วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2479 มีฐานะเป็นโรงเรียนราษฏร์ และย้ายมาเปิดทำการเมื่อปี พ.ศ. 2484 ณ เลขที่ 20 อาคาร 6 ถนนราชดำเนินกลางในนามโรงเรียนช่างหนัง ราชดำเนิน รับนักศึกษาผู้สำเร็จชั้นประถมปีที่ 4 เข้าเรียน สอนวิชาช่างหนังแก่นักเรียนชาย และ วิชาตัดเย็บเสื้อผ้าแก่นักเรียนหญิง ตั้งอยู่ใกล้วัดสุทัศน์เทพวราราม พ.ศ. 2482 กระทรวงธรรมมาการในสมัยนั้นได้รับโอนกิจการไปขึ้นกับกระทรวงศึกษาธิการโดยตรง และย้ายโรงเรียนช่างเย็บหนังและเสื้อผ้าเฉลิมโลก สอนเฉพาะ นักเรียนชาย
ในปี พ.ศ. 2502 นายบำรุง พรหมพฤกษ์ เป็นครูได้เปิดสอนมัธยมอาชีวศึกษาตอนปลายหลักสูตร 3 ปี ต่อจากมัธยมศึกษาตอนปลายและตามแผนการศึกษา แห่งชาติปี 2503 ได้เปลี่ยนชื่อจากอาชีวศึกษาชั้นสูงเป็นมัธยมศึกษาสายอาชีพซึ่งใช้อยู่ในปัจจุบันนี้
ปัจจุบันนี้อาชีพอื่นหางานทำยาก แต่งานหนังยังสามารถยึดเป็นอาชีพอิสระที่สามารถทำเงินได้โดยใช้เงินทุนเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้วิทยาลัยฯ ยังได้ทำประโยชน์ให้กับสังคมอีกมากมาย เช่น
- ร่วมโครงการปลูกป่าถวายในหลวง
- โครงการพัฒนาอาชีพให้กับชาวบ้าน
- ทำฉลองพระบาทถวายแด่พระสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- ทำของชำร่วยให้รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- ฝึกอาชีพงานหนังให้กับประชาชนผู้ไม่มีงานทำในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ
- อบรมงานผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง ให้กับเจ้าหน้าที่จากกรมพัฒนาชุมชนและกรมราชทัณฑ์
นักเรียนนักศึกษาแผนกอุตสาหกรรมเครื่องหนัง ที่สำเร็จการศึกษาจากสถานศึกษาแห่งนี้ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะธุรกิจส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง ซึ่งสินค้าประเภทเครื่องหนังเป็นสินค้าออกติดอันดับ 1 ใน 10 ที่ทำรายได้ให้กับประเทศมากมายมหาศาล
วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ เปิดสอน 2 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาศิลปกรรม และพาณิชยกรรม เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับชุมชนได้มีทางเลือกในการศึกษาตามความต้องการ เป็นการสนองนโยบายปฏิรูปการศึกษาอีกทางหนึ่งด้วย