ดาวเด่นแฟรนไชส์    ไอศกรีมสไตล์ญี่ปุ่นสุดคึก ชิบูย่า ซอฟท์ ปั้นแบรนด์เจาะวัยใส
12K
31 สิงหาคม 2558
ไอศกรีมสไตล์ญี่ปุ่นสุดคึก ชิบูย่า ซอฟท์ ปั้นแบรนด์เจาะวัยใส


( ภาพจาก FB : Shibuya Soft )

เป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยม เมื่อคนรุ่นใหม่ต้องการมีธุรกิจเป็นของตัวเองเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะธุรกิจอาหาร ร้านขนม ที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษ จึงไม่แปลก ถ้าจำนวนนักธุรกิจหน้าใหม่ ดารา-นักแสดง เซเลบริตี้ จะทยอยซื้อลิขสิทธิ์แฟรนไชส์ร้านขนมหวานแบรนด์ดังจากต่างประเทศ รวมถึงพัฒนาและสร้างแบรนด์เป็นของตัวเอง เข้ามาสร้างสีสันให้แก่ผู้บริโภคไทย

"ภานุวัจน์ ทองร่มโพธิ์" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชิบูย่า ซอฟท์ จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจร้านไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟแบรนด์ "ชิบูย่า ซอฟท์" กล่าวว่า ตลาดไอศกรีมในไทยมีมูลค่าค่อนข้างสูง และยังมีโอกาสขยายตัวอีก โดยเฉพาะกลุ่มไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟที่ราคาไม่แพง จับต้องได้ ก็กลายเป็นโอกาสที่สำคัญของแบรนด์ใหม่ ๆ

แม้ว่าตลาดไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟจะมีแบรนด์ใหญ่ เช่น แดรี่ ควีน, เคเอฟซี, แมคโดนัลด์ หรือแบรนด์จากญี่ปุ่น ครองส่วนแบ่งก้อนใหญ่อยู่ แต่ตลาดนี้ก็มีโอกาสซ่อนอยู่

หากพิจารณาจากราคา 10-29 บาท พบว่า เคเอฟซี, แมคโดนัลด์ ครองตลาดนี้อยู่ ขณะที่ราคา 100 บาทขึ้นไป ก็เป็นพื้นที่ของแบรนด์ไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟจากญี่ปุ่น ทำให้ตลาดระดับกลางเป็นช่องว่างและโอกาสของแบรนด์ใหม่

ด้วยโอกาสที่เกิดขึ้น บริษัทได้พัฒนาแบรนด์ "ชิบูย่า ซอฟท์" ไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟสไตล์ญี่ปุ่น เจาะกลุ่มผู้บริโภคระดับกลาง วัยรุ่น วัยทำงาน วางราคาตั้งแต่ 29-59 บาท


( ภาพจาก FB : Shibuya Soft )

ส่วนคอนเซ็ปต์ร้านชัดเจนว่า ชูความเป็นญี่ปุ่น ด้วยชื่อแบรนด์ วัตถุดิบที่เน้นการนำเข้าจากญี่ปุ่น การตกแต่งที่คงกลิ่นอายของร้านขนมหวานในเมืองชิบูย่า ญี่ปุ่น ที่เป็นร้านเล็ก ๆ ตกแต่งน่ารัก เพื่อให้ภาพลักษณ์ทั้งหมดสอดคล้องไปกับแบรนด์

"แม้ "ชิบูย่า ซอฟท์" จะเป็นแบรนด์น้องใหม่ที่เพิ่งทำตลาด แต่ก็มีโอกาสเติบโตอีกมาก ทั้งในแง่ยอดขาย และการขยายสาขา เนื่องจากตลาดไอศกรีมในไทยยังเติบโตได้อีก"

เขาเล่าย้อนกลับไปถึงการตัดสินใจสร้างแบรนด์ร้านไอศกรีมขึ้นมาเอง แทนการซื้อลิขสิทธิ์ร้านจากต่างประเทศว่า ข้อดีของการซื้อแฟรนไชส์จากต่างประเทศ คือ ไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาสูตร แต่เลือกจะพัฒนาแบรนด์ขึ้นเองมากกว่า เพราะจะได้เรียนรู้ เปิดประสบการณ์ใหม่ ๆ ได้ทำ ได้ทดลอง พัฒนาทุกอย่างขึ้นมาด้วยตัวเอง

"เมื่อตัดสินใจจะสร้างแบรนด์ร้านไอศกรีม ต้องใช้เวลาพัฒนาทุก ๆ ส่วน ขั้นตอนที่ยากที่สุด คือ พัฒนาสินค้า ซึ่งใช้เวลาพอสมควร ทั้งทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์ หาวัตถุดิบให้ได้รสชาติที่ดีที่สุด ในราคาที่ไม่แพง ทั้งหมดเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2556 ก่อนที่ทุกอย่างจะลงตัว และเปิดสาขาแรกที่ เมญ่า เชียงใหม่ เมื่อต้นปี 2557 ซึ่งก็ได้รับผลตอบรับที่ดีจากผู้บริโภค"


( ภาพจาก FB : Shibuya Soft )

ปัจจุบันมี 4 สาขา ได้แก่ เมญ่า เชียงใหม่, เดอะมอลล์ ท่าพระ, แหลมทอง ระยอง และเอ็มบีเคเซ็นเตอร์ แต่ละสาขามีพื้นที่เฉลี่ย 12-18 ตร.ม. ลงทุนประมาณ 600,000-900,000 บาทต่อสาขา

ขณะที่เป้าหมายการขยายสาขานั้น จะไปกับศูนย์การค้าเป็นหลัก แต่ไม่เร่งเปิดสาขาจำนวนมาก ๆ ถ้ามีทำเล ราคาค่าเช่าที่เหมาะสม ก็พร้อมจะขยาย ส่วนอนาคตจะขายแฟรนไชส์หรือไม่นั้น ยังให้รายละเอียดตอนนี้ไม่ได้ เพราะต้องการให้แบรนด์ "ชิบูย่า ซอฟท์" แข็งแรงก่อน

"การขายแฟรนไชส์คงยังไม่เกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ เพราะต้องการพัฒนาอะไรใหม่ ๆ รวมถึงต้องการตอบโจทย์ผู้บริโภคให้ได้มากกว่านี้ ซึ่งแฟรนไชส์ คือ ตัวต่อยอดธุรกิจที่ดี ถ้ามีโอกาสที่เหมาะสมก็คงไปแน่นอน"

อ้างอิงจาก ประชาชาติธุรกิจ
ดาวเด่นแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
รวบรวมขนมปัง 20 บาท มาเอาใจคนอยากมีร้าน
158,369
ชานมไข่มุกปลุกตลาด 7 พันล้าน เทรนด์‘ไต้หวันกลับซ..
99,848
กาแฟสด ชาวดอย ลงทุนน้อย ความเสี่ยงต่ำ ความคล่องต..
82,076
เนสท์เล่ ปูพรมร้านไอศกรีมลงทุนเอื้ออาทร สานฝันคน..
78,094
ปั่นแหลก น้ำผลไม้สด แซงโค้งเข้าวินสร้างอาชีพ
76,625
“เคพีเอ็นพลัส” แฟรนไชส์อะไหล่มอ’ไซด์ ลั่นขยาย100..
55,445
ดาวเด่นแฟรนไชส์มาใหม่
ดาวเด่นแฟรนไชส์อื่นในหมวด