ดาวเด่นแฟรนไชส์    นมไทย-เดนมาร์ค ปั้น “Milk Land” ปูพรมเปิดสาขาทั่วประเทศ เทียบช...
9.2K
26 ธันวาคม 2561
นมไทย-เดนมาร์ค ปั้น “Milk Land” ปูพรมเปิดสาขาทั่วประเทศ เทียบชั้น “คาเฟ่ อเมซอน”
 
ภาพจาก : https://web.facebook.com/MilkLandTH
 
ได้เวลาที่ “นมวัวแดง” หรือชื่อตราสินค้าอย่างเป็นทางการ “ไทย-เดนมาร์ค” แบรนด์นมพร้อมดื่มเก่าแก่ของไทย อยู่ในตลาดมานานกว่า 56 ปี ขอลุกขึ้นมาปั้นร้านขายนมภายใต้ชื่อ “Milk Land” หวังเทียบชั้น “อเมซอน” ที่สามารถขยายสาขาไปทั่วประเทศ
 
“Milk Land” มีที่มาจากการที่ “ไทย-เดนมาร์ค” อยากมีสถานที่รับรองสำหรับผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมโรงงานหลักที่ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี รวมไปถึงไว้เป็นสถานที่ทดสอบสินค้าใหม่ๆ ก่อนนำออกสู่ตลาดจริง โดยเปิดแห่งแรกเมื่อต้นปี 2018 สินค้าที่ขายมีทั้งนมปั่น กาแฟ ชา เค้ก ราคา 35-50 บาทต่อแก้ว และสินค้าภายใต้กลุ่มนมเย็น ได้แก่ นมพาสเจอร์ไรส์ นมเปรี้ยว และโยเกิร์ต
 
 
 
แต่ปรากฏว่าลูกค้าที่เข้ามากินกลับชื่นชอบ และร้านเดิมไม่เพียงพอต่อการให้บริการ จึงได้ขยับมาเปิดอีกสาขาฝั่งตรงข้ามกับสำนักงานของโรงงานมวกเหล็กเช่นเดียวกัน โดยรีโนเวตจากร้านเช่าที่ออกไป พร้อมดึงร้านสเด๊กจากเชฟท้องถิ่นเข้ามาขายคู่กันด้วย ซึ่งนอกจากลูกค้าที่ชอบแล้ว ยังมีนักลงทุนสนใจตัวร้านจึงเริ่มขายเป็นแฟรนไชส์ตั้งแต่นั้น
 
วันนี้ “Milk Land” มีทั้งหมด 6 สาขา ไทย-เดนมาร์คเป็นเจ้าของเอง 3 สาขา โดยสาขาล่าสุดตั้งอยู่ที่ไอคอนสยาม ส่วนอีก 3 สาขาเป็นของแฟรนไชส์อยู่ที่พิษณุโลก ปากช่อง และอยุธยา ปีงบประมาณ 2019 (ตุลาคม 2018 - กันยายน 2019) วางแผนขยาย 40-50 สาขา ตอนนี้มีทำเลที่แน่นอน 10 สาขา
 
 
นโยบายของไทย-เดนมาร์คจะขยายในรูปแบบของแฟรนไชส์ทั้งหมด เพราะไม่อยากลงทุนเองด้วยต้องใช้เงินจำนวนมาก การเลือกแฟรนไชส์จะให้สิทธิ์กับเอเย่นต์ที่ขายนมให้ก่อน เพราะการสั่งสินค้าจะต้องผ่านทางนี้ โดยเอเย่นต์จะแบ่งไปตามภูมิภาค ได้แก่ เหนือ 2 ราย, กลาง 6 ราย​, อีสาน 9 ราย และใต้ 5 ราย หากเอเย่นต์ไม่สนใจก็จะเปิดให้คนอื่นๆ ต่อไป
 
แฟรนไชส์มีให้เลือก 3 โมเดล คือไซต์ S พื้นที่ 20 ตารางเมตร ลงทุน 1.1 ล้านบาท ไซต์ M พื้นที่ 21-24 ตารางเมตร ลงทุน 1.4 ล้านบาท และไซต์ L พื้นที่ 40 ตารางเมตร ลงทุน 1.8 ล้านบาท มีสัญญา 6 ปี คาดคืนทุนใน 3 ปี สินค้าที่ขายนอกจากเป็นแบรนด์ไทย-เดนมาร์ค ยังอนุญาตให้ขายสินค้าอื่นๆ ควบคู่กันไปด้วย แต่ต้องมาถามทางแบรนด์ก่อน
 
ความตั้งใจของไทย-เดนมาร์คอยากให้ “Milk Land” เหมือนอย่าง “อเมซอน” ที่สามารถขยายสาขาไปทั่วประเทศ ในทำเลทั้งปั๊มน้ำมัน ศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน แต่ต่างกันที่ “Milk Land” เน้นขายนมเป็นหลัก โดยสำหรับปปี 2019 ยังถือเป็นปีที่ต้องศึกษาเรียนรู้ก่อน ค่อยติดสปีซขยายสาขาในปีถัดไป
 
นอกจากร้าน “Milk Land” แล้ว ไทย-เดนมาร์คยังมีโมเดลร้านนมอีกร้านชื่อ “Milk Shop” ต่างกันที่ร้านหลัง จะเข้าไปเปิดในสถานศึกษาทั้งโรงเรียนมัธยมและมหาวิทยาลัย อีกทั้งราคาจะถูกกว่าและมีการขายสินค้าอื่นๆ เช่นขนมปังปิ้งซึ่งเป็นที่นิยมของวัยรุ่นเข้ามาด้วย ปัจจุบันมี 9 สาขา โดยรูปแบบเป็นแฟรนไชส์ทั้งหมด
 
 
ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วงศ์สุวรรณ ผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายนมพร้อมดื่ม “ไทย-เดนมาร์ค” กล่าวว่า
 
“การมีร้านทั้ง 2 นอกเหนือจากจะเป็นช่องทางการหารายได้ใหม่แล้ว ยังเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยสร้างแบรนด์อะแวร์เนสไปสู่ผู้บริโภคด้วย”
 
ไม่ใช่แค่นั้น การขายสินค้าอย่างนมพาสเจอร์ไรส์ นมเปรี้ยว และโยเกิร์ต ในร้านเหล่านี้เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้ไทย-เดนมาร์คสามารถนำสินค้าเจาะเข้าไปหากลุ่มคนรุ่นใหม่ที่หันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น เพราะพวกเขามองว่า การกินนมที่ผ่านวิธีพาสเจอร์ไรส์ สามารถเก็บคุณค่าได้ดีกว่าวิธี UHT ที่ต้องใช้ความร้อนสูง ทำให้สารอาหารบางตัวหายไป
 
 
ขณะเดียวกันเป็นประจำทุกปีที่ไทย-เดนมาร์คต้องเปิดสินค้าใหม่เข้าสู่ตลาด สำหรับปี 2019 ได้เลือกเปิด “ไทย-เดนมาร์ค แลคโตส ฟรี” ด้วยมองว่า ปัจจุบันมีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ไม่ทานนมวัว เพราะคิดว่าดื่มแล้วท้องเสีย ทั้งที่ความจริง “แลคโตส” คือต้นเหตุไม่ใช่นมวัว อีกทั้งอาการแพ้ยังสัมพันธ์กับอายุที่เพิ่มขึ้นด้วย แม้ตอนเด็กจะกินแล้วไม่เป็นอะไร แต่พอโตมากินแล้วท้องเสีย หลายคนจึงเลิกกินนมวัว
 
เป้าหมายของสินค้าใหม่ไม่ได้มีเพียงแต่กลุ่มผู้แพ้นมวัวเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงกลุ่มผู้สูงวัยซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้เมืองไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมสูงวัย เพียงแต่คนที่มีอายุมักไม่ค่อยกินนมวัวสักเท่าไหร่นั้น เพราะนอกเหนือจากการกินแล้วท้องเสีย คนไทยยังมีความเชื่อเรื่องการดื่มนม ติดภาพของการเป็นเด็ก ทำให้ตอนนี้ยอดขายนมวัวในตลาด 70% เป็นกลุ่มที่มีอายุต่ำกว่า 22 ปี หรือก่อนจะจบมหาวิทยาลัยทั้งนั้น
 
“ความยากของการขาย แลคโตส ฟรี อยู่ที่การให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย เราจึงต้องให้ความสำคัญกับการสร้างการรับรู้เป็นอย่างมาก ทั้งการใช้สื่อหรือลงพื้นที่แจกสินค้าทดลอง”
 
 
“ไทย-เดนมาร์ค แลคโตส ฟรี” เริ่มวางจำหน่ายแล้วตั้งแต่กลางเดือนธันวาคม มีให้เลือก 2 ขนาด กล่อง UHT ขนาด 220 มิลลิลิตร และขวดพาสเจอร์ไรส์ 180 มิลลิลิตร ราคา 19 บาทเท่านั้น ในช่องทางทั้งโมเดิร์นเทรดและเทรดดิชันนอลเทรด ตั้งเป้ามียอดขายปีแรก 15 ล้านบาท
 
สำหรับปี 2019 “ไทย-เดนมาร์ค” ตั้งเป้ามียอดขายรวม 10,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ทำได้ 9,560 ล้านบาท ซึ่งลดลงเล็กน้อยจากกำลังซื้อที่ไม่เอื้อ โดยในตลาดนมพร้อมดื่มรวม 60,000 ล้านบาท “ไทย-เดนมาร์ค” มีส่วนแบ่งเป็นรองโฟร์โมสต์ แต่ถ้านับเฉพาะกลุ่มนมทั่วไปมูลค่า 16,000 ล้านบาท จะเป็นผู้นำด้วยส่วนแบ่ง 46-47%.


อ้างอิงจาก   goo.gl/JRgg62
 
ดาวเด่นแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
รวบรวมขนมปัง 20 บาท มาเอาใจคนอยากมีร้าน
156,874
ชานมไข่มุกปลุกตลาด 7 พันล้าน เทรนด์‘ไต้หวันกลับซ..
99,390
กาแฟสด ชาวดอย ลงทุนน้อย ความเสี่ยงต่ำ ความคล่องต..
81,179
เนสท์เล่ ปูพรมร้านไอศกรีมลงทุนเอื้ออาทร สานฝันคน..
77,425
ปั่นแหลก น้ำผลไม้สด แซงโค้งเข้าวินสร้างอาชีพ
76,427
“เคพีเอ็นพลัส” แฟรนไชส์อะไหล่มอ’ไซด์ ลั่นขยาย100..
54,590
ดาวเด่นแฟรนไชส์มาใหม่
ดาวเด่นแฟรนไชส์อื่นในหมวด