ดาวเด่นแฟรนไชส์    "นีโอลูชั่น" ลุยสร้างแบรนด์ ยึดคาถาปรับตัวตลอดเวลารักษาตัวรอด
4.7K
13 พฤษภาคม 2557
"นีโอลูชั่น" ลุยสร้างแบรนด์ ยึดคาถาปรับตัวตลอดเวลารักษาตัวรอด



 
ในช่วงที่ตลาดไอทีไม่สดใสนัก ทำให้ผู้ประกอบการในทุกระดับ ตั้งแต่ผู้ผลิตถึงร้านค้าปลีกต้องปรับตัวไปตาม ๆ กัน ยิ่งมาเจอกับเศรษฐกิจชะลอตัวจากปัญหาการเมืองและกำลังซื้อที่ถดถอยลง ไม่ใครก็ใคร ไม่มากก็น้อยย่อมได้รับผลกระทบ "นีโอลูชั่น" พัฒนาตนเองจากผู้จัดจำหน่ายเคสคอมพิวเตอร์พีซี มาเป็นดิสทริบิวเตอร์สินค้าไอทีแบรนด์ต่าง ๆ เปิดแฟรนไชส์อินเทอร์เน็ตคาเฟ่ และปลุกปั้นแบรนด์เกมมิ่งเกียร์ของตนเอง ภายใต้ชื่อ "นีโอลูชั่น อี-สปอร์ต" เรียกว่ามีการเปลี่ยนแปลงตนเองตลอดเวลา
 
"เสถียร บุญมานันท์" กรรมการผู้จัดการ บริษัท นีโอลูชั่น เทคโนโลยี คอร์ปอเรชั่น จำกัด
  • ธุรกิจของนีโอลูชั่นปัจจุบันมีอะไรบ้าง
มี 4 บริษัท ได้แก่ บริษัทนีโอลูชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล ทำหน้าที่นำแบรนด์นีโอลูชั่น อี-สปอร์ตไปทำตลาดในต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย และเวียดนาม, บริษัทนีโอลูชั่น อี-สปอร์ตจำหน่ายสินค้าและทำกิจกรรมการตลาดในประเทศไทย รวมถึงดูแลแฟรนไชส์อินเทอร์เน็ตคาเฟ่ ปัจจุบันมี 30 สาขา, บริษัทนีโอลูชั่น อิมพอร์ต-เอ็กซ์ปอร์ต เป็นดิสทริบิวเตอร์สินค้าไอทีในพม่า, ลาว และเปิดในกัมพูชาไตรมาส 3 และบริษัทนีโอลูชั่น เทคโนโลยี คอร์ปอเรชั่น เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าไอทีและอุปกรณ์เสริมมือถือ (แบรนด์ไอโซนิค) แบรนด์ไอโซนิค
  • แผนธุรกิจในปีนี้
จะเปิดตัวแบรนด์ใหม่ 2 แบรนด์ในไตรมาส 1 เป็นแบรนด์อุปกรณ์เสริมคอมพิวเตอร์ และแบรนด์ลำโพง ทั้งเตรียมนำสมาร์ทวอทช์และฟิตเนสแบรนด์ภายใต้แบรนด์ไอโซนิคเข้ามาทำตลาดภายในไตรมาส 2 เราพยายามเพิ่มสัดส่วนรายได้จากอุปกรณ์เสริมโทรศัพท์มือถือให้มากขึ้น เพราะเป็นตัวผลักดันการเติบโตแทนผลิตภัณฑ์ไอที ปีที่แล้วสัดส่วนรายได้มาจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 65% อีก 30% มาจากอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ และการเป็นดิสทริบิวเตอร์ในต่างประเทศ ขณะที่รายได้จากอุปกรณ์เสริมมือถือยังมีสัดส่วนแค่ 5% แต่ปีนี้อยากเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ไอทีและเน็ตคาเฟ่ 50% จากอุปกรณ์เสริมมือถือ 20-30% จากธุรกิจต่างประเทศ 20%
 
แผนระยะยาวคือตั้งแผนกอาร์แอนด์ดี ทำผลิตภัณฑ์ของตนเอง เนื่องจากปัจจุบันเป็นแค่แบรนด์ "โออีเอ็ม" จากจีน แต่การทำอาร์แอนด์ดีได้คงต้องรอให้ออกไปทำตลาดได้อย่างน้อย 7-8 ประเทศ ก่อน ที่อยากมีอาร์แอนด์ดีเองเพราะต้องการเข้าไปในจีน ญี่ปุ่น และอินเดีย การจะเข้าไปได้สินค้าต้องมีฟีเจอร์ที่แตกต่าง มีการสร้างแบรนด์ที่ดี เหมือนเกมมิ่งเกียร์ "เรเซอร์" ที่ใช้งบประมาณไปกับการตลาด และอาร์แอนด์ดีเยอะมาก เพราะใช้ราคาสู้อย่างเดียวถึงจุดหนึ่งจะไปต่อไม่ได้

 
  • ทำไมหันมาทำแบรนด์นีโอลูชั่น อี-สปอร์ต
เหตุผลแรกคือเกมมิ่งเกียร์ต่างประเทศ ซึ่งเราเป็นตัวแทนจำหน่ายให้ (โลจิเทค, ร็อคแคท) ไม่เข้าใจว่าจะตีตลาดในไทยต้องสร้างแบรนด์ ทำให้เราต้องใช้งบประมาณของตนเองเพื่อสร้างแบรนด์ให้เขา ผลดีเลยตกไปที่เขา แต่เราไม่มีเลย คิดว่าเอางบประมาณมาสร้างแบรนด์ตนเองดีกว่า 
 
เหตุผลถัดมาคือ เกมมิ่งจากต่างประเทศที่เรามีไม่สามารถใช้แข่งขันกับคู่แข่งได้ ทำให้เกิดความคิดว่า ถ้าทำแบรนด์ของตนเองเน้นจับตลาดคนละกลุ่มไปเลยดีกว่า เหตุผลสุดท้ายคืออยากโฟกัสแบรนด์เดียวให้ประสบความสำเร็จเพื่อใช้ตีตลาดต่างประเทศ
 
การที่เรามาทำแบรนด์ของตนเองยังทำให้เรานำมูลค่าแบรนด์ไปต่อยอดธุรกิจอื่นได้ เช่น นำไปต่อยอดกับร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ และทำให้ขยายการทำตลาดได้แบบไม่มีขีดจำกัด จะนำสินค้าเข้าไปขาย ในตลาดประเทศใดก็ได้ ทั้งผลตอบแทนทางธุรกิจก็ชัดเจน ส่วนความท้าทายคือเราต้องสร้างแบรนด์ให้ขายได้ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ซึ่งพฤติกรรมของลูกค้าแต่ละประเทศจะต่างกันไป แม้ตอนนี้ พม่าจะตอบรับสินค้าของเราดี แต่ในลาวยังไม่ค่อยเห็นภาพชัด ส่วนสิงคโปร์ก็ยังไม่ดีนัก
  • จุดเด่นของนีโอลูชั่น
นีโอลูชั่นอายุ 8 ปีแล้ว เราอยู่ในธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงเร็ว ดังนั้นหากไม่เปลี่ยนตามตลาดจะได้รับผลกระทบ จุดเด่นของเราคือค่อนข้างคาดการณ์ถูกว่าตลาดกลุ่มไหนจะเติบโตในอนาคต นอกจากนี้ การที่เราสร้างแบรนด์เองขึ้นมายังช่วยให้ไม่ต้องอยู่ในช่วงขาลงเหมือนคู่แข่ง ทั้งสินค้าของเรายังมีความครอบคลุมและสามารถเสริมธุรกิจหลักเกี่ยวกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี
 
 
  • เทรนด์ที่น่าสนใจปีนี้
ตลาดแวเรเบิลดีไวซ์น่าจะโตขึ้นเรื่อย ๆ และเริ่มเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ซึ่งร้านจำหน่ายสมาร์ทโฟนขณะนี้ต้องมีมุมหนึ่งมีผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ และในอนาคตอาจเป็นส่วนประกอบหลักในตลาดอุปกรณ์เสริมมือถือ เทรนด์คนไทยนิยมออกกำลังมีให้เห็นมากขึ้น คนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อและห่วงสุขภาพ ดังนั้นสินค้าอะไรก็ตามที่ตอบสนองไลฟ์สไตล์เพื่อสุขภาพจะขายดี ถึงแม้ในแง่ฐานลูกค้าส่วนใหญ่จะยังอยู่ในกรุงเทพฯและเมืองใหญ่ แต่เชื่อว่าคนไทยตอบรับเทรนด์ใหม่เร็วอยู่แล้ว 
 
นอกจากนี้ โดยส่วนตัวยังไม่เห็นมีแบรนด์ไหนในประเทศไทยที่เข้ามาทำตลาดนี้อย่างจริงจังจะมีก็แต่แบรนด์ตัวแทนจำหน่ายนำเข้ามาอย่างวาฮูหรือฟิตบิต ตลาดแวเรเบิลดีไวซ์ยังต่อยอดไปในกลุ่มอุปกรณ์เสริมเพื่อเล่นกีฬาอื่น ๆ เช่น ตัววัดข้อมูลที่ติดตั้งบนอุปกรณ์กีฬาหรือกล้องสำหรับนักปั่นจักรยาน เป็นต้น
  • ผลกระทบจากการเมือง
เรื่องแรกคือ ทำให้ผู้บริโภคไม่มีกำลังซื้อ เชนสินค้าไอทีที่รับของจากเราไปก็ลำบาก เกิดปัญหากับกระแสเงินสด เรื่องที่ 2 คือ ค่าเงินบาทที่อ่อนตัวทำให้ต้องซื้อสินค้าจากต่างประเทศในราคาแพงขึ้น ส่งผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันลดลงไปด้วย 
 
ตลาดอุปกรณ์เสริมมือถือยอดขายลดลง 20-30% ตั้งแต่ต.ค.ปีก่อน แต่กลุ่มสินค้าเกมมิ่งเกียร์และแวเรเบิลดีไวซ์ไม่ได้รับผล กระทบเท่าไร กลุ่มลูกค้ามีกำลังซื้อ ส่วนกลุ่มร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ นีโอลูชั่น อี-สปอร์ตไม่ได้รับผลกระทบ ยังมีคนเข้ามาติดต่อขอทำแฟรนไชส์เดือนละ 2-3 ราย

อ้างอิงจาก ประชาชาติธุรกิจ
ดาวเด่นแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
รวบรวมขนมปัง 20 บาท มาเอาใจคนอยากมีร้าน
157,520
ชานมไข่มุกปลุกตลาด 7 พันล้าน เทรนด์‘ไต้หวันกลับซ..
99,645
กาแฟสด ชาวดอย ลงทุนน้อย ความเสี่ยงต่ำ ความคล่องต..
81,650
เนสท์เล่ ปูพรมร้านไอศกรีมลงทุนเอื้ออาทร สานฝันคน..
77,807
ปั่นแหลก น้ำผลไม้สด แซงโค้งเข้าวินสร้างอาชีพ
76,558
“เคพีเอ็นพลัส” แฟรนไชส์อะไหล่มอ’ไซด์ ลั่นขยาย100..
55,082
ดาวเด่นแฟรนไชส์มาใหม่
ดาวเด่นแฟรนไชส์อื่นในหมวด