ดาวเด่นแฟรนไชส์    เจาะใจ! สำนักพิมพ์แม็ค สู่แฟรนไชส์ แม็ค แอคทีฟ เลิร์นนิง เซ็นเ...
5.6K
22 พฤศจิกายน 2555
เจาะใจ! สำนักพิมพ์แม็ค สู่แฟรนไชส์ แม็ค แอคทีฟ เลิร์นนิง เซ็นเตอร์


 
ตลอดเวลาเกือบ 40 ปี ภาพภายนอกของบริษัท สำนักพิมพ์แม็ค จำกัด คือธุรกิจสถาบันกวดวิชาที่ผลิตวารสารและคู่มือประกอบการเรียน ก่อนขยับขยายมาผลิตหนังสือแบบเรียนและสื่อดิจิทัลในปัจจุบัน โดยธุรกิจเหล่านี้อยู่ภายใต้การบริหารของหัวเรือใหญ่ "พีระ พนาสุภน"
 
ขณะเดียวกัน ก็รอจังหวะส่งไม้ต่อให้ "คมพิชญ์ พนาสุภน" ทายาทเพียงหนึ่งเดียว เข้ามารับช่วยงานในตำแหน่งกรรมการบริษัท เรียนรู้งานธุรกิจของครอบครัวอย่างเต็มตัว ระหว่างยกเครื่ององค์กรเข้าสู่การบริหารของเลือดใหม่ ที่นำมาซึ่งการร่วมขบคิดปรับเปลี่ยนองค์กรให้เดินไปไกลมากขึ้น ด้วยการเริ่มจากการเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็นบริษัท แม็คเอ็ดดูเคชั่น จำกัด
 
- ทำไมต้องเปลี่ยนชื่อบริษัท
 
เราเปลี่ยนชื่อเมื่อเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา เพราะต้องการบอกให้ภายนอกรู้ว่าเราได้เปลี่ยนแปลงวิสัยทัศน์ใหม่ เราไม่ได้มีแค่สิ่งพิมพ์ แต่ต้องการเป็นผู้ให้บริการด้านการศึกษาครบวงจร เพื่อตอบโจทย์ปัญหาด้านการศึกษา ซึ่งจะอยู่ในทุกสเต็ปการเรียนรู้ของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นที่โรงเรียนเราก็มีหนังสือเรียน อยู่บ้านเราก็มีคู่มือเตรียมสอบและวารสารให้ความรู้ หรือสามารถดาวน์โหลดหนังสือเรียนออนไลน์ไปอ่านระหว่างเดินทางได้
 
 
 
- สัดส่วนรายได้ธุรกิจเวลานี้มาจาก
 
แบ่งเป็นสื่อสิ่งพิมพ์และดิจิทัล 80% สถาบันกวดวิชา 20% โดยส่วนของสถาบันกวดวิชาเป็นลักษณะของแฟรนไชส์ มีประมาณ 30 แห่ง เราเลิกทำกวดวิชาเองมานานแล้ว เพราะขัดกับอุดมคติของคุณพ่อที่ต้องการให้ห้องเรียนมีคนเรียนไม่เกิน 30 คน แต่ถ้าทำอย่างนั้นค่าเรียนจะสูงมาก คงไม่มีเด็กยอมจ่าย เราจึงเปิดเป็นแฟรนไชส์ เพราะมีลูกค้าที่ทำมานานหลายปีแล้ว
 
เพื่อตอบโจทย์ความคิดที่ต้องการ เราได้ลงทุนประมาณ 10 ล้านบาท ทำ MAC Active Learning Center กวดวิชาสำหรับนักเรียน ม.4-6 ใช้มัลติมีเดีย 40% สอนสด 60% ตรงนี้เป็นการทำให้สินค้ามีคุณค่ามากขึ้น และสามารถนำไปปรับค่าเรียนได้ ตอนนี้มีอยู่ 3 แห่ง ปรากฏผลตอบรับดีมาก จึงตั้งเป้าไว้ว่าปีหน้าจะเพิ่มให้ครบ 10 สาขา และปีถัดไปเพิ่มเป็น 20 สาขา

ปัจจุบันเปิดสอนเฉพาะวิชาเคมี อีก 2 ปีข้างหน้าจะเพิ่มวิชาฟิสิกส์ ชีวะ คณิต ภาษาอังกฤษ แล้วจะขยายให้ครอบคลุมตั้งแต่ ป.3-ม.6 และวิดีโอที่ใช้ประกอบการเรียนนี้ก็จะนำไปใส่ไว้ใน LMS (Learning Management System) ซึ่งเป็นระบบการบริหารจัดการการเรียนการสอน


 
 
ระบบ LMS เราเป็นสำนักพิมพ์แรกที่ทำ กลุ่มเป้าหมายคือโรงเรียน ด้วยการนำสื่อที่มีอยู่จัดทำเป็นแพ็กเกจให้โรงเรียนเลือกว่าต้องการสื่อไหนบ้าง ไม่ว่าจะเป็นหนังสือเรียน สื่อการเรียนรู้ดิจิทัล มัลติมีเดีย อาจเลือกเฉพาะอย่างหรือทั้งหมดเลยก็ได้ ถ้าโรงเรียนมีแท็บเลตหรือคอมพิวเตอร์ก็สามารถเรียนผ่านหน้าจอ โดยเราจะเน้นว่าครูต้องสอนด้วย แล้วนำมัลติมีเดียจากระบบ LMS มาเสริมการเรียน พอเลิกเรียนแล้วก็อาจให้เด็กกลับไปอ่านหนังสือเรียนออนไลน์ที่บ้านได้
 
วิธีนี้จะทำให้ครูสามารถเช็กได้ว่าเด็กทำจริงหรือไม่ โดยผลจากตัวชี้วัดของนักเรียนจะถูกส่งไปให้ผู้ปกครองดูด้วย
 
 
 
- ต้องลงทุนระบบใหม่เท่าไร
 
งบประมาณทำระบบ LMS กว่า 10 ล้านบาท เป็นตัวเลขเริ่มต้น หลังจากทำระบบเสร็จจะนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ เราจึงต้องทำระบบนี้ก่อนเพื่อแสดงให้ผู้ลงทุนเห็นว่าเราต้องการพัฒนาระบบนี้แน่ ๆ ต้องการทำระบบ LMS ให้เป็นจุดแข็งก่อนเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยตั้งเป้าหมายระดมทุนให้ได้ 1.5 พันล้านบาทขึ้นไป
 
- ระบบนี้จะสร้างอนาคตธุรกิจขนาดนั้นเลยหรือ
 
เราจะทำให้ LMS เป็น Star Product ถ้าทำได้ดีจะสามารถต่อยอดไปสู่องค์ความรู้อื่นนอกเหนือจากการศึกษาได้ เช่น นำไปใช้ในองค์กรธุรกิจด้านการฝึกอบรมพนักงาน อีกอย่างคือ เมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ถ้าเราเป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านการศึกษาที่แข็งจริง ๆ ก็สามารถเป็นที่ปรึกษาให้กับชาวต่างชาติที่มาเปิดโรงเรียนในประเทศไทย หรือคนไทยที่ไปเปิดโรงเรียนที่ต่างประเทศได้ด้วย ตอนนี้จึงอยู่ระหว่างการพูดคุยเพื่อร่วมมือกับโรงเรียนจากประเทศญี่ปุ่นและอินเดีย
 
ในส่วนธุรกิจอื่น ๆ เช่น วารสารแม็ค จะต่อยอดมาทำเป็นดิจิทัลแมกาซีน โดยมีจุดเด่นคือ e-Testing นี่จะเป็นตัวทำเงินของเรา เพราะเรามีคลังข้อสอบที่ใหญ่มาก นอกจากนี้ กำลังอยู่ระหว่างการคุยกับ กสทช.เปลี่ยนชื่อ etvMAC สื่อออนไลน์ที่เผยแพร่ข้อมูลด้านการศึกษาที่ทำอยู่ เป็น MAC Chanel เพื่อทำรายการไลฟ์สไตล์กึ่งการเรียนรู้ด้านการศึกษาในรูปแบบดิจิทัลเคเบิล
 
 
 
- ตั้งเป้าหมายธุรกิจไว้อย่างไร
 
เราตั้งเป้าว่า ต้องมีคนติดตามวารสารและสื่อดิจิทัลของเราประมาณ 1 ล้านคน มีรายรับส่วนใหญ่น่าจะมาจากหนังสือเรียนและระบบ LMS ซึ่งแต่ละปีรายรับของเราอยู่ที่ประมาณ 800 ล้านบาท โตขึ้นเฉลี่ยปีละ 5-10% แต่หลังจากระบบทุกอย่างและสินค้าที่วางไว้ปล่อยสู่ตลาด คาดว่าบริษัทจะโตขึ้นเป็น 20%
 
แล้วเมื่อเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เราจะไม่อยู่ในหมวดธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์ ซึ่งตอนนี้กำลังคุยกับ ก.ล.ต.ว่าเราไม่ได้ทำสิ่งพิมพ์ แต่เป็นธุรกิจการศึกษา จึงขอให้เขาเปิดกลุ่มใหม่ให้ อย่างไรก็ตามหากไม่ได้จริง ๆ ก็อาจเข้ากลุ่มไอซีทีก็ได้ เพราะเชื่อว่าถึงตอนนั้นระบบ LMS จะเป็นตัวเด่นของบริษัทจริง ๆ
 
แล้วที่ผ่านมาเราแทบไม่มีโฆษณาเลย แต่ต่อไปเราจะโฆษณามากขึ้น ยิ่งเมื่อจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯก็ต้องทำตรงนี้ โดยวางแผนไว้ว่าจะค่อย ๆ ปล่อยสื่อโฆษณาออกมา และทำโฆษณาอย่างจริงจังประมาณ 1 ปี ก่อนเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ
 
เพื่อสร้างก้าวที่ใหญ่และก้าวที่สำคัญ เพื่อพลิกโฉม "ธุรกิจสิ่งพิมพ์ผลิตวารสารและคู่มือแบบเรียน" ไปสู่ "ธุรกิจให้บริการด้านการศึกษาครบวงจร" ในอนาคตด้วยคนรุ่นที่ 2

อ้างอิงจาก ประชาชาติธุรกิจ
ดาวเด่นแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
รวบรวมขนมปัง 20 บาท มาเอาใจคนอยากมีร้าน
157,522
ชานมไข่มุกปลุกตลาด 7 พันล้าน เทรนด์‘ไต้หวันกลับซ..
99,645
กาแฟสด ชาวดอย ลงทุนน้อย ความเสี่ยงต่ำ ความคล่องต..
81,650
เนสท์เล่ ปูพรมร้านไอศกรีมลงทุนเอื้ออาทร สานฝันคน..
77,807
ปั่นแหลก น้ำผลไม้สด แซงโค้งเข้าวินสร้างอาชีพ
76,558
“เคพีเอ็นพลัส” แฟรนไชส์อะไหล่มอ’ไซด์ ลั่นขยาย100..
55,082
ดาวเด่นแฟรนไชส์มาใหม่
ดาวเด่นแฟรนไชส์อื่นในหมวด