ดาวเด่นแฟรนไชส์    “ติ่มซำบางกอก” ดัมพ์ราคาเข่งละ 15 บ. ในสาขายอดขายพุ่ง
27K
11 เมษายน 2551
“ติ่มซำบางกอก” ดัมพ์ราคาเข่งละ 15 บ. ในสาขายอดขายพุ่ง

 
 
“โจ๊กบางกอก” แตกไลน์แฟรนไชส์ “ติ่มซำ บางกอก” นำสินค้าพรีเมี่ยม เข้าสู่ตลาดแมส ในราคาเข่งละ 20 บ. พร้อมสร้างทีมผลิตสั่งตรงกุ๊กจากมาเลฯ ชี้เสน่ห์อยู่ที่การปั้นด้วยมือ และสูตรกวางตุ้งดั้งเดิม ให้ทางเลือกลงทุน 2 รูปแบบ ทั้งแบบตั้งโต๊ะ และรถเข็น ดันราคาเข่งละ 15 บ. ให้สิทธิ์แก่สาขาที่มียอดขายสูง 
 
นายมานะ ธุระ กิจเสรี รองประธาน บริษัท เจบีเค ฟู้ดส์ จำกัด ผู้ก่อตั้งแฟรนไชส์ “โจ๊กบางกอก” เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ออกแฟรนไชส์ตัวใหม่ คือ “ติ่มซำ บางกอก” โดยความคิดเกิดจาก เมื่อช่วงวิกฤตไข้หวัดนก ทำให้ผู้บริโภคโจ๊กที่ชอบทานใส่ไข่ไก่ ไม่ทานโจ๊กไปด้วย ส่งผลกระทบยอดขายของแฟรนไชส์โจ๊กบางกอก โดยเฉลี่ยตก 25 เปอร์เซ็นต์ จึงอยากเสริมเมนูอาหารเล็กๆ น้อยๆ เข้าไป เพื่อรักษายอดขายของร้านสาขาไว้ได้ 
 
“เริ่มแรก ตั้งใจว่า จะเสริมแค่เมนู “ขนมจีบ” อย่างเดียว ขายราคา 3 ลูก 10 บาท จึงตระเวนหาผู้ผลิตทั้งจากรายเล็ก และรายใหญ่ จนในที่สุดเพิ่มเมนูมา 10 รายการ แต่หลังจากการศึกษา พบว่า ถ้าขายในราคา 3 ลูก 10 บาท จะไม่สามารถได้ติ่มซำที่มีคุณภาพ จึงตั้งราคาเข่งละ 20 บาท โดยใช้คอนเส็ปท์ว่าจะให้เป็นติ่มซำที่ใช้วิธีเดิมๆ ด้วยการนึ่งด้วยเข่ง ไม่ใช้ตู้อบกระจก ลงทุนน้อย และเป็นการฝากขายพ่วงตามร้านอาหาร” 
 
ลองตลาดเวิร์ก! ดันสู่แฟรนไชส์ 
 
ทั้งนี้ ได้มีการทดลองตลาดด้วยการนำติ่มซำที่ซื้อมาจากผู้ผลิตต่างๆ เปิดขายที่ร้าน “โจ๊กบางกอก” สาขาซอยโชคชัย 4 และที่สาขาวัดลาดปลาเค้า เป็นเวลา 2 เดือน ผลตอบรับ ถือว่าน่าพอใจ โดยขายได้วันละ 150 เข่ง มีกำไรหลังหักค่าใช้จ่าย 500-600 บาทต่อวัน 
 
เมื่อเห็นว่า ธุรกิจนี้ มีความเป็นไปได้ จึงพัฒนาขยายในรูปของแฟรนไชส์ เพราะมองว่า สินค้าประเภทอาหารในไทย ถ้าขายในตลาดแมส คุณภาพจะต่ำ และยิ่งเจาะจงลงมาเป็น “ติ่มซำ” ถ้าอร่อยก็ต้องเป็นระดับภัตตาคาร หรือร้านเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงมานาน แต่ร้านเหล่านี้ ก็ไม่เคยมาเปิดเป็นแฟรนไชส์รายย่อย แต่ถ้าเป็นติ่มซำข้างทาง หรือขายในร้านสะดวกซื้อคุณภาพจะต่ำ รสชาติไม่ดี ช่องทางที่เห็นในตลาด คือ ยังขาดสินค้าติ่มซำที่กินแล้วอร่อย คุณภาพดี หาซื้อได้สะดวก จึงอยากนำสินค้าที่เป็นพรีเมี่ยม เข้ามาในตลาดที่เป็นแมส โดยกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ตั้งแต่ระดับซีบวก มีรายได้ 7,000 – 8,000 บาทขึ้นไป 
 

 
สร้างทีมผลิต กุ๊กนำเข้าจากมาเลฯ 
 
เมื่อคิดจะสร้างแฟรนไชส์ จึงได้สร้างทีมผลิตเป็นของตัวเอง เนื่องจากเห็นว่า หากต้องรับสินค้าจากผู้ผลิตรายเล็กที่ไม่เป็นมืออาชีพ เมื่อยอดสั่งมากขึ้น อาจเกิดปัญหา ผลิตไม่ทัน หรือไม่สามารถรักษาคุณภาพไว้ได้ ในขณะที่ถ้ารับจากรายใหญ่ ราคาส่งจะสูง จึงตัดสินใจ สร้างทีมผลิตของตัวเอง โดยนำกุ๊กมาจากภัตตาคารอาหารติ่มซำ ในประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นชาวจีน – มาเลเซีย 
 
จากนั้น เสริมลูกทีมคนอื่นด้วยวิธีให้ถ่ายทอดวิชา โดยทีมงาน ณ ปัจจุบันมีทั้งหมด 25 คน สามารถผลิตได้สูงสุด 15,000 ชิ้นต่อวัน ซึ่ง ณ ปัจจุบัน ยังผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการ แต่ในอนาคตเมื่อยอดสั่งเพิ่มขึ้น ก็จะมีการขยายทีมงานออกไป 
 
สูตรกวางตุ้งเน้นปั้นด้วยมือ 
 
นายมานะ เปิดเผยต่อว่า เสน่ห์ของ “ติ่มซำบางกอก” อยู่ที่การปั้นด้วยมือ รูปทรงสวยกว่าทำจากเครื่องจักร รสชาติเป็นสูตรกวางตุ้งดั้งเดิม โดยจากการทดลองตลาด ชิมรสชาติจากผู้ผลิตรายอื่น ๆ กล้าการันตีว่า ติ่มซำ ที่ผลิตขึ้นเอง คุณภาพ และรสชาติดีกว่า
 
ส่วนการควบคุมคุณภาพด้านรสชาติและความสะอาด ปัจจุบันดูแลโดยกุ๊กผู้สอน เวลาทำงานจะมีมาตรการควบคุมตรวจสอบชัดเจน และในอนาคตจะเข้าไปยังมาตรฐานอาหาร เช่น HACCP และ GMP ต่อไป 
 
เปิดแฟรนไชส์ 2 ทางเลือก 
 
สำหรับการขายแฟรนไชส์ จะแบ่งเป็น 2 รูปแบบ ประกอบด้วย แบบที่ 1 เป็นแฟรนไชส์ คีออสแบบโต๊ะขนาดเล็ก วางขายคู่ในร้านอาหารทั่วไป เงินลงทุน อยู่ที่ 13,000 บาท แบบที่ 2 เป็นรถเข็นสำเร็จรูป เงินลงทุน 35,000 บาท ทั้งสองรูปแบบ หากต้องการตู้แช่ ต้องลงทุนเพิ่ม 7,500 บาท ใช้เงินทุนหมุนเวียนต่อวัน 3,500 บาท ทั้งนี้ ไม่มีเก็บค่ารายเดือน รายปี หรือค่าต่อสัญญา คาดว่าผู้ซื้อแฟรนไชส์จะมีกำไรสุทธิหลักหักค่าใช้จ่าย เดือนละ 15,000 – 50,000 บาท 
 
สำหรับสินค้าที่จะขายใน “ติ่มซำ บางกอก” ประกอบด้วย 10 เมนู ราคาขายส่งเข่งละ 13 บาท ผู้รับไปขาย ในราคาเข่งละ 20 บาท และน้ำ “ชาบางกอก” ซึ่งเป็นชาที่นำวัตถุดิบเข้าจากประเทศอินโดนีเซีย ราคาส่งแก้วละ 7 บาท ขายปลีก 20 บาท 
 
 
 
สาขายอดขายสูง ปรับขาย 15 บ. 
 
เมื่อถามว่า ราคา 20 บาทต่อเข่ง สูงเกินไปหรือไม่ นายมานะ กล่าวว่า “ไม่แพงและไม่ถูก ซึ่งคำถามนี้ ผมจะถามตัวเองมาตลอด แต่ ณ ตอนนี้ ช่องทางจัดจำหน่ายยังเป็นการฝากขายในร้านอาหาร ถ้าปรับถูกลง เป็น 15 บาท จะร้านค้าจะขายดีขึ้นไหม ไม่แน่! แต่ขั้นต่อไปที่มองไว้ ถ้า “ติ่มซำบางกอก” สามารถเข้าไปที่ช่องทางอื่นๆ เช่น ในมหาวิทยาลัย หรือย่านทำงานที่มีออฟฟิศมากๆ สาขานั้น จะปรับราคาขายปลีกเป็น 15 บาท โดยเราจะส่งในราคาเข่งละ 11 บาท” 
 
ส่วนการคัดเลือกว่า สาขาใดจะขายในราคา 15 บาท หรือ 20 บาท จะเป็นการพูดคุยระหว่างบริษัทฯ และเจ้าของสาขา โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ ด้าน เช่น สถานที่ กลุ่มลูกค้า แต่ทั้งนี้ สาขาที่ขายในราคา 15 บาท จะต้องเป็นจุดที่มีกำลังขายมากๆ ไม่ต่ำกว่า 400-500 เข่งต่อวัน 
 
นายมานะ กล่าวต่อว่า “ติ่มซำ บางกอก” เปิดตัวมาตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายน 47 ขณะนี้ มีทั้งหมด 25 สาขา ในกทม. 20 สาขา และ ตจว. 5 สาขา ทั้งหมดยังเป็นรูปแบบวางขายคู่ในร้านอาหาร ส่วนแบบรถเข็น เพิ่งเริ่มต้น อยู่ระหว่างหาทำเลขาย คาดว่าจะเริ่มออกตลาดได้ปลายเดือนนี้ (ก.ย.) 
 
นอกจากนี้ “ติ่มซำบางกอก” ยังได้รับการคัดเลือก เป็นหนึ่งในแฟรนไชส์ในโครงการ “สินเชื่อเพื่อสนับสนุนอาชีพเสริมแก่ครอบครัวข้าราชการไทย” ของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฯ (เอสเอ็มอีแบงก์ ) โดยคาดว่า ในปีนี้ จะขยายได้ 100 สาขา และเป้าสูงสุดต่อไป คือ 150 สาขา ทั่วประเทศ 

 
 
ติดต่อแฟรนไชส์ 08-1337-6961 และ 0-2931-0856 
 
อ้างอิงจาก: ผู้จัดการออนไลน์
ดาวเด่นแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
รวบรวมขนมปัง 20 บาท มาเอาใจคนอยากมีร้าน
157,522
ชานมไข่มุกปลุกตลาด 7 พันล้าน เทรนด์‘ไต้หวันกลับซ..
99,645
กาแฟสด ชาวดอย ลงทุนน้อย ความเสี่ยงต่ำ ความคล่องต..
81,650
เนสท์เล่ ปูพรมร้านไอศกรีมลงทุนเอื้ออาทร สานฝันคน..
77,811
ปั่นแหลก น้ำผลไม้สด แซงโค้งเข้าวินสร้างอาชีพ
76,558
“เคพีเอ็นพลัส” แฟรนไชส์อะไหล่มอ’ไซด์ ลั่นขยาย100..
55,082
ดาวเด่นแฟรนไชส์มาใหม่
ดาวเด่นแฟรนไชส์อื่นในหมวด