ดาวเด่นแฟรนไชส์    ก้าวย่างน่าจับตา ‘ร้านนายอินทร์’ เมื่อธุรกิจหนังสือไม่อิงภาวะเ...
12K
19 สิงหาคม 2553

ก้าวย่างน่าจับตา ‘ร้านนายอินทร์’ เมื่อธุรกิจหนังสือไม่อิงภาวะเศรษฐกิจ


แฟรนไชส์ธุรกิจร้านหนังสือ ‘ร้ายนายอินทร์’ ได้เปิดให้บริการสาขาแรกในปี 2537 นับวันนี้เป็นเวลา 10 กว่าปีแล้ว กับจำนวน 65 สาขา ที่ลงทุนโดยแฟรนไชซีและบริษัทลงทุนเอง และในปี 2548 เพิ่มอีกประมาณ 7- 8 สาขา รวมถึงการขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์ไปยังต่างประเทศเป็นครั้งแรกที่ซานฟรานซิสโก้ สหรัฐอเมริกา

       “สุทัศน์ แสนสุข” ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาสาขาร้านนายอินทร์ กล่าวถึงความสำเร็จของร้านนายอินทร์ ภาพรวมธุรกิจร้านหนังสือ และก้าวต่อไปของร้านนายอินทร์ไว้อย่างน่าสนใจดังนี้
      
       -วิเคราะห์ความสำเร็จตลอดระยะเวลา 10 ปี
      
       ร้านนายอินทร์ พื้นฐานมาจากบริษัทแม่ มาจากการผลิตหนังสือ ร้านนายอินทร์ถือเป็นช่องทางหนึ่งของการขายหนังสือของบริษัท นอกจากขายส่ง ถามว่า ณ วันนี้ประสบความสำเร็จไหม ผมว่าพอสมควรแต่ไม่หวือหวา แต่ยังคงนโยบายที่จะเปิดขยายสาขาทั้งของบริษัทและรูปแบบแฟรนไชส์ แต่ค่อนข้างละเอียดและให้ความสำคัญของการลงทุน ใช้หลักพิจารณาค่อนข้างสูง โดยแต่ละปีไม่ได้มีการตั้งเป้าอยู่ที่ทำเลโอกาสในธุรกิจเป็นสำคัญ
   
        -ความสำเร็จที่โดดเด่นของร้านนายอินทร์
      
       จากการสอบถามกับกลุ่มลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ ส่วนใหญ่ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าบรรยากาศที่ผ่อนคลาย มีเก้าอี้ให้นั่ง สามารถใช้เวลาในการเลือกหนังสือที่ชอบ และพนักงานมีความรู้สามารถแนะนำหนังสือและให้ความรู้ได้ และเมื่อ 2 ปีมานี้ ได้นำจุดแข็งในส่วนนี้มาพัฒนาตั้งเป็นโรงเรียนนายอินทร์ฝึกอบรมพนักงานและเปิดสอนสำหรับบุคคลทั่วไป ทั้งการขายและงานบริการในร้านหนังสือ ทั้งนี้เพื่อเป็นการฝึกอบรมให้กับพนักงานของแฟรนไชซีด้วย ซึ่งพนักงานร้านนายอินทร์จะมีมาตรฐานเดียวกัน
      
       ร้านหนังสือแต่ละราย ก็จะพยายามสร้างจุดขายที่แตกต่าง เพราะสินค้าในร้านกว่า 90% เหมือนกันหมด เหมือนห้างสรรพสินค้า
      
       ถ้าด้านความสำเร็จของผู้เข้ามาลงทุน เนื่องจากชื่อเสียงร้านนายอินทร์เป็นที่รู้จัก ลดเปอร์เซ็นต์หนังสือของสำนักพิมพ์ในเครือเดียวกันให้มากกว่าร้านหนังสือทั่วไปประมาณ 5% เท่ากับว่ากำไรของร้านจะเพิ่มมากขึ้น และกลยุทธ์การตลาดที่ทำตลอดทั้งปี รวมถึงการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ร้านนายอินทร์ทุกสาขาทั่วประเทศพ่วงกับบริษัทแม่ซึ่งมีบริษัทในเครือหลายบริษัท
      
       -มองศักยภาพโอกาสการเติบโตของธุรกิจไว้อย่างไร
      
       จากผลการวิจัยของซีเอ็ด หรือในมุมมองของผมก็ตาม มองว่าโอกาสการเติบโตยังมีอีกมาก เพียงแต่ตอนนี้ที่เห็นจะกระจุกตัวเฉพาะในกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่ๆ เท่านั้น ขณะที่ในบางจังหวัดยังไม่ค่อยมี หรือมีก็เป็นร้านหนังสือแบบเดิมที่ทำกันมา ยังไม่มีร้านที่ทันสมัย

        สำหรับแฟรนไชส์ร้านนายอินทร์ เรามองว่าศักยภาพในอำเภอเมืองของทุกจังหวัดสามารถเปิดได้แน่นอนถ้ามีผู้ติดต่อสนใจเข้ามาก็สามารถทำได้หมด
      
       -วัดจากผู้อ่านหรือจำนวนหนังสือใหม่มากขึ้น
      
       ทั้ง 2 อย่าง ผมมองว่าจุดที่หนังสือเราโตได้ เพราะคนไม่มีโอกาสซื้อมากกว่า เพราะถ้าเราเพิ่มโอกาสการซื้อหนังสือตลาดโตแน่ มองจากจังหวัดขนาดเล็ก ขนาดกลาง โอกาสการเติบโตสูงดูจากยอดขายจังหวัดเล็กอย่างกระบี่ พะเยา ยอดขายหนังสือดี ขณะที่จังหวัดใหญ่กับไม่ดีอย่างที่คิดเพราะการแข่งขันสูง
      
       กลุ่มหนังสือที่ขายดีแทบทุกกลุ่ม โดยเฉพาะพ็อคเกจบุ๊ค เราจะบอกกับทางร้านขายให้ได้นะให้ได้ 80% ของยอดขายทั้งหมด เพราะเปอร์เซ็นต์ดีกำไรเฉลี่ย 25-30% ถ้าเทียบกับนิตยสารทั่วไปประมาณ 12-15%
 

      
       -ปัจจุบันการตัดสินใจของนักลงทุนต่อธุรกิจร้านหนังสือ กับธุรกิจอื่นเป็นอย่างไร
      
       คำถามแรกที่ผมถามทำไมอยากเปิดร้านหนังสือ 90% บอกชอบอยากเปิดร้านหนังสือคำตอบที่ซึ่งเราพิจารณาเองว่าน่าจะเปิดร้านหนังสือได้ แต่ถ้าดูแล้วว่าธุรกิจนี้น่าทำกำไรน่าอยู่ได้ ผมไม่แนะนำ เพราะธุรกิจหนังสือกำไรน้อย ค่อยเป็นค่อยไป หนังสือเล่ม วิ่งได้ระดับหนึ่ง ไม่ได้เหมือนธุรกิจอื่น
      
       ทุกวันนี้มีหนังสือใหม่ออกวันละ 30 ปก ต้องใส่ใจเพราะละเอียดมาก เพราะหนังสือไม่มีการซื้อซ้ำ ชอบแค่ไหนก็ซื้อเล่มเดียว อย่างร้านนายอินทร์ถึงแม้มีระบบสมาชิกมีส่วนลด แต่ถ้าไม่มีหนังสือที่ต้องการเขาก็ไปร้านอื่น เพราะหนังสือไม่มีความภักดีในแบรนด์เหมือนสินค้าอื่น เพราะหนังสือกว่า 90% เหมือนกันทุกร้าน
      
       ฉะนั้นแต่ละร้านต้องนำกลยุทธ์ทางการตลาดมาเล่นตลอด สร้างความโดดเด่นให้กับร้านตั้งแต่การตกแต่ง บรรยากาศ ซึ่งนายอินทร์มีในส่วนนี้ครบได้รับการตอบรับจากลูกค้าดี ร่วมถึงโปรโมชั่นที่ออกมากระตุ้นยอดขายตลอดเป็นช่วงเวลา
      
       -เปรียบเทียบการลงทุนร้านหนังสือเองกับการซื้อแฟรนไชส์
      
       การซื้อแฟรนไชส์ จะได้เปรียบในแง่ของการรับรู้ของผู้บริโภคทั้งแบรนด์ การให้บริการสินค้านั้นๆ รวมถึงการบริหารจัดการร้านด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งในปัจจุบันถ้ามีเงินลงทุนการตัดสินใจในการทำธุรกิจที่มีแฟรนไชส์อยู่แล้วค่อนข้างได้เปรียบในการแข่งขันโดยไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด
      
       และมีคำถามมามากเหมือนกันส่าระหว่างเปิดร้านหนังสือเองกับการลงทุนซื้อแฟรนไชส์ ผมแนะนำกลางๆ เพราะเรามีโรงเรียนนายอินทร์เปิดสอนสำหรับผู้ที่สนใจเข้ามาทำธุรกิจร้านหนังสือตั้งแต่เบื้องต้นไปจนถึงระดับสูง ซึ่งเข้าอาจไม่ต้องซื้อแฟรนไชส์ก็ได้ แต่จะต่างกันที่ความรับรู้ของคนต่อแบรนด์

       -ภาวะเศรษฐกิจส่งผลกระทบต่อร้านหนังสือหรือไม่/ร้านนายอินทร์หรือไม่
      
       ร้านหนังสือรวมถึงร้านนายอินทร์ ไม่ได้รับผลกระทบต่อยอดขายหนังสือ แต่เป็นธุรกิจที่ทรงตัวกับภาวะเศรษฐกิจไม่ดีมากกว่า เมื่อเทียบกับธุรกิจอื่นแล้วจึงดีกว่า ดูจากเศรษฐกิจในปี 2540 ยอดขายก็ไม่ตก แต่คนกลับซื้อหนังสือมาอ่านมากขึ้น เพราะความหลากหลายของหนังสือทั้งบันเทิงและให้ความรู้ แต่ที่เห็นผลค่อนข้างชัดว่ายอดขายลดลงบ้างจะเป็นนิตยาสาร
      
       ถ้าในแง่ของการลงทุนก็อาจจะมีบ้างที่ต้องการลดขนาดการลงทุนลง ให้มีไซส์เล็กลง แต่ผมจะไม่แนะนำอย่างพื้นที่ขนาด 50-60 ตร.ม. จะเล็กมาก ไม่สามารถลงหนังสือได้ครบ ความหลากหลายของสินค้าในร้านไม่มี แต่สำหรับร้านหนังสือ พื้นที่ 80-120 ตร.ม. จะบริหารได้ดีและมีหนังสือค่อนข้างครบทุกหมวดหมู่
      
       -แผนเป้าหมายนายอินทร์ การแข่งขันธุรกิจในอนาคต
      
       ถ้าคู่แข่งในแง่จำนวนร้านมีอยู่แล้ว แต่ในรูปแบบแฟรนไชส์เราเป็นรายเดียว เราทำแฟรนไชส์แทบไม่ได้อะไรเลย แต่เป็นการสนับสนุนการสร้างอาชีพมากกว่า เราผลิตหนังสือเองอาจได้เปรียบในแง่ของการทำแฟรนไชส์
      
       ปัจจจุบัน เราพยายามเพิ่มสัดส่วนการเข้ามาลงทุนของแฟรนไชซีมากขึ้น จะเห็นว่าผู้ประกอบที่ทำร้านหนังสือในรูปแบบเดิมให้ความสนใจสอบถามเข้ามามากเพื่อปรับเปลี่ยนเข้าสู่การให้บริการในรูปแบบใหม่ แต่เทียบสัดส่วนแล้ว จะเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ ที่สนใจเข้ามาทำธุรกิจแฟรนไชส์ มากกว่าเพราะรายเก่าๆ ไม่ค่อยมาก ซึ่งก่อนเข้ามาเป็นแฟรนไชส์เรามีการพูดคุยกันมาก พอถึงจุดนี้เขาไม่อยากอยู่ในกฎเกณฑ์ เราเงื่อนไขเยอะ เพราะมีพนักงานไปตรวจร้าน ต้องทำให้ได้มาตรฐาน
      
       -การสร้างรายได้ให้กับร้าน ผลักดันอย่างไร
      
       แฟรนไชซีสร้างรายได้ ด้วยการขายผ่านโรงเรียน ห้องสมุด ซึ่งแต่ละปีจะมีงบประมาณในการจัดหนังสือเข้าห้องสมุดอยู่แล้ว โดยทางบริษัทจะสนับสนุนการให้ลดส่วน เช่นเดียวกับการออกงานของจังหวัดขายในราคาลดพิเศษ เริ่มแรกตั้งแต่เปิดร้านจะประชาสัมพันธ์ร้านให้รู้จัก มีหนังสือแจกเพื่อสร้างไมตรีตั้งแต่แรก
      
       -ณ วันนี้การลงทุน ‘ร้านนายอินทร์’ ยังน่าสนใจหรือไหม
      
       ยังน่าสนใจ แต่ถ้าการเข้ามาลงทุนเพื่อหวังกำไรอย่างเดียวและในช่วงแรกของการลงทุนนั้นไม่แนะนำ แต่ถามว่าขาดทุนไหม ไม่ขาดทุนแต่ถามว่าคุ้มค่ากับที่เหนื่อยไหมก็ต้องคิดหนักหน่อย จุดเด่นของการลงทุนร้านหนังสืออย่างที่บอกภาวะเศรษฐกิจไม่มีผลกระทบธุรกิจสามารถทำต่อไปได้เรื่อยๆ หรือเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงน้อย สำหรับการลงทุนของร้านนายอินทร์เฉลี่ย 3-4 ปี ความน่าสนใจของธุรกิจขึ้นอยู่กับกลยุทธ์การตลาดด้วยที่มีส่วนสำคัญ ทั้งการจัดเรียงสินค้า การผลักดันสินค้าที่ขายดีกระตุ้นการขาย สินค้าจากสำนักพิมพ์ในเครือที่มีความหลากหลายและให้เปอร์เซ็นต์ที่มากกว่า ซึ่งนายอินทร์มีความโดดเด่นในส่วนนี้มาก


อ้างอิงจาก ผู้จัดการออนไลน์

ดาวเด่นแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
รวบรวมขนมปัง 20 บาท มาเอาใจคนอยากมีร้าน
157,522
ชานมไข่มุกปลุกตลาด 7 พันล้าน เทรนด์‘ไต้หวันกลับซ..
99,645
กาแฟสด ชาวดอย ลงทุนน้อย ความเสี่ยงต่ำ ความคล่องต..
81,650
เนสท์เล่ ปูพรมร้านไอศกรีมลงทุนเอื้ออาทร สานฝันคน..
77,808
ปั่นแหลก น้ำผลไม้สด แซงโค้งเข้าวินสร้างอาชีพ
76,558
“เคพีเอ็นพลัส” แฟรนไชส์อะไหล่มอ’ไซด์ ลั่นขยาย100..
55,082
ดาวเด่นแฟรนไชส์มาใหม่
ดาวเด่นแฟรนไชส์อื่นในหมวด