ดาวเด่นแฟรนไชส์    'Pro-dairy' มุ่งหาแฟรนไชซีที่ใส่ใจสุขภาพตัวเอง
5.0K
21 กันยายน 2551
'Pro-dairy' มุ่งหาแฟรนไชซีที่ใส่ใจสุขภาพตัวเอง


 
'Pro-dairy' รุกตลาดอาหารธัญพืช มองเทรนด์สุขภาพมาแรง เตรียมเปิดแฟรนไชส์ ระบุคัดแฟรนไชซีต้องมีพื้นฐานเป็นคนใส่ใจในสุขภาพของตัวเอง ชูกลยุทธ์แฟรนไชซอร์และแฟรนไชซี่จะต้องอยู่ได้ คุยคุณภาพสินค้าชั้นเยี่ยม มุ่งจับกลุ่มเป้าหมายระดับบีขึ้นไป เดินหน้าเปิดตลาดเจาะสำนักงาน/ห้างสรรพสินค้า 
 
นัทธมา สุดลาภา ผู้จัดการด้านผลิตภัณฑ์และการตลาด บริษัท แม็กพาย จำกัด และผู้จัดจำหน่ายอาหารธัญพืชแบรนด์ "Pro-dairy" กล่าวถึงที่มาของการเข้ามาทำธุรกิจอาหารธัญพืชว่า เดิมบริษัทฯ เป็นตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ประเภทจาน ชาม และแก้วน้ำ ซึ่งนำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกา ภายใต้ชื่อว่า "ริบบี้" ซึ่งลูกค้าของบริษัทฯ ได้แก่ โรงแรมต่างๆ , ร้านอาหาร เช่น โออิชิ และสเวนเซ่นส์ ฯลฯ 
 
สำหรับการเข้ามาเริ่มทำธุรกิจอาหารธัญพืชเพื่อสุขภาพแบรนด์ Pro-dairy เพราะบริษัทฯ มองเห็นแนวโน้มของตลาดการดูแลสุขภาพสำหรับประเทศไทยกำลังมาแรง นอกจากนี้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ทำงานหนักไม่ค่อยมีเวลาใส่ใจสุขภาพของตนเอง ประกอบกับได้รู้จักกับโรงงานผู้ผลิตอาหารธัญพืชโดยตรง ซึ่งโรงงานดังกล่าวมีประสบการณ์ในการผลิตอาหารธัญพืชมานานกว่า 10 ปี 
 
"เราเคยได้เข้าไปดูโรงงานนี้ เขาค่อนข้างมีเข้มงวดมากในกระบวนการทุกขั้นตอนตั้งแต่ การคัดพันธุ์พืช และการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์เพื่อเป็นวัตถุดิบกว่าจะมาผลิตเป็นซุป เราจึงเกิดความประทับใจในเรื่องการควบคุมคุณภาพและรายละเอียดปลีกย่อย สินค้าตัวนี้ยังได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา (อย.)และ เชลล์ชวนชิม ซึ่งเป็นเครื่องหมายการันตี แต่เขามีปัญหาเรื่องการทำตลาด เขาจึงติดต่อมาทางเราให้เราทำตลาดให้"
 
 
 
บริษัทฯ ได้นำสินค้าดังกล่าวมาทำตลาดเป็นเวลาไม่ถึงปี ปัจจุบันสินค้าแบรนด์ Pro-dairy แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ สินค้าอาหารแห้ง และอาหารสด โดยอาหารแห้งมีสินค้าที่จำหน่ายอยู่เพียงชนิดเดียว คือ งาคั่วปรุงรสแต่ในอนาคตจะมีการเพิ่มไลน์สินค้า อาหารแห้งให้มากขึ้นซึ่งระดับราคาของอาหารแห้งจะอยู่ที่ 5-350 บาท 
 
ส่วนสินค้าอาหารสด แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. อาหารสดแช่แข็ง มีสินค้าประเภท ซุปงาดำ ซุปแครอท ซุปข้าวโพด ซุปฟักทอง ราคาขายถ้วยละ 29 บาท และ2. อาหารสด ที่เป็นซุปร้อนซึ่งเป็นสินค้าหลักในการทำตลาดแฟรนไชส์ ได้แก่ ซุปถั่วแดง ซุปเผือก ซุปลูกเดือย ราคาขายถ้วยละ 25 บาท ส่วนการขยายรูปแบบการขายในอนาคตจะมีการทำออกมา ในรูปแบบของเครื่องดื่มเกล็ดน้ำแข็ง และจัดเป็นอาหารชุด 
 
โดยจุดมุ่งหมายในการนำอาหารธัญพืชมาทำเป็นระบบแฟรนไชส์ เนื่องจากบริษัทฯ เชื่อมั่นในคุณภาพสินค้า และประโยชน์ในการดูแลร่างกาย อีกทั้งแนวโน้มของอาหารเพื่อสุขภาพมาแรง 
 
การทำระบบแฟรนไชส์ของบริษัทฯ จะอยู่ภายใต้คอนเซ็ปท์ที่แฟรนไชซอร์และแฟรนไชซีจะต้องสามารถอยู่ได้ ดังนั้นบริษัทฯ จะไม่คิดค่าแฟรนไชส์ในปีแรก ส่วนปีต่อมาจะคิดในลักษณะของเปอร์เซ็นต์การขาย หรือยอดการสั่งสินค้า เนื่องจากบริษัทฯ ไม่ได้หวังกำไรจากธุรกิจแฟรนไชส์อยู่แล้ว 

"แฟรนไชซี่สามารถขายสินค้าทุกตัวที่บริษัทมีอยู่ได้ เพียงแต่ว่าอย่างน้อยเขาต้องมีอาหารสดที่เป็นซุปร้อนเป็นตัวหลัก ส่วนตัวอื่นถือเป็นส่วนเสริม อย่างอาหารแห้งหรืออาหารแช่แข็งจะขายหรือไม่ก็ได้ คือ ถ้าขายก็เรียกว่าไม่เสียโอกาสทางธุรกิจโดยเฉพาะอาหารแช่แข็ง เพราะแฟรนไชส์ทุกร้านที่ขายสินค้าของบริษัทฯ จะต้องมีตู้แช่อาหารอยู่แล้ว"
 
 
 
สำหรับช่องทางจำหน่ายอาหารสดแช่แข็งและอาหารแห้ง จะเจาะเข้าห้างสรรพสินค้าที่ลูกค้าเป็นระดับบีขึ้นไป เช่น เดอะมอลล์ ,ดิเอ็มโพเรียม และฟู้ดแลนด์ นอกจากนี้สินค้าอาหารแห้งจะเจาะลงตลาดร้านอาหารเพื่อสุขภาพ หรือร้านของฝากด้วย ส่วนช่องทางระบบแฟรนไชส์ ปัจจุบันเปิดสาขาแรกที่สถานีรถไฟฟ้าซอยอารีย์ และกำลังจะเปิดสาขาที่สองที่โรงพยาบาลกรุงเทพ และมีแนวโน้มจะขยายแฟรนไชส์อีกหลายสาขาซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นของการเจรจา
 
นัทธมา กล่าวต่อว่า การกำหนดสาขาของแฟรนไชส์ บริษัทฯ ไม่ได้มีการกำหนดเป้าหมายที่แน่นอน แต่ต้องการให้ขึ้นอย่างมีคุณภาพและจะต้องกระจายตามจุดในทำเลที่เหมาะสม เพราะบริษัทฯ อยากให้แฟรนไชซี่แต่ละรายเกิดความมั่นใจว่าบริษัทฯ มีเวลาสนับสนุนแฟรนไชซี่มากพอจนกว่าแฟรนไชซี่จะสามารถดูแลตัวเองได้ โดยบริษัทฯ จะให้การสนับสนุนทั้งเรื่องการตลาด ประชาสัมพันธ์ โปรโมชั่น และการฝึกอบรมพนักงาน 
 
"เนื่องจากสินค้าของเราเป็นอาหารธัญพืช ซึ่งไม่ค่อยมีใครขาย ดังนั้นพนักงานขายจะมีความสำคัญมากใน การที่จะสื่อสารกับลูกค้าว่าทานแล้วได้ประโยชน์อะไร เช่น ทานงาดำเพราะมีโปรตีนเยอะ พนักงานจะต้องมีความรู้เรื่องสุขภาพ เขาจะต้องมาอบรมทั้งเรื่องการต้ม ต้องรู้ขั้นตอนในการทำ คือ เช้ามาเขาต้องทำอะไรก่อน วิธีการทำงานตั้งแต่เช้าถึงค่ำ ต้องรู้ว่าต้องเปิดปิดอะไร เราจะมีเจ้าหน้าที่เข้าไปสอนให้และดูแลจนกว่าเขาจะทำได้ โดยเราจะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปดูแลช่วงอาทิตย์แรกทุกวัน หลังจากนั้นจะเป็นอาทิตย์ละครั้ง สองอาทิตย์ครั้ง ตามลำดับ" 
 
สำหรับทำเลในการขาย บริษัทฯ จะช่วยหาให้ เนื่องจากสินค้าประเภทนี้ไม่ใช่ว่าจะขายที่ไหนก็ได้ ต้องเป็นทำเลที่มีกลุ่มเป้าหมายที่ชอบความรวดเร็วและใส่ใจในเรื่องของสุขภาพ เช่น สำนักงานต่างๆ เป็นต้น ส่วนแฟรนไชซี หรือพนักงานที่จะเข้ามาขายสินค้าจะต้องมีพื้นฐาน เป็นคนที่ใส่ใจในเรื่องของสุขภาพของตัวเองโดยตรง เนื่องจากบริษัทฯ เชื่อว่าคนที่ไม่ดูแลสุขภาพของตัวเองไม่สามารถมาขายสินค้าตรงนี้ได้ 
 
"เพราะเขาจะสื่อกับลูกค้าไม่ได้ หรือจะสื่อกับพนักงานที่จะมาขายสินค้าให้กับเขาไม่ได้ หรือแม้แต่เขาขายของเอง ถ้าเขาไม่รู้สึกว่าเขาต้องการจะดูแลตัวเอง เขาจะสื่อกับคนอื่นไม่ได้ ตรงนี้สำคัญมาก" นัธมากล่าวย้ำ
 
สนใจธุรกิจติดต่อโทร. 0-2960-0672-3
 
อ้างอิงจาก: ผู้จัดการออนไลน์
ดาวเด่นแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
รวบรวมขนมปัง 20 บาท มาเอาใจคนอยากมีร้าน
157,522
ชานมไข่มุกปลุกตลาด 7 พันล้าน เทรนด์‘ไต้หวันกลับซ..
99,645
กาแฟสด ชาวดอย ลงทุนน้อย ความเสี่ยงต่ำ ความคล่องต..
81,650
เนสท์เล่ ปูพรมร้านไอศกรีมลงทุนเอื้ออาทร สานฝันคน..
77,812
ปั่นแหลก น้ำผลไม้สด แซงโค้งเข้าวินสร้างอาชีพ
76,558
“เคพีเอ็นพลัส” แฟรนไชส์อะไหล่มอ’ไซด์ ลั่นขยาย100..
55,082
ดาวเด่นแฟรนไชส์มาใหม่
ดาวเด่นแฟรนไชส์อื่นในหมวด