ดาวเด่นแฟรนไชส์    “ดิจิคิวป์” เปิดศึกแฟรนไชส์ตู้พรินต์รูปดิจิตอล เน้นหน้าใหม่ขยา...
5.6K
20 กันยายน 2551
“ดิจิคิวป์” เปิดศึกแฟรนไชส์ตู้พรินต์รูปดิจิตอล เน้นหน้าใหม่ขยายสาขา

 
 
ค่าย “อิมเพรส กราฟฟิค” นำเข้าตู้ “ดิจิคิวป์” พรินต์ภาพดิจิตอล รองรับตลาดกล้องดิจิตอล – มือถือถ่ายภาพได้โตพรวด เผยขยายธุรกิจในรูปแฟรนไชส์คีออส์ เน้นดึงนักลงทุนหน้าใหม่เป็นแนวร่วม แจงค่าบริการ 15 บาท/ใบ แย้มต้นปีหน้าลดเหลือ 10 บาท เชื่อไม่เกิน มี.ค. 48 วาง 100 จุดทั่วประเทศ 
 
ศศวรรณ จิรายุส ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อิมเพรส กราฟฟิค จำกัด ผู้จัดจำหน่าย ตู้พรินต์ภาพ “ดิจิคิวป์” (DIGICUBE) ในประเทศไทย กล่าวว่า ตู้ดังกล่าว นำเข้าจากประเทศเกาหลีใต้ ทำหน้าที่พรินต์ภาพจากกล้องดิจิตอล และโทรศัพท์มือถือถ่ายภาพ โดยได้รับการพัฒนาระบบให้ตรงกับความต้องการของคนไทย มีจุดเด่นเหนือกว่าคู่แข่ง เช่น คำแนะนำการใช้งานทั้งภาพและเสียง เป็นภาษาไทย แต่งรูปและพิมพ์ภาษาไทยลงภาพได้ ความเร็วในการพิมพ์ต่อภาพ ไม่เกิน 15 วินาที คุณภาพของภาพคงที่ 
 
รับข้อมูลภาพได้จากอุปกรณ์เกือบทุกชนิดที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาทิ เช่น SD, MS , CD , อินฟราเรด , บูททูธ , ช่องเสียบ USB สำหรับ Flash drives ยกเว้นมือถือของซัมซุง และฮัทช์ แต่ปลายปีนี้จะรองรับได้ทุกรุ่น นอกจากนั้น ยังบันทึกภาพลงแผ่นซีดีได้
 
ระบบการพิมพ์ แบบไดซับ เทอร์เมิล ซึ่งเหมือนการพิมพ์ใช้เพลท ทำให้มีความคมชัด ภาพไม่จาง อยู่ได้นานนับสิบปี และผิวกระดาษสามารถจับต้องได้ไม่มีรอยนิ้วมือ อีกทั้งใช้กระดาษฉีกไม่ขาด 
 
สำหรับแผนการขยายธุรกิจ จะเป็นแบบแฟรนไชส์ โดยเปิดให้ผู้สนใจซื้อตู้ไปวาง เน้นทำเลห้างสรรพสินค้า , แหล่งท่องเที่ยว และย่านวัยรุ่น โดยบริษัทฯ มีตัวแทนจำหน่ายครบทุกจังหวัด ทำหน้าที่ดูแลผู้ซื้อแฟรนไชส์อีกต่อ ขณะนี้มียอดจองแล้ว 50 เครื่อง เป็นทั้งกลุ่มผู้ประกอบการใหม่ และกลุ่มผู้ประกอบร้านโฟโต้เดิม สำหรับเป้าที่วางไว้ก่อนเดือนมีนาคมปีหน้า (2548) จะวางได้ 100 จุดทั่วประเทศ 
 
 
 
 
ศศวรรณ เปิดเผยต่อว่า ผู้สนใจร่วมธุรกิจนี้ ใช้เงินลงทุน ค่าตู้ 319,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ซึ่งกำลังติดต่อกับสถาบันการเงิน เพื่อให้ผ่อนชำระได้ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการต้องมีเงินทุนหมุนเวียนต่อเดือนประมาณ 20,000 – 25,000 บาท เป็นค่ากระดาษชุดละ 6,000 บาท (1 ชุด 500 ภาพ) และค่าหมึกพิมพ์ 
 
สำหรับรายได้ของผู้ซื้อตู้ไปวาง จะมาจาก ค่าพรินต์ อัตรา 15 บาท /ใบ ถ้าตบแต่งภาพ 20 บาท /ใบ (ต้นทุน 8.5 บาท/ใบ) ถ้ามียอดพรินต์ 100 ใบ /วัน บวกกับค่าไรท์ซีดี (แผ่นละ 100 บาท) คาดว่าจะคืนทุนได้ในเวลาไม่เกิน 1 ปี ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ทำการทดลองตลาดด้วยการวางตู้ในกรุงเทพฯ ณ เมเจอร์ฯ รัชโยธิน มียอดพริ้นต์อย่างต่ำวันละ 80 ใบ สูงสุด 150 ใบ นอกจากนั้น การทดลองวางตู้ตามเมืองท่องเที่ยว เช่น พัทยา , ภูเก็ต , เชียงใหม่ และขอนแก่น ผลตอบรับก็ดีเช่นเดียวกัน จึงเชื่อว่า ผู้ลงทุนสามารถคืนทุน และมีกำไรได้ในระยะเวลาดังกล่าว 
 
นอกจากนี้ อีกไม่นานบริษัทแม่จากเกาหลีใต้ จะมาตั้งโรงงานผลิตในประเทศไทย ทำให้ต้นทุนต่างๆ ลดลง ซึ่งต้นปีหน้า ราคาค่าอัดจะลดลง เหลือ 9-10 บาท/ใบ ผู้ลงทุนจะมีกำไรเพิ่มขึ้นเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ของต้นทุน 
 
“ขณะนี้บริษัทฯ เป็นตัวแทนจำหน่ายของบริษัทเกาหลีใต้ แต่ในอนาคตมีความเป็นไปได้เกิน 80 เปอร์เซ็นต์แล้ว ที่จะมีการร่วมทุน ตั้งโรงงานในไทย ซึ่งจะทำให้ต้นทุนต่างๆ ลดลงกว่าครึ่ง ซึ่งจะมีการปรับราคาอัดภาพให้ถูกลง ทำให้ผู้ประกอบมีกำไรสูงขึ้น ราคาอัดจะเหลือเท่ากับแล๊บโฟโต้แน่นอน ประมาณ 3-5 บาท แต่เราไม่อยากให้ไปตัดราคาของแล๊บ เพราะจะทำให้เกิดผลเสียทางการตลาดแบบลูกโซ่ ดังนั้น ราคาที่คิดไว้ ประมาณ 9-10 บาท ซึ่งจะเริ่มได้ต้นปีหน้า” 
 
ศศวรรณ กล่าวต่อว่า ในเกาหลีใต้ ตู้นี้ออกแบบมาใช้รับเงินอัตโนมัติ แต่สำหรับประเทศไทย ขณะนี้ ยังไม่พร้อมที่ตั้งตู้ไว้เฉยๆ ในขั้นเริ่มต้นจึงให้มีพนักงานประจำเครื่องก่อน โดยเจ้าของสามารถเช็คยอดพรินต์ภาพจากข้อมูลใบเสร็จ และในอนาคตถ้าคนทั่วไป คุ้นกับการใช้เครื่องแล้ว ก็จะให้ปล่อยเป็นระบบอัตโนมัติ 
 
 
 
นอกจากนั้น บริษัทฯ จะมีการส่งเสริมการขายในสถานที่ต่าง ๆ โดยใช้ฉากวางหลังตู้ โดยบอกรายละเอียด การทำงาน และสื่อให้รู้ว่า ตู้นี้ ทำหน้าที่อะไร เป็นการแนะนำสินค้า โดยไม่ต้องอธิบาย ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้ 100 ตู้แรก บริษัทฯ จะรับผิดชอบ แต่ต่อไป อาจจะรับผิดชอบร่วมกันระหว่างบริษัทฯ กับตัวแทน 
 
ด้านบริการหลังการขาย มีประกัน 1 ปี ในส่วนหน้าจอ และอุปกรณ์พรินต์ จัดอบรมพนักงานประจำตู้เกี่ยวกับการใช้งาน การแก้ไขดูแลเบื้องต้น ส่งช่างดูแลสม่ำเสมอ และอัพเกรดซอฟต์แวร์ทุกๆ 4 เดือน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ยกเว้นค่าซ่อมอุปกรณ์ที่ไม่ได้เกิดมาจากบริษัทฯ 
 
ทั้งนี้ ปีหน้าบริษัทฯ คาดว่า จะมีส่วนแบ่งตลาด 30 เปอร์เซ็นต์ ในธุรกิจตู้พรินต์ภาพดิจิตอล คิดเป็นรายได้ไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท รายได้หลักจะมาจากการขายกระดาษพิมพ์ และหมึกพิมพ์ ส่วนคู่แข่งสำคัญ คือ ตู้พรินต์ภาพดิจิตอลของโกดัง เพราะมีฐานลูกค้าร้านโฟโต้แล็บเดิมอยู่แล้ว ทำให้มีช่องทางการตลาดมากกว่า อีกทั้ง มีการผลิตในประเทศ และมีสินค้าในเครือที่จะนำมาใช้ในการจัดโปรโมทได้มากกว่า ดังนั้น บริษัทฯ จึงเน้นลูกค้าในกลุ่มผู้ประกอบรายใหม่ อีกทั้ง ต้องพยายามอัพเกรดซอฟต์แวร์ให้รวดเร็วตอบสนอง ความต้องการของลูกค้าได้มากที่สุด และในอนาคตบริษัทฯ จะนำเข้ามาอุปกรณ์ตัวอื่นๆ ที่ต่อเข้ากับเครื่องนี้ได้ ทำให้กลายเป็นมินิแล๊บ เกี่ยวกับการพิมพ์ต่อไป 
 
ติดต่อ โทร.02-713-3045 
 
อ้างอิงจาก: ผู้จัดการออนไลน์
ดาวเด่นแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
รวบรวมขนมปัง 20 บาท มาเอาใจคนอยากมีร้าน
157,522
ชานมไข่มุกปลุกตลาด 7 พันล้าน เทรนด์‘ไต้หวันกลับซ..
99,645
กาแฟสด ชาวดอย ลงทุนน้อย ความเสี่ยงต่ำ ความคล่องต..
81,650
เนสท์เล่ ปูพรมร้านไอศกรีมลงทุนเอื้ออาทร สานฝันคน..
77,811
ปั่นแหลก น้ำผลไม้สด แซงโค้งเข้าวินสร้างอาชีพ
76,558
“เคพีเอ็นพลัส” แฟรนไชส์อะไหล่มอ’ไซด์ ลั่นขยาย100..
55,082
ดาวเด่นแฟรนไชส์มาใหม่
ดาวเด่นแฟรนไชส์อื่นในหมวด