ดาวเด่นแฟรนไชส์    ลูกชิ้น ‘นำชัย’ ต่อยอดสูตร 30 ปี อัปเกรดมาตรฐาน บุกตลาดผ่านรถเข็น
9.3K
20 ตุลาคม 2553

ลูกชิ้น ‘นำชัย’ ต่อยอดสูตร 30 ปี อัปเกรดมาตรฐาน บุกตลาดผ่านรถเข็น
 
 

 

         แม้ลูกชิ้นเนื้อ “นำชัย” จะยืนหยัดอยู่ในวงการมานานกว่า 30 ปี มีร้านรถเข็นกว่า 1,500 สาขาทั่วประเทศ ทว่าที่ผ่านมา ชื่อเสียงกลับยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้างเท่าที่ควร ดังนั้น เมื่อทายาทธุรกิจ เข้าสานต่อกิจการ ได้เร่งปรับกลยุทธ์ หวังสร้างแบรนด์เป็นที่จดจำในฐานะเจ้าตลาดวงการลูกชิ้น
 


 

        นายลาภ จิตต์เที่ยง ทายาทธุรกิจรุ่นที่ 2 เล่าว่า ลูกชิ้นเนื้อนำชัย เกิดจากการพัฒนาสูตรของรุ่นพ่อและแม่ คือ นายสมชาย และนางพาณี จิตต์เที่ยง ผลิตลูกชิ้นวัวแท้ ในชื่อ “นำชัย รสเด็ด” ซึ่งได้รับนิยมจากผู้บริโภคอย่างสูง รวมถึง ขยายผลิตลูกชิ้นหมู ตรา “นายเล้ง” และเส้นบะหมี่ ตรา “หงส์หงส์” จนธุรกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง ยาวนานกว่า 30 ปี โดยช่องทางขายทั้งหมดส่งผ่านร้านก๋วยเตี๋ยวรถเข็นที่ปัจจุบัน มีกว่า 1,500 สาขา กระจายอยู่ทั่วประเทศ แบ่งเป็น 30% ในกรุงเทพฯ และอีก 70% ตามต่างจังหวัด โดยเฉพาะทางภาคเหนือ และอีสาน
       


ยกมาตรฐานเพิ่มคุณค่าแบรนด์
       
       อย่างไรก็ตาม ตลอดมา ดำเนินกิจการแบบครอบครัว ไม่เคยโฆษณาประชาสัมพันธ์แต่อย่างใด แม้ธุรกิจจะเติบโตได้ดี แต่ชื่อเสียงแบรนด์กลับไม่เป็นที่คุ้นเคยของผู้บริโภคมากนัก เมื่อเข้ามาสานต่อกิจการได้ต่อยอดธุรกิจ เพื่อให้ก้าวสู่ความยั่งยืน ตั้งแต่จัดตั้งเป็นบริษัท เอ็น.ซี.ฟู๊ด โปรดักชั่น จำกัด เมื่อ 1 ปีที่แล้ว เพื่อจัดระบบบริหารอย่างมืออาชีพ
      
       นอกจากนั้น เน้นสร้างชื่อแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง โดยวางจุดเด่นเป็นเจ้าตำรับลูกชิ้นเนื้อวัวแท้ที่อร่อยและมีมาตรฐานความสะอาด และปลอดภัย ตั้งแต่วัตถุดิบมีฟาร์มเลี้ยงหมู และวัวของตัวเองที่ จ.สุพรรณบุรี และราชบุรี โดยเลี้ยงระบบธรรมชาติ ผ่านรับรองของกรมปศุสัตว์ 

 

       ขณะที่การผลิตของโรงงานลงทุนหลายล้านบาท ปรับปรุงเข้าสู่มาตรฐานทั้ง GMP ฮาลาส และกำลังสู่มาตรฐาน HACCP มีกำลังผลิตกว่า 8-10 ตันต่อวัน นอกจากนั้น แยกส่วนการผลิตระหว่างลูกชิ้นเนื้อ และลูกชิ้นหมูออกจากกันชัดเจน เพื่อสร้างความเชื่อถือแก่ผู้บริโภค
      
       “ลูกชิ้นที่อยู่มาได้กว่า 30 ปี โดยไม่ได้ทำตลาดเลย เรื่องความอร่อย ผมคิดว่า มันเป็นต้นทุนเดิมของเราอยู่แล้ว ดังนั้น สิ่งที่ต้องการเสริม คือ ด้านมาตรฐาน การันตีได้ว่า โรงงานของเราสะอาด ปลอดภัย ไม่มีวัตถุที่เป็นพิษหรืออันตรายปะปน ดังนั้น การสร้างแบรนด์จะมุ่งที่รักษารสชาติดั้งเดิมที่ลูกค้าชื่นชอบ เสริมด้วยการนำเสนอถึงความปลอดภัย จุดแข็งนี้ทำให้สินค้าของเราแตกต่างจากเจ้าอื่นๆ” นายลาภ ระบุ
 
       นอกจากนั้น ด้านการบริหาร เพื่อส่งวัตถุดิบให้สาขากว่า 1,500 จุดได้ครอบคลุมและรวดเร็วยิ่งขึ้น ลงทุนตั้งศูนย์กระจายสินค้าประจำภาค ทั้งภาคกลางที่กรุงเทพฯ ภาคเหนือที่เชียงใหม่ และภาคอีสานที่นครราชสีมา และเตรียมขยายศูนย์ภาคใต้เพิ่มเติม เร็วๆนี้ 

 

เปิดกลยุทธ์ปูพรมขายผ่านรถเข็น
       
       ทั้งนี้ แผนการตลาดในปีนี้ (2552) บริษัทฯ จะเน้นเชิงรุก โดยขยายสาขาเพิ่มเติมทุกจังหวัด รูปแบบไม่ได้ใช้หลักแฟรนไชส์เต็มรูปแบบ แต่พยายามให้ผู้สนใจมาร่วมธุรกิจได้ง่ายที่สุด ใช้เงินทุนเริ่มต้น 15,000 – 28,000 บาท (แล้วแต่ขนาดรถเข็นและรูปแบบการลงทุน) หรือผู้ไม่มีเงินก้อน ได้จัดระบบเงินผ่อน วางเงินดาวน์แค่ 5,000 บาท ส่วนค่างวดที่เหลือแบ่งชำระเป็นงวดๆ คิดอัตราดอกเบี้ยต่ำ อีกทั้ง ไม่บังคับปริมาณสั่งซื้อลูกชิ้น เพราะถือว่า การสต๊อกสินค้าขึ้นอยู่กับความพอใจของลูกค้า ส่วนบริษัทฯ มีหน้าที่ต้องส่งสินค้าให้ลูกค้าได้ตามต้องการ
 
       ในด้านผลกำไรจากการขาย หากใช้วัตถุดิบลูกชิ้น 1 ถุง ผู้ขายจะมีกำไรหลังหักค่าใช้จ่ายทุกๆ ด้านแล้ว ประมาณ 500 บาท โดยมีการคาดการณ์คืนเงินลงทุนได้ภายใน 3 เดือน
      
       “วัตถุประสงค์หลักของบริษัทฯ คือ ต้องการมีจุดปล่อยวัตถุดิบลูกชิ้นเพิ่มขึ้น ดังนั้น หากมีคนเข้ามาเป็นสาขาจำนวนมากขึ้น ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสให้ยอดขายของบริษัทฯ ดีขึ้นด้วย และเมื่อผลิตในปริมาณยิ่งมากต้นทุนจะต่ำลงด้วยเช่นกัน” ทายาทธุรกิจ เผย

       เนื่องจากมีสาขามากถึง 1,500 สาขา หลักการวางตำแหน่งไม่ให้แย่งลูกค้ากันเอง ใช้วิธีง่ายๆ คือ แต่ละสาขาต้องไม่สามารถมองเห็นกันได้ในระดับสายตา ส่วนการดูแลคุณภาพให้เสมอกันทุกแห่ง รวมถึง ข้อมูลอัตราล้มเหลวของธุรกิจ ยอมรับว่า ที่ผ่านมา ยังไม่มีระบบอย่างชัดเจน ดังที่กล่าวข้างต้นว่า ในอดีตรุ่นพ่อและแม่ทำธุรกิจแบบครอบครัว ดังนั้น การควบคุมคุณภาพ บริษัทฯ จึงทำได้แค่เบื้องต้นคือ อบรมให้พร้อมที่สุดก่อนเปิดร้าน และผลิตลูกชิ้นคุณภาพที่ลูกค้ายอมรับ

 อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้ามาสานต่อกิจการนี้ ได้วางระบบทีมสุ่มตรวจ หากพบสาขาใด ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง ขั้นแรกจะตักเตือน ถ้าไม่ปรับปรุงอีกจะทำการยึดป้ายคืน
 

 

       และนอกจากมาตรการดังกล่าว จากประสบการณ์ที่แล้วมา พบว่า หากสาขาใดรักษาคุณภาพ ปฏิบัติตามขั้นตอนที่อบรม และขยันในการทำมาหากิน จะประสบความสำเร็จในธุรกิจนี้แทบทุกราย ตรงกันข้าม รายที่ขาดวินัย ก๋วยเตี๋ยวก็จะไม่อร่อย ในที่สุดต้องปิดตัวไป ซึ่งเป็นกลไกที่ผู้บริโภคจะคัดกรองให้เหลือเฉพาะสาขาที่ทำธุรกิจอย่างตั้งใจเท่านั้น
 

 

       นายลาภ เผยว่า ยอดขายสินค้าของบริษัทฯ ที่ผ่านมา เฉลี่ย 5-8 ล้านบาทต่อเดือน ส่วนเป้าหมายในปีนี้ (2552) จะเน้นเพิ่มยอดขายในสาขาเดิม และขยายสาขาใหม่เพิ่มอย่างน้อย 50 แห่ง และเนื่องจากปัจจุบันวงการ มีคู่แข่งค่อนข้างสูง จึงเน้นทำตลาดมากขึ้น ผ่านสื่อต่างๆ เพื่อเจาะถึงผู้บริโภคให้รู้จักแบรนด์ “นำชัย” อีกทั้ง ส่งเสริมการขายผ่านการจัดกิจกรรมโรดโชว์ เป็นต้น นอกจากนั้น ในช่วงปลายปี วางแผนนำสินค้าขายตามห้างโมเดิร์นเทรด รวมถึง ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และปรับปรุงบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่ๆ ให้ทันสมัยยิ่งขึ้น

สนใจ โทร.0-2294-1986


อ้างอิงจาก ผู้จัดการออนไลน์

ดาวเด่นแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
รวบรวมขนมปัง 20 บาท มาเอาใจคนอยากมีร้าน
157,522
ชานมไข่มุกปลุกตลาด 7 พันล้าน เทรนด์‘ไต้หวันกลับซ..
99,645
กาแฟสด ชาวดอย ลงทุนน้อย ความเสี่ยงต่ำ ความคล่องต..
81,650
เนสท์เล่ ปูพรมร้านไอศกรีมลงทุนเอื้ออาทร สานฝันคน..
77,808
ปั่นแหลก น้ำผลไม้สด แซงโค้งเข้าวินสร้างอาชีพ
76,558
“เคพีเอ็นพลัส” แฟรนไชส์อะไหล่มอ’ไซด์ ลั่นขยาย100..
55,082
ดาวเด่นแฟรนไชส์มาใหม่
ดาวเด่นแฟรนไชส์อื่นในหมวด