแข็งแรง
 
       ที่ผ่านมาผู้บริโภคและประชาชนส่วนใหญ่ ยังขาดความรู้ความเข้าใจในบทบาทของวิชาชีพนี้ รวมทั้งการสร้างบ้านพักอาศัยโดยทั่วไป ยังมีความเข้าใจที่ผิดๆหลายประการ ส่งผลให้ทุกวันนี้เราจะพบเห็นผลงาน "ขยะทางสถาปัดและวิศวกะ" อยู่เต็มบ้านเต็มเมือง ตลอดจนผู้ประกอบการหรือผู้อยู่ในอาชีพรับเหมาก่อสร้างรายย่อยๆมีเกิดขึ้นมากมาย

โดยยังไม่มีหน่วยงานหรือองค์กรใดๆมาควบคุมการประกอบวิชาชีพนี้ ซึ่งผลที่ตามมาคือการมิได้ยึดถือหรือนำเอาวิชาชีพสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม มาใช้ในการประกอบอาชีพหรือดำเนินธุรกิจ ทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับสินค้าหรือบ้านที่ก่อสร้างตามหลักวิศวกรรม
 
 
ความเป็นมาของธุรกิจรับสร้างบ้าน 
 
          อย่างไรก็ดีเมื่อประมาณ 40 กว่าปีที่แล้ว ธุรกิจรับสร้างบ้านได้ถือกำเนิดขึ้นในประเทศไทย โดย บริษัท ซีคอน จำกัด คือผู้ริเริ่มเป็นรายแรก เพื่อดำเนินธุรกิจรับสร้างบ้านจนเป็นที่รู้จักของผู้บริโภค ด้วยผู้บริหารและทีมงานวิชาชีพสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมอย่างเต็มระบบ และในเวลาต่อมาธุรกิจรับสร้างบ้านได้รับการยอมรับและเป็นที่สนใจ ของผู้ประกอบในวงการธุรกิจก่อสร้างมากขึ้น

         โดยมีผู้ประกอบการหน้าใหม่ ณ เวลานั้นเข้ามาสู่ธุรกิจรับสร้างบ้านอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น บริษัท โฟร์พัฒนา จำกัด , บริษัท โรแยลเฮาส์ จำกัด , บริษัท โมเดิร์นกรุ๊ป จำกัด , บริษัทเมคเคอร์ แอนด์ เดคเคอร์ จำกัด , บริษัท แลนดี้ โฮม จำกัด บริษัท , ปทุมดีไซน์ ดีเวลลอป จำกัด ฯลฯ เป็นต้น

        จวบจนปัจจุบันบริษัทที่กล่าวมานี้ก็ยังคงดำเนินกิจการอยู่ในธุรกิจรับสร้างบ้านและมีอายุกว่า 10 – 20 ปีมาแล้ว ซึ่งจากสถิติที่ผ่านมาเคยมีจำนวนผู้ประกอบการสูงสุด เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2537 ถึงกว่า 200 บริษัท จนธุรกิจรับสร้างบ้านเริ่มแพร่หลายเป็นที่นิยมของผู้บริโภคกลุ่มหนึ่งที่ต้องการสร้างบ้านที่ดีมีคุณภาพ แต่จากจำนวนผู้ประกอบการที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในเวลานั้น ก็พบว่ามีผู้ประกอบการที่ขาดคุณสมบัติ ของความเป็นบริษัทรับสร้างบ้านอย่างมืออาชีพจำนวนไม่น้อยเช่นกัน
 
       แต่แล้วเมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจขึ้นเมื่อปี 2540 ผู้ประกอบการที่มีอยู่ในธุรกิจรับสร้างบ้านต่างได้รับผลกระทบในครั้งนั้นอย่างรุนแรงเช่นธุรกิจอื่นๆ จนหลายบริษัทต้องเลิกกิจการและหายไปจากธุรกิจรับสร้างบ้านมากกว่า 100 ราย ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคกลุ่มหนึ่ง ที่จ่ายเงินสร้างบ้านไปแล้วไม่ได้บ้าน จะเหลืออยู่เพียงผู้ประกอบการที่มีความเป็นมืออาชีพและมีศักยภาพแข็งแกร่ง รวมทั้งผู้ประกอบการอีกกลุ่มหนึ่งที่ก้าวเข้ามาใหม่ในธุรกิจนี้

       สามารถยืนหยัดอยู่ได้ประมาณ 30 กว่าบริษัทเท่านั้น อย่างไรก็ดีวิกฤติในครั้งนั้นส่วนหนึ่งก็ส่งผลดี สำหรับผู้ประกอบการที่ยังคงสามารถต่อสู้ยืนหยัดกับสภาพเศรษฐกิจอยู่ได้ และแปรมาเป็น "โอกาส"ในเวลาต่อมา ด้วยการสร้างชื่อเสียง สร้างความเชื่อมั่นขององค์กรและธุรกิจรับสร้างบ้าน จนเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคและประชาชน ตลอดจนภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น สถาบันการเงิน อุตสาหกรรมการผลิตวัสดุก่อสร้าง ผู้ผลิตและจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ฯลฯ ดังจะเห็นได้ว่าธุรกิจรับสร้างบ้านนั้น มีความพิเศษและมีบทบาทสำคัญยิ่ง ต่อการผลิตและการจ้างงานในภาคธุรกิจก่อสร้าง ถึงแม้ว่าประเทศจะประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจในยามนั้นก็ตาม
 
       ปี 2545 – 2547 สภาพเศรษฐกิจโดยทั่วไปเริ่มฟื้นตัว รวมทั้งภาคอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจรับสร้างบ้านก็ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว และเริ่มมีผู้ประกอบการรับสร้างบ้านทั้งรายเดิมที่หายไปและรายใหม่ๆ กลับเข้าสู่ธุรกิจรับสร้างบ้านอีกครั้งกว่า 15 0 ราย ส่งผลให้การแข่งขันในธุรกิจรับสร้างบ้าน กลับมาคึกคักใหม่และการแข่งขันเริ่มทวีความรุนแรงขึ้นอีกครั้ง

      โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการการที่เข้ามาใหม่ๆ และกล่าวอ้างตังเองว่าเป็น “ บริษัทรับสร้างบ้าน ที่มีประสบการณ์มายาวนาน ” เข้ามาแข่งขันในธุรกิจนี้โดยไม่คำนึงถึงผู้ประกอบวิชาชีพด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญอย่างหนึ่งของบริษัทรับสร้างบ้าน รวมทั้งขาดจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพ ดังตัวอย่างของผู้ที่อยู่ในธุรกิจนี้มาเก่าก่อน ส่งผลกระทบต่อและเกิดความเสียหายต่อภาพรวมของธุรกิจรับสร้างบ้าน
 
          บทเรียนจากวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ และผลของผู้ประกอบการที่เข้ามาสู่ธุรกิจอย่างไม่บริสุทธิ์ใจในการประกอบอาชีพนี้ ทำให้กลุ่มผู้ประกอบการรับสร้างบ้านชั้นนำไม่สามารถนิ่งเฉยอยู่ได้ หากว่าวันหนึ่งภาวะเศรษฐกิจและธุรกิจนี้เกิดปัญหาขึ้นอีก ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค ผู้ประกอบการที่ยังขาดศักยภาพและไม่เข้มแข็งพอ ในการบริหารจัดการธุรกิจอาจจะต้องเลิกกิจการและหายไปอีก

         รวมทั้งภาพรวมของธุรกิจรับสร้างบ้านที่จะเกิดความเสียหาย และขาดความเชื่อมั่นจากผู้บริโภคและประชาชน ทั้งนี้ก็จะกลับไปสู่วัฏฐจักรเดิมๆ ซึ่งทำให้ไม่สามารถที่จะพัฒนาศักยภาพตลาดรวมของธุรกิจรับสร้างบ้านให้เติบโตได้อย่างมั่นคงดั่งเช่นที่ผ่านมาหลายสิบปี ดังนั้นกลุ่มผู้ประกอบการในธุรกิจรับสร้างบ้าน จึงได้มีการรวมตัวและร่วมมือกันจัดตั้ง สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน ( Home Builder Association ) ขึ้นมา เพื่อหาแนวทางและวางเป้าหมายในการพัฒนาธุรกิจรับสร้างบ้านร่วมกัน พร้อมหาพันธมิตรในการสร้างการเติบโตของภาพรวมธุรกิจรับสร้างบ้านให้ขยายออกไปในวงกว้างหรือทั่วประเทศ
 
ที่ตั้ง 2 ซอย ลาดปลาเค้า 10 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230
โทรศัพท์ 02-570-0153
โทรสาร 02-570-0154
อีเมล์ ad-min_homebuilderassociation@hotmail.com
homebuilderassociation@hotmail.com
เว็บไซต์
Facebook 
www.facebook.com/homebuilderclub
ข้อมูล ณ วันที่ 29 พฤษภาคม 2557
โหวต
ระดับความนิยม
ผลโหวตรวม 5 คะแนน
มีผู้เข้าชม 9,140 ครั้ง
มีผู้ขอข้อมูล 2 คน
หน่วยงาน ที่ไม่รับรอง
Contact Information  
ชื่อผู้ติดต่อ
 *
โทรศัพท์
 *
e-mail
 *
รายละเอียด
Location to Invest
*
ติดต่อหน่วยงาน
หน่วยงานสนับสนุนที่น่าสนใจ