หน้าอบรม-สัมมนา    อบรม    การเงิน การลงทุน บัญชี ภาษี กฎหมาย | กรุงเทพฯ
1.1K
หลักสูตร บัญชีต้นทุน สำหรับเจ้าของธุรกิจ 



วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563
ลงทะเบียน 08.30 - 09.00 น.
เริ่มอบรม 09.00 - 16.00 น.
สถานที่ : อาคารวิทยบริการ หรือ อาคาร KU HOME
(มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน)
 
บัญชีบริหาร คือ กระบวนการทางบัญชีที่มุ่งไปในส่วนของการนำข้อมูลทางบัญชี การเงิน และบัญชีต้นทุน มาทำการวิเคราะห์และแปลความหมาย เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหาร ทั้งในด้านการวางแผน การควบคุม การประเมินและวัดผลการดำเนินงานของบุคคลในองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ในองค์กร แต่โดยส่วนใหญ่ข้อมูลที่มีบทบาทสำคัญต่อการบริหารกิจการก็ คือ ข้อมูลทางด้านต้นทุน (Cost Information) ดังนั้น จึงทำให้เกิดความเข้าใจโดยทั่วไปว่าการบัญชีบริหารก็คือการบัญชีต้นทุนแต่ในทางหลักการที่ถูกต้องแล้วการบัญชีต้นทุนเป็นส่วนหนึ่งของการบัญชีบริหารเท่านั้น
 
Profitability and Cost Analysis การวิเคราะห์ต้นทุนและกำไรทางธุรกิจเข้าใจประโยชน์ของการบริหารต้นทุน เพื่อใช้ในการดำเนินงานและสร้างผลกำไรทางธุรกิจ โดยเริ่มเรียนรู้ตั้งแต่ความหมายของต้นทุนและประเภทของต้นทุน ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนแปรผันตลอดจนสามารถวิเคราะห์ต้นทุนและผลกำไรจากการดำเนินงานได้อย่างถูกต้องเป็นหนึ่งในปัจจัยแห่งความสำเร็จของกิจการที่กำลังเริ่มต้นธุรกิจ
 
บัญชีต้นทุน เป็นหลักการบัญชีที่เกี่ยวกับการสะสมและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อใช้ในการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร ทั้งเพื่อการวางแผน การควบคุม การตัดสินใจและในเรื่องอื่นๆ โดยปกติแล้วการบัญชีต้นทุนจะทำหน้าที่หลักในการสะสมข้อมูลทางด้านต้นทุนที่เป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต เพื่อคำนวณหาต้นทุนของผลิตภัณฑ์รวมทั้งใช้ประมาณมูลค่าของสินค้าคงเหลือ นอกจากนี้การบัญชีต้นทุนยังเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประมาณหรือการพยากรณ์ต้นทุนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อการตัดสินใจอีกด้วย
 
ซึ่งในส่วนนี้เอง จึงทำให้การบัญชีต้นทุนเข้ามามีบทบาท เพื่อใช้ในการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร ในปัจจุบันนี้การเริ่มต้นธุรกิจได้พัฒนาทางด้านการผลิตมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เช่น การนำเครื่องจักรกล เครื่องคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต เป็นต้น การนำบัญชีต้นทุน จึงมีบทบาทที่สำคัญสำหรับผู้เริ่มต้นธุรกิจไว้ใช้เพื่อทำหน้าที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลทางด้านต้นทุนที่ถูกต้องและส่งผลเป็นอย่างยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้ข้อมูลที่สำคัญใช้ในการตัดสินใจแก่ฝ่ายบริหารได้อย่างรวดเร็ว ทันสมัยและเชื่อถือได้จึงเป็นสิ่งที่นักบัญชีต้นทุนจะต้องมีความเข้าใจและสามารถที่จะประยุกต์การบัญชีต้นทุนให้ใช้ได้กับลักษณะของธุรกิจต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
วัตถุประสงค์เบื้องต้นของการบัญชีต้นทุน คือ การคำนวณต้นทุนขายและการแสดงสินค้าคงเหลือ เพื่อจัดทำงบการเงินต่อไปในส่วนของการบริหารจัดการสามารถจะนำข้อมูลทางด้านการบัญชีต้นทุนมาใช้ในการบริหารในเรื่องต่างๆ ได้ ดังนี้
  1. การควบคุม (Control) ในการประเมินผลงานที่ปฏิบัติว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ ฝ่ายจัดการต้องทราบถึงข้อมูลที่แท้จริง แล้วนำมาเปรียบเทียบกับแผนงานที่วางไว้ ซึ่งอาจกำหนดในรูปของงบประมาณหรือต้นทุนมาตรฐาน หากผลที่เกิดขึ้นจริงแตกต่างจากงบประมาณหรือมาตรฐานที่กำหนดไว้จะก่อให้เกิดผลต่างที่พอใจหรือไม่พอใจผลต่างๆ ดังกล่าว จะถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุของปัญหาตลอดจนเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยจัดทำเป็นรายงานประกอบ
  2. การวางแผนกำไรและตัดสินใจ (Profit Planning and Decision Making) ข้อมูลด้านต้นทุน ฮสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการวางแผนกำไรและตัดสินใจ เช่น การวิเคราะห์หาจุดคุ้มทุนหรือการตัดสินใจระยะสั้นๆในกรณีต่างๆได้ เช่น การรับผลิตสินค้าในราคาต่ำกว่าต้นทุนขาย การยกเลิกสายผลิตภัณฑ์ที่ขาดทุน เป็นต้น
  3. การเพิ่มประสิทธิภาพ (Maximize Efficiency) การเพิ่มประสิทธิภาพสามารถกระทำได้ โดยการวัดผลการดำเนินงานตามความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานได้ โดยใช้วิธีการบัญชีตามความรับผิดชอบ (Responsibility Accounting) การบัญชีต้นทุนกิจการ (Activity-based Costing) การบริหารคุณภาพ (Total Quality Management) เป็นต้น
  4. การงบประมาณ (Budgeting) ในการจัดทำงบประมาณของธุรกิจจำเป็นจะต้องอาศัยข้อมูลทางด้านบัญชี ซึ่งแสดงถึงผลงานในอดีตที่ผ่านมารวมทั้งการพยากรณ์ในอนาคต ฝ่ายจัดการต้องพยากรณ์รายได้หรือยอดขายเพื่อทราบถึงสัดส่วนการตลาดและนำยอดขายหรือปริมาณขายมาวางแผนการผลิตและจัดทำงบประมาณการผลิต งบประมาณลงทุนและงบประมาณดำเนินการ รวมถึงประมาณการกำไรขาดทุนและงบดุลตลอดจนงบประมาณเงินสด เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารการเงินด้านต่างๆให้อยู่ในกรอบหรือแผนงบประมาณที่กำหนด ข้อมูลการวางแผนงบประมาณที่ดีต้องอาศัยข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงในอดีต เช่น ข้อมูลด้านต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร เป็นต้น
เนื้อหาหลักสูตร :
  • แนวคิด ความหมาย วัตถุประสงค์และประเภทของบัญชีต้นทุน
  • เหตุผล หลักคิดที่สำคัญของต้นทุน
  • ความสัมพันธ์ระหว่างการบัญชีการเงินและการบัญชีต้นทุน
  • วงจรบัญชีต้นทุน
  • การจำแนกของต้นทุนการผลิต
  • หากคิดต้นทุนผิด ตั้งราคาผิด กำไรหาย
ประโยชน์ที่ผู้เรียนจะได้รับ :
  • รู้หลักการต้นทุน ทั้งหลักการคิดและหลักการคำนวณในการบริหารสินค้าคงเหลือ
  • ความรู้ความสามารถในการบันทึกบัญชีของระบบต้นทุนงานสั่งทำ/สินค้ามีตำหนิในระบบต้นทุนงานสั่งทำ
  • จำแนกชนิดของระบบต้นทุนช่วงการผลิตได้
  • ความรู้เกี่ยวกับชนิดของต้นทุนมาตรฐานและวิธีการกำหนดต้นทุนมาตรฐานที่ดี
  • สามารถวิเคราะห์ผลต่างเกี่ยวกับการผลิต ได้แก่ วัตถุดิบค่าแรงงานทางตรงและค่าใช้จ่ายในการผลิตพร้อมทั้งบันทึกบัญชีในลักษณะต่างๆได้
หลักสูตรเหมาะลำหรับ :
  • เจ้าของกิจการที่ต้องการลดต้นทุนการผลิตเพื่อรักษาพื้นที่กำไรของกิจการ
  • นักบัญชี ผู้ทำบัญชี ผู้สอบบัญชี
  • เจ้าของกิจการที่อยากบีบต้นทุนให้เล็กเพื่อรักษาพื้นที่กำไรในกิจการ
หมายเหตุ :
  • เพื่อความเข้าใจและความถูกต้องและสอดคล้องกับโครงสร้างหลักสูตร เนื่องจากต้องมีการเก็บข้อมูลที่ถูกต้อง(รายงาน)จากผลประกอบกิจการมาแล้วไม่น้อยกว่า 1ปี มาทำการวิเคาระห์หาต้นทุนที่แท้จริงของกิจการและแนวทางในการเพิ่มผลกำไรจากที่ทำอยู่
คำแนะนำ : ควรผ่านการอบรมรายวิชา บัญชีพารวย & รวยด้วยบัญชี มาก่อนยิ่ิ่งดี เนื่องจากต้องมีการเก็บข้อมูลมาก่อนอย่างน้อย 1 ปี
 


แผนที่การเดินทางอาคารวิทยบริการ หรือ อาคาร KU HOME

หลักสูตรราคา 2,900 บาท / ท่าน
หมายเหตุ : ราคาดังกล่าวยังไม่รวม VAT7%



หมายเหตุ :
  • รับจำกัดเพียง 20 ท่าน / คลาส
  • หลักสูตรสำหรับผู้ที่สนใจอยากเริ่มต้นธุรกิจ / เจ้าของกิจการ
  • หลักสูตรนี้เป็นความรู้เฉพาะบัญชี การเงิน งบกำไร-ขาดทุน
สอบถาม ฝ่ายอบรม-สัมมนา โทร. 02-1019187, 098-6702011
ปิดรับสมัคร
Verified
 
LOCAL TIME
Time Zone : Asia/Bangkok
9.00 - 16.00 น.
COST
2,900 บาท
 มินิ เอนเทอร์เพรเนอร
 มินิ เอนเทอร์เพรเนอร
คอร์สสร้างแฟรนไชส์ Boost Up | fb Group
3,500 บาท 2,900 บาท ต่อหลักสูตร
คอร์สแฟรนไชส์ จัมป์ อัพ (Franchise Jump Up) ..
29,000 บาท 16,900 บาท ต่อหลักสูตร
ลงประกาศ คอร์สเรียน ฟรี! : Seminar Post
สมาชิกใหม่ ลำดับที่ 41,965  คุณเอมิกา ปัญญาพชิราภัทร
สมัครสมาชิก
ตั้งกระทู้ใหม่
สถิติคอร์สเรียน 1,987 กระทู้  986 หัวข้อ