ดาวเด่นแฟรนไชส์    สร้างอนาคตด้วยการเป็นแฟรนไชส์ ระดับอินเตอร์ กับ Sub Way
6.5K
16 มีนาคม 2558
สร้างอนาคตด้วยการเป็นแฟรนไชส์ ระดับอินเตอร์ กับ Sub Way



 
ไมเคิล เจ อัลลัน  เป็นแฟรนไชส์ซี่ของซับเวย์คนหนึ่ง และเป็น Development Agent หรือ ตัวแทนพัฒนาแฟรนไชส์ในประเทศไทยด้วย ซึ่งเขาเป็นผู้ที่มีเรื่องราวการเป็นผู้ประกอบการ ที่ประสบความสำเร็จในเมืองไทย เมื่อเขาเปิดร้านซับเวย์ร้านแรกบนถนนสีลม เมื่อเดือนกรกฏาคม ปี 2546  โดยมีเป้าหมาย ที่จะขยายร้านต้นแบบ 10 แห่งภายในเวลา 5 ปี  แต่ทว่าร้านซับเวย์เกิดขึ้น เกินกว่าเป้าหมายที่วางไว้ ทุกวันนี้ มีร้านซับเวย์ 54 สาขาในประเทศไทย

ประวัติความเป็นมาของไมเคิล อัลลัน คือ เป็นพนักงานบริษัท ประกันชีวิต John Hancock Life  ในปี 2511 เขาได้ทำงานในแผนกระหว่างประเทศที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่ เพราะว่าเขาชอบทำในสิ่งใหม่ๆที่มีความท้าท้ายใหม่ๆเข้ามา  เขาได้รับมอบหมายให้ไปทำงานที่สิงคโปร์ 3 เดือน ในปี 2537 จนกระทั่งปีต่อมา  เขาได้เข้ามาทำงานในประเทศไทย   ไมเคิลได้ค้นพบที่ซึ่งเขาต้องการจะตั้งหลักปักฐาน ไมเคิลกลับมาประเทศไทยในปี  2538 เขาหลงใหลใน

ผู้คนและวัฒนธรรมที่เขาอยู่มาตลอด 4 ปี จนกระทั่งเขาเกษียญอายุงานจากบริษัท John Hancock Life  และกลับไปที่ New Hampshire และฝันว่าจะสร้างธุรกิจของตัวเอง ในฤดูร้อนปี 2545 เขาเริ่มค้นหาธุรกิจแฟรนไชส์  ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่า ธุรกิจ แฟรนไชส์เป็นธุรกิจที่จะลดความเสี่ยงในการลงทุน

 

ซับเวย์ มาถูกที่ถูกเวลา

จากการศึกษาวิจัยของเขา  เขาตัดสินใจว่า ซับเวย์คือแบรนด์ที่ใช่ และที่เขาจะลงทุน  ถึงแม้ว่าเขาจะไม่มีประสบการณ์ ด้านธุรกิจร้านอาหารมาก่อนก็ตาม เขาพูดติดตลกว่า  ถ้าใครก็ตามที่ขายประกันได้ ก็ควรจะขายแซนด์วิชได้

ไมเคิล ได้เดินทางไปที่ซับเวย์สำนักงานใหญ่ ใน Milford รัฐ Connecticut  และพูดคุยกับผู้จัดการแฟรนไชส์ภาคพื้นเอเชีย เกี่ยวกับแรงบันดาลใจของเขาที่ต้องการจะเปิดซับเวย์ในประเทศไทย  ทำให้เขาได้รู้ว่ามีร้านซัเวย์เปิดอยู่แล้วในไทย 3 แห่ง ในปี 2539  แต่ทั้งหมดก็ล้มเหลวภายใน 1 ปี  เพราะสาเหตุมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน รวมทั้งการบริหารจัดการที่ไม่ดีพอ และโชคไม่อำนวย

ในเวลาเดียวกัน การอนุมัติสิทธิ์การเปิดแฟรนไชส์ซับเวย์ในเขตประเทศไทยต้องมาจากสิงคโปร์ ซึ่งเป็นที่ที่ซับเวย์ประสบความสำเร็จมาแล้ว  การเลือกสถานที่เปิดซับเวย์ในครั้งนั้น ไม่ได้รับความสนใจ จากนัก ท่องเที่ยว และ ชาวต่างชาติที่ทานแซนด์วิชมากกว่าคนไทย และการนำเข้าวัตถุดิบทุกอย่าง ทำให้ต้นทุนสูงมาก 

รวมทั้งเกิดวิกฤตทางการเงินในไทยที่เกิดขึ้นในปี  2540 ผู้จัดการแฟรนไชส์บอกเขาว่า ซับเวย์กำลังมองหาตัวแทนตัวแทนพัฒนาธุรกิจในประเทศไทย ที่มีประวัติความสำเร็จที่นี่ มาเป็นผู้ดูแลพัฒนาธุรกิจในอาณาเขตนี้ เพราะซับเวย์ไม่ต้องการที่จะผิดพลาดซ้ำอีกเหมือนการเข้ามาในตลาดไทยครั้งแรก


 
 
การเปิดซับเวย์ในไทย มีเหตุผลที่ดึงดูดใจหลายอย่าง คือ


การลงทุนขนาดเล็ก ประมาณ 100,000-120,000 เหรียญ หรือ ประมาณ 3,500,000 บาท หลังจากที่วิจัย และได้ถกปัญหาพูดคุยกับเจ้าของแฟรนไชส์ในสิงคโปร์แล้ว   เขาสรุปได้ว่า แม้ว่าอยู่ในสถานการณ์ที่แย่ที่สุด เขาก็ยังจะได้รับ ผลตอบแทนจากการลงทุนกลับมาที่สูงกว่า

การลงทุนในหุ้นและพันธบัตร ที่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ เขารักแซนด์วิชซับเวย์ (ทุกครั้งที่เขาได้เดินทางกลับไป ใช้ชีวิตช่วงขณะหนึ่งในอเมริกานั้น  สิ่งแรกสุดเขาต้องกระทำ  คือไปร้านซับเวย์) นอกจากนี้แล้ว  ซับเวย์ยังมีระบบการทำงานที่ง่ายมาก  การก่อสร้างร้านไม่ยุ่งยากมากนัก เพราะร้านซับเวย์ไม่จำเป็นต้องมี

อุปกรณ์ครัวขนาดใหญ่  ไมเคิลสามารถที่จะอนุมัติทำเลของร้านที่ยืดหยุ่นได้มาก เช่น การเปิดซับเวย์ในสนามบินสุวรรณภูมิ ใช้พื้นที่เพียง 20 ตารางเมตรเท่านั้น ซึ่งยังคงอยู่ในระหว่างเจรจา ซับเวย์คิดเพียงค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ และค่ารอยัลตี้เท่านั้น ไม่จำเป็นต้องซื้ออุปรณ์จากซับเวย์ เพียงแต่ว่าอุปกรณ์ที่สั่งซื้อ ต้องได้รับการอนุมัติจากซับเวย์ แฟรนไชส์ซี่ ยังสามารถตั้งราคาขายเองได้ และร่วมกันตัดสินใจว่าจะใช้งบประมาณการทำการโฆษณาอย่างไร

และในที่สุด วิธีการที่ซับเวย์ให้ เขาเป็นบริษัทตัวแทนพัฒนาธุรกิจโดยใช้คอนเซ็ปท์จากอเมริกา แต่สามารถประยุกต์กับต่างประเทศได้ด้วยนั้น เป็นสิ่งที่โดนใจเขาเป็นอย่างยิ่ง

ไมเคิล ได้พบกับ ผู้บริหารสำนักงานใหญ่ ของภูมิภาคนี้ในสิงคโปร์ ผู้ซึ่งมีความประทับใจในประสบการณ์ และความรู้เกี่ยวกับประเทศไทย ของไมเคิล ผู้บริหารสำนักงานใหญ่ภูมิภาคเอเซีย มีความมั่นใจในความสามารถของไมเคิลว่า มีเพียงพอ และขอให้เขาให้คำมั่นในการเป็นสำนักงานตัวแทน ของประเทศไทย ในปลายปี 2545 ไมเคิลซื้อแฟรนไชส์ร้านแรก  ที่ถนน

สีลม และเปิดร้านในเดือนกรกฎาคม 2546  เขาใช้เวลา 6 เดือน เพื่อพิสูจน์ตัวเองถึงการเป็นแฟรนไชส์ซี่ที่ดีของเขา  และในปลายปี 2546 เขาก็ได้กลายเป็นสำนักงานตัวแทน พัฒนาธุรกิจ เป็น ศูนย์กลางของประเทศไทยและภูมิภาคตะวันออกด้วย

 

การพัฒนาแบรนด์

ถึงแม้ว่า ไมเคิลพบว่า เขาได้รับการตอบแทน ในการเป็นสำนักงานตัวแทนนั้น มันใช้เวลามากขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้ในตอนแรก ปัจจจุบันนี้ยังไม่มีสำนักงานตัวแทนพัฒนาซับเวย์ที่ภาคเหนือและภาคใต้ของไทย ซึ่งนั่นหมายความว่า เขาคือผู้รับผิดชอบภาคนี้เช่นเดียวกัน ซึ่งก็หมายความว่า ไมเคิล คือผู้พัฒนา และรักษาแบรนด์ซับเวย์ ในประเทศไทย

รวมไปถึง เป็นผู้จัดเตรียมการเปิดร้านใหม่ๆ ในทำเลใหม่ๆ   และทำงาน ร่วมกับซัพพลายเออร์, กำหนดราคาขาย และ รักษามาตรฐานของแบรนด์ด้วยส่วนผสมหลักของเมนูซับเวย์นั้นมาจากซัพพลายเออร์ในประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตาม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำเข้าสินค้าหลักบางรายการ รวมไปถึงเนื้ออกไก่งวง

จากอเมริกา  เนื้อวัวจากออสเตเรีย ชีส และ ขนมปังแช่แข็งจากนิวซีแลนด์  ต้องขอบคุณเขตการค้าเสรี ที่มีการตกลงระหว่าง นิวซีแลนด์ และไทย ทำให้ซับเวย์ สามารถสลับการนำเข้าขนมปัง มาจากนิวซีแลนด์เบเกอรี่ ที่ซึ่งมีร้านซับเวย์  1,200 สาขา ในออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์  ที่มีการผลิตขนมปังจำนวนมาก นั่นหมายความว่า แฟรนไชส์ซี่จะได้ขนมปังในราคาที่ดีกว่า

แม้ว่า การตั้งราคาเป็นจุดสำคัญอย่างหนึ่ง ไมเคิลก็ต้องทำผลงานด้วยกันกับเจ้าของแฟรนไชส์คนอื่นในประเทศไทย เขาเชื่อว่ามันป็นจุดวิกฤต ที่มีราคาหลายรายการที่ต่ำกว่า 100 บาท และไม่มีรายการใดที่เกิน 200 บาท เพื่อที่จะค่อยๆ เพิ่มจำนวนการเติบโตขึ้นของลูกค้าชาวไทย ใน 5 ปี มีครั้งเดียวเท่านั้น ที่ราคาของซับเวย์ได้ขึ้นราคา  โดยปรับราคาของแซนด์วิชฟุตลองเพิ่มขึ้นเพียง 10 บาท อย่างไรก็ตาม  ราคาขายที่เกาะสมุยหรือภูเก็ต จะสูงกว่าทั่วไป  เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่านั่นเอง

เพื่อที่จะปกป้องแบรนด์ และรักษาคุณภาพ  สร้างความปลอดภัย และ สร้างมาตรฐานความสะอาด  ร้านซับเวย์จึงต้องมีการประเมินร้านในทุกๆ เดือน โดยเน้นไปที่จุดต้องการปรับปรุงให้ดีขึ้น และนี่คือองค์ประกอบสำคัญ ของธุรกิจซับเวย์

 

ความท้าท้าย และบทเรียนที่ได้รับ


ถึงแม้ว่าปัญหาความไม่สงบทางการเมืองในไทย จะเกิดในระยะที่ผ่านมา  แต่ซับเวย์ธุรกิจของร้านอาหารซับเวย์มีการเติบโตได้อย่างรวดเร็ว  ไมเคิลมีความมั่นใจว่ายอดขายจะเพิ่มขึ้น เมื่อนักท่องเที่ยว ไหลกลับมาสู่ราชอาณาจักรแห่งนี้  ความไม่แน่นอนทางการเมือง การกำหนดภาษีนำเข้า  คือ อุปสรรคใหญ่ ที่กีดกั้นธุรกิจซับเวย์ในประเทศไทย

ตัวอย่างเช่น ทุกรายการของอาหารที่นำเข้ามาสู่ประเทศไทย จะต้องแยกใบอนุญาตการนำเข้า  การได้ใบอนุญาติก็มีขบวนการที่ยาวนาน  ดังนั้นเมื่อไมเคิล สลับการนำเข้าขนมปังจากมาเลเซีย เป็นนำเข้าจากซัพพลายเออร์ ของนิวซีแลนด์ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์  และใช้เวลาถึงเดือนกันยายนจึงจะได้รับการอนุมัติ

ไมเคิลแนะนำว่าหากท่านใด ที่มีความต้องการที่จะเป็นแฟรนไชส์ซี่ว่า ควรกระทำเช่นเดียวกัน กับการลงทุนอย่างอื่น คือ ตรวจสอบความเป็นไปได้ของผลที่จะได้รับ ก่อนตัดสินใจที่จะลงทุน  การจะเป็นแฟรนไชส์ซี่ที่ประสบความสำเร็จ จะต้องพร้อมที่จะให้เวลา และการเอาใจใส่ในธุรกิจอย่างมาก ไมเคิลมีความคิดว่า การบริหารจัดการมีความสำคัญยิ่งกว่าทำเลที่ตั้งเสียอีก 

มีระยะ เวลา 3-6 เดือน ในการเรียนรู้แนวโน้ม ในการเป็นผู้จัดการร้านซับเวย์  สำหรับบางคนมาเป็นผู้ปฏิบัติงานเเต็มเวลา ก็อาจไม่ใช่ตัวเลือกว่าจะเป็นแฟรนไชส์ซี่ที่ดีได้  เว้นแต่ว่า เพื่อนสนิทหรือสมาชิกในครอบครัวที่ อาจจะถูกทาบทามให้มาช่วยงานในร้านด้วยในระยะแรกๆ

ไมเคิลเป็นคนนำซับเวย์เข้ามาในประเทศไทย  ก็เพราะว่าเขาต้องการอิสระ และให้รางวัลจากความพยายามของเขาเอง  และเมื่อถามเขาว่า อยากทำอะไรที่ต่างไปจากนี้มั้ย  เขาบอกว่า เขาไม่เสียใจเลย  “มันเยี่ยมมากที่ได้เป็นเจ้าของธุรกิจเล็กๆ ”   เขาพูดต่ออีกว่า  “มันช่างเป็นความพอใจมากกว่า และได้รับผลตอบแทนที่ได้ทำงานหนักเพื่อธุรกิจของเราเองมากกว่า ทำให้คนอื่น” 

 

 
ติดต่อที่

Email: allan_m@subway.com/ jeab5735@hotmail.com(thai)
โทร:  02-237-5460   แฟ็ก: 02-237-5461

ใบสมัคร: http://www.subway.com/AdditionalInfoApp/index.aspx

อ้างอิงจาก franchisefocus
ดาวเด่นแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
รวบรวมขนมปัง 20 บาท มาเอาใจคนอยากมีร้าน
157,519
ชานมไข่มุกปลุกตลาด 7 พันล้าน เทรนด์‘ไต้หวันกลับซ..
99,645
กาแฟสด ชาวดอย ลงทุนน้อย ความเสี่ยงต่ำ ความคล่องต..
81,650
เนสท์เล่ ปูพรมร้านไอศกรีมลงทุนเอื้ออาทร สานฝันคน..
77,807
ปั่นแหลก น้ำผลไม้สด แซงโค้งเข้าวินสร้างอาชีพ
76,558
“เคพีเอ็นพลัส” แฟรนไชส์อะไหล่มอ’ไซด์ ลั่นขยาย100..
55,082
ดาวเด่นแฟรนไชส์มาใหม่
ดาวเด่นแฟรนไชส์อื่นในหมวด