ดาวเด่นแฟรนไชส์    “Betty Boop” แจ้งเกิดในไทย ลุย 22 สาขา สร้างรายได้เถ้าแก่มือใหม่
10K
7 ตุลาคม 2551
“Betty Boop” แจ้งเกิดในไทย ลุย 22 สาขา สร้างรายได้เถ้าแก่มือใหม่


 
จากโรงงานผลิตกระเป๋า จนกลายมาเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์แบรนด์ดังของ "Betty Boop" ของสหรัฐฯ จนปัจจุบันมีแฟรนไชส์แล้วกว่า 22 สาขา สร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการหน้าใหม่หลายราย โดยเฉพาะผู้ที่ยังไม่เคยประกอบธุรกิจเลย คาดในปีหน้าจะซื้อลิขสิทธิ์แบรนด์สนูปปี้ และป๊อบอาย เข้ามาในไทย เชื่อจะได้รับการตอบรับจากแฟนพันธุ์แท้ไม่แพ้กัน 
 
นายพิจิตร เจนบุญลาภ ผู้จัดการบริษัท บีซีดี อินเตอร์เทรด จำกัด หรือผู้ที่ซื้อลิขสิทธิ์ Betty Boop ประเภทกระเป๋าในเมืองไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งแบรนด์ของ Betty Boop เป็นสินค้าแบรนด์เนมของสหรัฐฯ และมีชื่อเสียงโด่งดังมากว่า 70 ปี ได้กล่าวถึงธุรกิจการซื้อลิขสิทธิ์ประเภทกระเป๋า Betty Boop ว่าได้ซื้อลิขสิทธิ์ นี้เข้ามาในไทยประมาณ 1 ปีเศษ โดยมองว่าในประเทศยังไม่มีร้านที่ขายกระเป๋าที่มีแบรนด์เดียว ซึ่งส่วนใหญ่จะนำหลายๆ แบรนด์เข้ามาขายในร้านหรือมีสินค้าหลากหลาย ไม่เพียงแต่เฉพาะกระเป๋าเท่านั้น และเมื่อ 1 ปี ที่ผ่านมาแบรนด์ของ Betty Boop ก็ยังไม่มีคนไทยซื้อลิขสิทธิ์เพื่อมาจำหน่ายในไทยอย่างจริงจัง จึงเกิดแนวคิดที่จะลงทุนกับธุรกิจนี้ แม้ว่าจะเป็นธุรกิจที่หลายคนมองว่าเสี่ยงมาก แต่ด้วยนายพิจิตรได้คลุกคลีอยู่ในวงการกระเป๋ามานาน โดยมีโรงงานผลิตกระเป๋าเป็นของตัวเอง ส่งผลให้ความเสี่ยงในการซื้อลิขสิทธิ์ของ Betty Boop ลดน้อยลง 

โดยก่อนที่นายพิจิตรจะตกลงซื้อลิขสิทธิ์ของ Betty Boop ทางบริษัทฯ ที่เป็นโรงงานผลิตกระเป๋า ได้เดินทางไปสำรวจตลาดของแบรนด์ Betty Boop ประเภทกระเป๋ายังต่างประเทศ เช่น ฮ่องกง จีน และอเมริกา เป็นต้น จึงเห็นว่าแบรนด์ดังกล่าวได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ซึ่งถือเป็นเหตุผลหลักของการตัดสินใจในครั้งนี้ จนในปัจจุบันได้ขยายธุรกิจในรูปแบบของแฟรนไชส์ ซึ่งก็ได้รับการตอบรับจากผู้ประกอบการเป็นอย่างมาก 
 
“ผู้ที่ลงทุนในระบบแฟรนไชส์กับเรา ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ยังไม่เคยที่ประกอบธุรกิจอะไร ในขณะที่ผู้ประกอบการที่มีร้านขายสินค้าประเภทกระเป๋าเดิมอยู่ก่อนแล้ว จะไม่กล้ามาลงทุนกับเราเนื่องจากเค้ามองตลาดว่าการขายแบรนด์เดียว อาจจะทำให้ธุรกิจไปไม่รอด เขาต้องการขายหลายๆ แบรนด์ในร้าน เพื่อเป็นตัวเลือกให้กับลูกค้า ในทางกลับคนที่ไม่เคยทำธุรกิจเลย เมื่อว่าลงทุนแฟรนไชส์กับเราก็ประสบความสำเร็จ เนื่องจากทางเราได้ใส่ใจในทุกรายละเอียดของผู้ร่วมลงทุน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทำเล การบริหาร หรือแม้กระทั่งการสอนทางจิตวิทยาในการพูดคุยกับลูกค้า ซึ่งตรงจุดนี้ถือว่าเป็นหัวใจหลักในการบริการลูกค้า” 
 
 
 
 ส่วนในเรื่องของการลงทุน แฟรนไชซี จะใช้เงินลงทุนที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับทำเล และขนาดของร้านเดิมที่มีอยู่ ซึ่งหากแฟรนไชซีมีร้านเดินอยู่ในห้างสรรพสินค้าแล้ว การตกแต่งก็จะง่ายขึ้นและไม่ต้องเสียเงินค่าตกแต่งมากนัก ซึ่งการตกแต่งร้าน Betty Boop จะเน้นการตกแต่งให้เหมือนร้านในต่างประเทศ เพื่อให้ลูกค้าได้รู้สึกถึงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเน้นที่สีสันสะดุดตา และรูปแบบของกระเป๋าที่เท่ห์ ทันสมัย และไม่ซ้ำแบบใคร เหมาะกับคนทุกวัย ซึ่งเงินทุนโดยประมาณสำหรับแฟรนไชส์ร้าน Betty Boop ได้แก่ ค่าธรรมเนียมแรกเข้า 20,000 บาท, ค่าตกแต่งร้าน 30,000 -100,000 บาท (สำหรับพื้นที่ขนาด 10-20 ตารางเมตร) และค่าซื้อสินค้าเข้า 60,000-100,000 บาท ซึ่งราคาสินค้าจะมีตั้งแต่ 100-2,000 บาท ส่วนทำเลที่ตั้งจะเน้นตามศูนย์การค้า และย่านธุรกิจต่างๆ ปัจจุบันร้าน Betty Boop มีสาขารวม 22 สาขา 
 
ด้วยความได้เปรียบในการมีโรงงานผลิตกระเป๋าเอง ทำให้นายพิจิตรมีโอกาสในการนำเสนอแบบต่างๆ ของกระเป๋า และนำแบบไปให้กับบริษัทแม่ที่ประเทศสหรัฐฯ พิจารณาแบบ ซึ่งเมื่อแบบผ่าน ทางโรงงานที่ประเทศไทยก็สามารถผลิตและจำหน่าย ซึ่งสินค้าจะเป็นประเภทกระเป๋าทั้งหมด เช่น กระเป๋าเดินทาง, กระเป๋าสะพาย, กระเป๋าชอปปิ้ง, กระเป๋าใส่ธนบัตร, ซองมือถือ และกระเป๋าสตางค์ เป็นต้น แต่ในปัจจุบันทางนายพิจิตร มองถึงแนวทางการการตลาดและนึกถึงพฤติกรรมการซื้อสินค้าของลูกค้า ทำให้ได้เริ่มนำสินค้าประเภทอื่นๆ ที่นอกจากกระเป๋าเข้ามาจำหน่ายในร้านด้วย เช่น ปากกา เสื้อผ้า และนาฬิกา เป็นต้น แต่ยังอยู่ภายใต้แบรนด์ของ Betty Boop และไม่นำเข้ามาจำหน่ายมากนัก เนื่องจากยังต้องการคงแบรนด์ลิขสิทธิ์กระเป๋าของตนเองอยู่ ซึ่งสินค้าจะเปลี่ยนทุกเดือน และมีคอลเลคชั่นใหม่ๆ ตลอด 
 
 
 
นายพิจิตร ยังกล่าวต่อว่า ด้วยบุคลิกของตัว Betty Boop ที่เกิดและเป็นที่นิยมในสหรัฐฯ มากว่า 70 ปีนั้น จะเห็นได้ว่า Betty Boop จะเป็นผู้หญิงที่เซ็กซี่ เก่งในทุกๆ ด้าน แต่จะไม่ขายเซ็กส์ ดังนั้นด้วยบุคลิกดังกล่าวสามารถสื่ออกมาถึงผู้ที่ใช้สินค้าแบรนด์ของ Betty Boop ได้คือ ผู้ที่นิยมชมชอบตุ๊กตาตัวนี้ จะเป็นผู้หญิงทำงาน มีความมั่นใจในตัวเองสูง เป็นเวิร์กกิ้ง วูแมน หัวทันสมัย และจะติดความเป็นไฮโซนิดๆ ซึ่งจะต่างกับผู้ที่ชอบ “โอลีฟ” จะเป็นคนที่ขี้เล่นเล็กน้อย และมีอารมณ์ขัน ซึ่งในปีหน้าทางบริษัท บีซีดี อินเตอร์เทรด จำกัด จะซื้อลิขสิทธิ์ของป๊อบอาย และสนูปปี้ เข้ามาด้วย เนื่องจากกลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบแบรนด์เหล่านี้ยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก 
 
ผู้สนใจสามารถสอบถามได้ที่โทร 0-2865-3944-5 
 
อ้างอิงจาก: ผู้จัดการออนไลน์
ดาวเด่นแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
รวบรวมขนมปัง 20 บาท มาเอาใจคนอยากมีร้าน
157,522
ชานมไข่มุกปลุกตลาด 7 พันล้าน เทรนด์‘ไต้หวันกลับซ..
99,645
กาแฟสด ชาวดอย ลงทุนน้อย ความเสี่ยงต่ำ ความคล่องต..
81,650
เนสท์เล่ ปูพรมร้านไอศกรีมลงทุนเอื้ออาทร สานฝันคน..
77,812
ปั่นแหลก น้ำผลไม้สด แซงโค้งเข้าวินสร้างอาชีพ
76,558
“เคพีเอ็นพลัส” แฟรนไชส์อะไหล่มอ’ไซด์ ลั่นขยาย100..
55,082
ดาวเด่นแฟรนไชส์มาใหม่
ดาวเด่นแฟรนไชส์อื่นในหมวด