หน้าอบรม-สัมมนา    อบรม    คอมพิวเตอร์ IT internet | กรุงเทพฯ
2.0K
โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร
“การสร้างความตระหนักรู้ ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์” 
“Cyber Security Awareness Training”  (1วัน) รุ่น 2


เป้าหมายเพื่อ มุ่งเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ให้คนไทยพร้อมรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ที่เพิ่มต่อเนื่องและรุนแรงขึ้นเพื่อหวังภาครัฐ ภาคเอกชนเอกชนและประชาชน ร่วมกันสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่แข็งแกร่งเพื่อความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมออนไลน์ การตลาดดิจิทัลและอีคอมเมิร์ซตลอดจนขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ

วัตถุประสงค์ 
  1. เพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรมมีพื้นฐานคำศัพท์เทคนิคที่สำคัญ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและการทำงาน
  2. เพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรมมีความตระหนักรู้ด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ทีเป็นภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นกับตนเอง และองค์กร
  3. เพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรมรู้วิธีการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ให้ปลอดภัยจากภัยคุกคามสมัยใหม่ที่มาพร้อมการใช้งานอินเทอร์เน็ต
  4. เพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรมสามารถนำความรู้นำไปต่อยอดในการประกอบวิชาชีพด้านระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลสารสนเทศ เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานทั้งหน่วยงานภาครัฐ และภาค เอกชนองค์กรขนาดใหญ่
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ช่วยให้ผู้เข้ารับอบรมเกิดความรู้ความเข้าใจสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการทำงานและป้องกันตนเองในชีวิตประจำวัน
  2. ร่วมมือกันสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามไซเบอร์ รวมถึงช่วยกันส่งเสริมความรู้และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกิดจากภัยคุกคามไซเบอร์ของบุคลากรด้วยกันและระหว่างองค์กร
  3. ร่วมมือกันจัดทำแผนทดสอบและซ้อมรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ในการตรวจสอบและประเมินความเสี่ยง เพื่อให้เกิดความพร้อมในการรับมือกับภัยคุกคามไซเบอร์ได้อย่างทันการณ์
  4. ร่วมมือกันช่วยเหลือเพื่อแก้ไขปัญหาภัยคุกคามไซเบอร์หรือประสานขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้แก่ในกรณีที่เกิดเหตุ
หัวข้อการบรรยายและพร้อมปฏิบัติการ
  1. แนวโน้มการใช้งานดิจิทัลในยุคปัจจุบัน
    1. สถิติและข้อมูลการใช้งานอินเทอร์เน็ต
    2. สถิติและข้อมูลการติดต่อสื่อสารภายในประเทศและต่างประเทศ
    3. สถิติการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์
    4. สังคมและเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงจากการใช้เงินดิจิทัล (Cryptocurrency) 
  2. แนวโน้มภัยคุกคามสมัยใหม่ที่มีผลกระทบต่อประชาชน
    1. สถิติภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีผลกระทบต่อประเทศไทย
    2. สถิติการติดเชื้อไวรัสคอมพิวเตอร์ที่มีผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจ
    3. ความมั่นคงของข้อมูลคือความมั่นคงของประเทศ
  3. นิยามหรือคำศัพท์เทคนิคที่สำคัญควรรู้ 
    1. ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์(Cyber Security) คืออะไร
    2. ประเภทภัยคุกคามมีอะไรบ้าง
    3. องค์ประกอบของ INFOSEC (Information Security) 
    4. Confidentiality (การรักษาความลับของข้อมูล)
    5. Integrity (ความแท้จริงของข้อมูล) และ 
    6. Availability (การใช้งานได้ของระบบ) ฯลฯ
  4. ประเภทภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ประชาชนควรรู้
    1. ภัยคุกคามที่เกิดจากการระบาดของไวรัสคอมพิวเตอร์ (Worm) , ข้อมูลขยะ (Spam) , ข้อมูลหลอกลวง (Phishing)
    2. เรียนรู้ภัยคุกคามจากการโจมตีทางไซเบอร์ การโจมตี DDoS/DoS , Web Application Hacking , Brute Force พร้อมสาธิตให้ถึงผลลัพธ์การโจมตีที่เกิดขึ้น
    3. เรียนรู้ศัพท์เทคนิคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการโจมตีและส่งผลกระทบต่อการใช้งานอินเทอร์เน็ต 
    4. ภัยคุกคามที่เกิดจากข้อมูลชวนเชื่อ (Propaganda) 
    5. ภัยคุกคามที่เกิดจากไวรัสเรียกค่าไถ่ (Ransomware)
    6. เรียนรู้ข้อมูลจาก Deepweb , Darknet ข้อมูลใต้ดินที่ควรรู้เพื่อการป้องกันภัย
    7. การอำพรางตัวตนบนโลกอินเทอร์เน็ต (Anonymous) ได้แก่ การอำพรางค่าไอพีแอดเดรส และการตรวจสอบค่าไอพีเพื่อการป้องกันภัย 
  5. การตรวจสอบข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตเพื่อการป้องกันภัยที่เกิดขึ้น
    1. เรียนรู้การตรวจสอบรายชื่อผู้จดทะเบียนเว็บไซต์ E-mail ที่ใช้จดทะเบียน ค่าสถานที่ในการจดทะเบียน
    2. เรียนรู้ขั้นตอนการตรวจสอบย้อนกลับเพื่อหาเส้นทางการติดต่อสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต
    3. เรียนรู้เส้นทางการเชื่อมต่อข้อมูลภายในประเทศไทย และ การเชื่อมต่อข้อมูลต่างประเทศ
    4. เรียนรู้การตรวจสอบค่าไอพีบัญชีดำ (IP Blacklist)
    5. เรียนรู้การตรวจสอบค่าโดเมนบัญชีดำ (Domain Blacklist)
    6. เรียนรู้การตรวจสอบไฟล์ที่แนบมากับ E-mail เพื่อหลีกเลี่ยงการติดไวรัสคอมพิวเตอร์
    7. เรียนรู้วิธีสังเกตการเข้าถึงข้อมูลอินเทอร์เน็ตเพื่อความปลอดภัยในการค้นหาข้อมูล การตรวจสอบเว็บไซต์ที่อันตราย
    8. การตรวจสอบเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองเพื่อความปลอดภัย โดยไม่ต้องใช้ซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัส
    9. การตรวจสอบแอพลิเคชั่นบนมือถือและการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Facebook , Line ) ให้มีความปลอดภัยต่อการใช้งาน
    10. เรียนรู้การรักษาความลับและข้อมูลส่วนตัว เพื่อการป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต 
  6. การสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้เกิดขึ้นกับตนเองและสังคม
    1. วิธีการสร้างความปลอดภัยในการท่องอินเทอร์เน็ต
    2. วิธีการป้องกันภัยคุกคามจากการใช้งานข้อมูลสารสนเทศภายในองค์กร 
  7. การจำลองสถานการณ์การโจมตีทางไซเบอร์เพื่อให้เห็นภาพภัยคุกคามที่เกิดและความเสียหายที่ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจ ภาคหน่วยงานรัฐ และระบบเครือข่ายที่มีการเชื่อมต่อสู่โลกอินเทอร์เน็ต
  8. กรณีศึกษาจากเหตุการณ์จริงกลุ่มเป้าหมาย
    1. ภาครัฐ และรับวิสาหกิจระดับเจ้าหน้าทีทั่วไปและผู้บริหารสามารถใช้อินเทอร์เน็ต
    2. ภาคเอกชน พนักงานบริษัทและผู้บริหารสามารถใช้อินเทอร์เน็ต 
    3. นิสิต นักศึกษา ประชาชน หรือผู้สนใจทั่วไป
กำหนดการ
  • สามารถใช้อินเทอร์เน็ตวัน เวลา วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน 2560 เวลา 9.00 – 17.00 น.
สถานที่
  • ณ The Connection MRT ลาดพร้าว กรุงเทพฯ
ค่าลงทะเบียน
  • จำนวนเงิน 4,950 บาท (ค่าลงทะเบียนรวม เอกสาร อาหารว่างและอาหารกลางวัน ประกาศนียบัตรจากสมาคมฯ รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 % ) ถ้าชำระเงินทั้งหมด ก่อน 15 พฤศจิกายน 2560 จ่ายเงินเพียง 4,000 บาท รวมทุกอย่างเช่นกัน (รับส่วนลด 950 บาท)
รูปแบบการฝึกอบรมบรรยาย สาธิต การโจมตีที่เกิดขึ้นแบบ Real Time ตอบข้อซักถาม และการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการผ่าน สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต โน๊ตบุ๊ค “มาพิสูจน์ว่าใครกำลังโจมตีองค์ของท่าน เพื่อหาทางป้องกัน”

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติ่มที่ 
  • คุณยุทธพงศ์ บุญสุข
  • 092-8292410
  • pipat.duk@gmail.com
ปิดรับสมัคร
 
LOCAL TIME
Time Zone : Asia/Bangkok
COST
4,000 บาท
คอร์สสร้างแฟรนไชส์ Boost Up | fb Group
3,500 บาท 2,900 บาท ต่อหลักสูตร
ลงประกาศ คอร์สเรียน ฟรี! : Seminar Post
สมาชิกใหม่ ลำดับที่ 41,993  คุณกัลยรัตน์ สีดา
สมัครสมาชิก
ตั้งกระทู้ใหม่
สถิติคอร์สเรียน 1,992 กระทู้  988 หัวข้อ