ดาวเด่นแฟรนไชส์    จาก “Thai Orchid” สู่แฟรนไชส์ “Yai” การันตีสดใหม่เทคโนฯ ยุโรป
4.1K
27 ตุลาคม 2551
จาก “Thai Orchid” สู่แฟรนไชส์ “Yai” การันตีสดใหม่เทคโนฯ ยุโรป
 


 
เป็นแม่ครัวในร้านอาหาร Thai Orchid ร้านอาหารไทยร้านแรกในเมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นของญาตินานหลายปี จนเมื่อเขาจะขายร้าน เธอจึงขอซื้อต่อ ถึงปัจจุบัน 13 ปีแล้ว ที่กนิษฐา นินุบล บริหารร้านอาหารคุณภาพคับจานร้านนี้มา จนปัจจุบันจึงเปิดแฟรนไชส์ร้านอาหารไทย และเปลี่ยนชื่อร้านเป็น Yai 
 
กนิษฐา นินุบล เจ้าของแฟรนไชส์ร้านอาหารไทย Yai เปิดเผยว่า ร้านอาหารในออสเตรเลีย เฉพาะในซิดนีย์ก็มีถึง 400-500 ร้านแล้ว แต่จุดเด่นของ Yai ก็คือเทคโนโลยีที่ดูแลอาหาร ซึ่งใช้มาตั้งแต่ยังเป็น Thai Orchid เป็นเทคโนโลยีจากเยอรมนีกับอิตาลี ราคาหลายหมื่นเหรียญ ให้ความเย็นเร็วกว่าตู้เย็นทั่วไป คุณภาพอาหารจึงไม่เปลี่ยน ลูกค้ามาทานแล้วได้ความสด เครื่องปรุงทั้งหมดก็ไม่ใช้ที่แช่แข็งหรือกระป๋อง และมีเมนูใหม่เสริมตลอด ร้านจึงมีฐานลูกค้าประจำถึง 70 เปอร์เซ็นต์ 
 
“ในร้านตอนนี้มีพนักงาน 25-30 คน เปิดกลางวันเที่ยงถึงบ่ายสามโมง ส่วนกลางคืนเปิดตั้งแต่ 6 โมงเย็นถึง 5 ทุ่มหรือเที่ยงคืน แล้วแต่ลูกค้าออกหมดตอนไหน แต่ปกติแล้ววันธรรมดาครัวจะปิด 4 ทุ่มครึ่ง ศุกร์-เสาร์ ครัวจะปิด 5 ทุ่ม แต่ส่วนใหญ่ถ้าออเดอร์ต่อเนื่องอยู่เราก็ต้องทำต่อไปจนกว่าจะเสร็จ”
 
 
 
“พนักงานในร้าน พี่ก็ดูแลเหมือนคนในครอบครัว ทุนคนเสมอภาค กินก็กินด้วยกัน เราทำงานร่วมกัน ฉันได้บ้าง เธอได้บ้าง ก็แบ่งกันไป เราจึงอยู่ด้วยกันได้ แล้วก็ทำงานร่วมกันมาเป็นเวลานานๆ” 

กนิษฐา กล่าวต่อว่า ที่เริ่มต้นทำแฟรนไชส์ เพราะที่ร้านมีทุกอย่างครบถ้วนหมดแล้ว ระบบต่างๆ ไปได้เองโดยที่ไม่ต้องดูแลอะไรมาก จึงคิดว่าน่าจะทำอะไรอย่างอื่นที่สามารถช่วยคนอื่นให้เขาไม่ลำบาก เพราะเห็นว่าร้านอาหารเปิดขึ้นมาเยอะมากทุกวัน แล้วก็ปิดลงทุนวันเหมือนกัน ส่วนการเปลี่ยนชื่อจาก Thai Orchid เป็น Yai ก็เพื่อให้แฟรนไชส์ง่ายต่อการจดจำ ส่วนเรื่องลูกค้าเก่านั้น เขาไม่ได้สนใจเรื่องชื่ออยู่แล้ว ถ้ารสชาติและคุณภาพอาหารเหมือนเดิม 
  
“แฟรนไชส์ก็จะเป็นร้านแบบฟุลเซอร์วิส มีแบบร้าน 50 ที่นั่ง 100 ที่นั่ง และ 200 ที่นั่ง คุณสมบัติของคนที่จะเข้ามาซื้อแฟรนไชส์ก็ไม่ใช่แค่มีเงินอย่างเดียว ต้องมีความตั้งใจที่จะทำ แค่มีเงินแล้วจ้างให้คนอื่นไปทำไม่ได้ แต่ถ้าจะให้เราช่วยจัดการเซ็ตอัพให้ทั้งหมด มีผู้จัดการ มีคนงาน มีอุปกรณ์ ก็ได้ แต่เขาต้องจ่ายเงินซึ่งจะเพิ่มมากกว่าสำหรับจ้างคนเหล่านี้ แต่ถ้าตัวเองทำเองก็ง่ายขึ้น” 
 
ส่วนการดูแลแฟรนไชส์นั้น กนิษฐา กล่าวว่า เราดูแลเหมือนครอบครัว ถ้าแฟรนไชส์ขาดคน เราซึ่งเป็นแม่ก็ต้องส่งคนไปช่วย ไม่ใช่ถ้าไม่มีคนแล้วร้านเปิดไม่ได้ ต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่ปล่อยทิ้งไปเลย เพราะแฟรนไชส์ส่วนใหญ่ ซื้อไปแล้วก็แล้วกันไป แล้วก็ไม่ประสบความสำเร็จ 

 
 
 
“เราต้องเทรนถึง 2 เดือน ก่อนที่จะปล่อยคุณออกไป แต่ถ้าครบ 2 เดือนแล้วคุณทำไม่ได้ตามมาตรฐานที่เราวางไว้ เราก็ไม่สามารถให้คุณเปิดร้านได้ เพราะนี่เป็นชื่อที่เราสั่งสมมา 20 กว่าปี คุณภาพต้องอยู่ใต้ข้อบังคับของเราทั้งหมด คนที่จะทำงานร่วมกับเราได้ก็ต่อเมื่อเขาพร้อมที่จะเดินตาม ไม่ต้องคิดอะไรอีกเลย ที่สำคัญคือ ต้องเข้ากันได้ ต้องคุยกันรู้เรื่อง ต้องพบเจอกับครอบครัวเขาด้วยว่าเป็นอย่างไร ถ้าเกิดเขาไม่สนใจครอบครัวเลย เขาจะสนใจลูกค้าหรือว่าพนักงานไหม”
 
“แต่เราไม่สามารถการันตีได้ว่าแฟรนไชส์จะทำเงินให้คุณเท่าไหร่ แต่คุณก็ดูเองก็แล้วกันว่า ทำไมเราทำได้ นี่คือสิ่งที่เรามี เรามีอุปกรณ์พร้อม มีพนักงานพร้อม มีการฝึกฝนพนักงานของเราอย่างดี” 
 
กนิษฐา ตั้งเป้าไว้ว่าภายใน 5 ปี จะเปิดแฟรนไชส์ 130 ร้าน ทั่วออสเตรเลีย แต่ถ้าถึง 130 ร้านแล้วยังมีคนสนใจทำ ก็จะเปิดต่อ เพราะคิดว่าตอนนี้คนไทยก็ค่อนข้างรู้จัก Yai เยอะแล้ว รู้แล้วว่าร้านมีอะไรดี ทำไมถึงแตกต่าง ทำไมถึงไม่ตก 
 
ด้านการเปิดสาขาในไทยนั้น กนิษฐา กล่าวว่า คงไม่กลับมาเปิดเอง แต่ถ้าใครที่อยากทำก็ซื้อแฟรนไชส์ แล้วจะให้เป็นมาสเตอร์แฟรนไชส์ในไทย เพื่อช่วยดูแลแฟรนไชส์ลูกในไทยด้วย
 
ติดต่อแฟรนไชส์ Yai ได้ที่ (02) 9698 2097 (ออสเตรเลีย) หรือ noi@yai.com.au หรือ www.yai.com.au
 
อ้างอิงจาก: ผู้จัดการออนไลน์
ดาวเด่นแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
รวบรวมขนมปัง 20 บาท มาเอาใจคนอยากมีร้าน
157,522
ชานมไข่มุกปลุกตลาด 7 พันล้าน เทรนด์‘ไต้หวันกลับซ..
99,645
กาแฟสด ชาวดอย ลงทุนน้อย ความเสี่ยงต่ำ ความคล่องต..
81,650
เนสท์เล่ ปูพรมร้านไอศกรีมลงทุนเอื้ออาทร สานฝันคน..
77,812
ปั่นแหลก น้ำผลไม้สด แซงโค้งเข้าวินสร้างอาชีพ
76,558
“เคพีเอ็นพลัส” แฟรนไชส์อะไหล่มอ’ไซด์ ลั่นขยาย100..
55,082
ดาวเด่นแฟรนไชส์มาใหม่
ดาวเด่นแฟรนไชส์อื่นในหมวด