ดาวเด่นแฟรนไชส์    กาแฟดอยช้าง กาแฟไทยที่อยู่คู่กับชุมชน
3.7K
27 มิถุนายน 2559
กาแฟดอยช้าง กาแฟไทยที่อยู่คู่กับชุมชน

  
"กล่าวได้ว่า"กาแฟดอยช้าง" เป็นแบรนด์กาแฟไทยที่คอกาแฟรู้จักดีทั่วโลก และสำหรับคนที่นั่น นี่คือการ"เปลี่ยน"จากการปลูกฝิ่นมาปลูกกาแฟกล่าวได้ว่า "กาแฟดอยช้าง" เป็นแบรนด์กาแฟไทยที่คอกาแฟรู้จักดีทั่วโลก
 
"พิษณุชัย แก้วพิชัย" ประธานที่ปรึกษา บริษัท ดอยช้าง คอฟฟี่ ออริจินอล จำกัด เล่าว่า ที่ดอยช้าง บริษัทไม่ได้ทำกาแฟ หากแต่อยู่ร่วมกับชาวบ้าน เป็น"ชุมชนกาแฟ" ที่ให้ชาวบ้านในดอยช้างทุกคนสามารถแวะมากินฟรี เพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของคนที่ร่วมกันสร้างกาแฟดอยช้างให้โลกรู้จัก
 
สำหรับคนที่นั่น นี่คือการ"เปลี่ยน"จากการปลูกฝิ่นมาปลูกกาแฟ
 
"ในอดีต ดอยช้างไม่มีใครรู้จัก รู้จักแต่สามเหลี่ยมทองคำ" พิษณุชัยกล่าวและว่า กาแฟ เป็นหนึ่งใน"พืชเมืองหนาว"ที่ชาวดอยช้างปลูกตามแนวนโยบายพระราชดำริของในหลวงเมื่อปี 2512 ที่ให้ประชาชนชาวเขาหันมาปลูกพืชเมืองหนาวอื่นแทนการปลูกฝิ่น
 

สำหรับ "ดอยช้าง" การปลูกกาแฟก็เป็นเหมือน"ลองผิดลองถูก" เพราะทั้งคนทำและคนริเริ่ม โดยเมื่อเกษตรกรชาวเขาปลูกกาแฟ ก็จะมีพ่อค้าคนกลางมาซื้อในราคากิโลกรัมละประมาณ 10 บาท แต่นำลงไปขายในตลาดในเมือง กลับขายในราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 50-60 บาท ทำให้กลุ่มคนที่ร่วมกันมองและคิดตรงกันว่าน่าจะทำเอง เพื่อให้ชาวบ้านที่เป็น"ผู้ปลูก" มาทำตัวเป็น"ผู้ชาย" ถึงมือ"ผู้ซื้อ" และ"ผู้บริโภค"
 

 
"เราตั้งใจจะพัฒนาเพื่อส่งกาแฟไปถึงผู้บริโภค ซึ่งทำให้เราขายได้ราคา ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น" ปณชัย พิสัยเลิศ หรือ อาเดล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดอยช้าง คอฟฟี่ ออริจินอล จำกัด ให้ข้อมูลเสริม
 
พิษณุชัยซึ่งแม้จะไม่มีประสบการณ์หรือความรู้เกี่ยวกับกาแฟ ให้ข้อมูลเสริมว่า วิธีคิดตอนเริ่มสร้างแบรนด์"ดอยช้าง"ก็คือ From Earth To Cup โดยเขียนแผนธุรกิจความถนัดของเขา ตั้งแต่ 5 ปีแรกจะทำอย่างไร 5 ปีหลังจะทำอย่างไร แผนธุรกิจ"จากดินสู้ถ้วย"ของดอยช้าง จะทำให้กาแฟไทยอยู่ตรงไหนในตลาดกาแฟโลก
 
แนวคิดของพิษณุชัยก็คือ ด้วยความที่เคยเรียนรู้และทำธุรกิจเกี่ยวกับไวน์ จึงต้องการให้"กาแฟดอยช้าง" ทำธุรกิจแบบไวน์ คือมี"เกรด"ในระดับสูงที่คนซื้อไม่รู้จักคำว่า"แพง" หากสามารถทำกาแฟดอยช้างให้เป็นการแฟระดับพรีเมียม
 
"คนกินข้าวจานละ 15 บาทบ่นว่าแพง แต่กาแฟแก้วละ 20 ไม่มีใครบ่น" พิษณุชัยกล่าวเปรียบเทียบ
 
10 กว่าปีนับจากปี 2546 ที่เริ่มพัฒนาอย่างจริงจังในการเข้าสู่ตลาดโลกถือว่า"ดอยช้าง"สามารถยกระดับตัวเองขึ้นมาสำเร็จ โดยได้รับรางวัลในการประกวดมากมายหลายรางวัล ทำให้ถึงวันนี้ บนดอยช้าง ในวันนี้ มีเกษตรกรร่วมปลูกกาแฟกว่า 30,000 ไร่ จากที่เริ่มประมาณ 500 ไร่ และมีเกษตรกรได้รับประโยชน์เพิ่มเป็นกว่า 1,000 ครัวเรือน หรือนับหมื่นชีวิต โดยแต่ละครัวเรือนจะมีพื้นที่ปลูกเฉลี่ย 10 ไร่ สร้างรายได้ 35,000-50,000 บาทต่อไร่
 

ที่สำคัญก็คือ กาแฟดอยช้างไม่ได้หยุดแค่"ประเทศไทย" โดยถึงวันนี้ มีการขยายแฟรนไชส์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งในจีน เกาหลีใต้ ยุโรป แคนาดา มาเลเซีย สิงคโปร์ ลาว และพม่า กว่า 300 สาขา และมีเป้าหมายเพิ่มเป็น 500 สาขาทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งมีมัลดีฟส์และอินเดียเป็น 2 เป้าหมายหลัก รวมทั้งเจรจขาร่วมทุนกับต่างประเทศ

พร้อมได้ทำแผนไปขอสนับสนุนทางการเงินไปที่สถาบันการเงิน โดยมีบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็นผู้ค้ำประกัน โดยยังยึดหลักว่าไม่ได้ต้องการ"กำไร"หากแต่"เป้าหมาย" ยังคงเป็นเช่นเดียวกับที่ทำมานานนั่นคือ
  1. สังคมมีส่วนร่วม
  2. ปลูกป่าและได้ป่ากลับมา
  3. สร้างความภาคภูมิใจในความเป็นชนเผ่า
  4. สร้างชื่อ"ดอกช้าง"ให้โลกรู้จัก
ใครที่ดื่ม"กาแฟไทย"ที่ชื่อ"ดอยช้าง" จึงไม่ได้หมายถึงแค่การดื่มกาแฟระดับพรีเมียมของโลก หากแต่ยังถือเป็นการคืนกำไรสู่สังคม "
 
อ้างอิงจาก  nationtv.tv
ดาวเด่นแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
รวบรวมขนมปัง 20 บาท มาเอาใจคนอยากมีร้าน
156,875
ชานมไข่มุกปลุกตลาด 7 พันล้าน เทรนด์‘ไต้หวันกลับซ..
99,390
กาแฟสด ชาวดอย ลงทุนน้อย ความเสี่ยงต่ำ ความคล่องต..
81,179
เนสท์เล่ ปูพรมร้านไอศกรีมลงทุนเอื้ออาทร สานฝันคน..
77,426
ปั่นแหลก น้ำผลไม้สด แซงโค้งเข้าวินสร้างอาชีพ
76,427
“เคพีเอ็นพลัส” แฟรนไชส์อะไหล่มอ’ไซด์ ลั่นขยาย100..
54,590
ดาวเด่นแฟรนไชส์มาใหม่
ดาวเด่นแฟรนไชส์อื่นในหมวด