ดาวเด่นแฟรนไชส์    แฟรนไชส์ “คินเซน ราเมน” ชูธงบะหมี่ญี่ปุ่นราคาประหยัด
16K
21 ธันวาคม 2551
แฟรนไชส์ “คินเซน ราเมน” ชูธงบะหมี่ญี่ปุ่นราคาประหยัด


 
จากกระแสอาหารญี่ปุ่นบูม ทำให้ “ภคิน รักชาติไทย” นักธุรกิจหนุ่มจากระยอง มองเห็นช่องทางธุรกิจ คลอด“คินเซน ราเมน” เอาใจคนรักเส้นสไตล์ญี่ปุ่น ชูจุดเด่นราคาถูกกว่าแบรนด์ยักษ์ครึ่งหนึ่ง มีเมนูให้เลือกกว่า 40 รายการ มั่นใจระบบการบริหารลงตัว พร้อมขยายในรูปแฟรนไชส์
 
ภคิน รักชาติไทย เจ้าของกิจการร้านอาหารญี่ปุ่น “คินเซน ราเมน” (KINZEN RAMEN) กล่าวว่า หลังจากจบการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร ได้มาเริ่มทำธุรกิจโรงงานผลิตเส้นบะหมี่อยู่ที่ จ.ระยอง ทำให้มีความเชี่ยวชาญในการผลิตวัตถุดิบอาหารประเภทนี้ ประกอบกับมองว่า กระแสอาหารญี่ปุ่น กำลังเป็นที่นิยมของคนไทย จึงมีแนวคิดเปิดธุรกิจแฟรนไชส์อาหารราเมนขึ้น
 
“ปัจจุบันร้านอาหารญี่ปุ่นประเภทราเมน มีแบรนด์ใหญ่แค่ 2 ราย คือ ‘โออิชิ ราเมน’ กับ ‘ฮะจิบัง ราเมน’ เห็นได้ว่า ยังไม่มีเจ้าตลาดที่แท้จริง คิดว่า น่าจะเป็นโอกาสของเราที่จะแทรกตัวเข้าไปได้”
 
 

 
ชูจุดเด่นราคาถูกกว่าครึ่ง
 
และจากข้อได้เปรียบที่มีโรงงานผลิตวัตถุดิบได้เอง ทำให้ต้นทุนต่ำ สามารถขายอาหารในราคาถูกกว่าแบรนด์ใหญ่ในอัตราต่ำกว่าครึ่ง ราคาเริ่มต้นเพียง 35 บาท(คลิกเพื่อดูตัวอย่างเมนูอาหาร) ในขณะที่คุณภาพไม่แตกต่างกัน ข้อได้เปรียบนี้ ทำให้มีศักยภาพในการแข่งขัน อีกทั้งรองรับการส่งวัตถุดิบให้แฟรนไชซีในราคาถูกได้เช่นกัน
 
นอกจากนี้ จุดเด่นยังอยู่ที่ความหลากหลายของเมนู ที่มีให้เลือกกว่า 40 เมนู และจะมีการออกเมนูใหม่ ๆ ตลอดเวลา โดยนำข้อมูลจากลูกค้าที่เข้ามายังร้านมาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  
สูตรญี่ปุ่นปรับให้ถูกใจคนไทย
 
นักธุรกิจหนุ่ม เล่าถึงสูตรการผลิตราเมน มาจากการไปดูงานยังประเทศญี่ปุ่นด้วยตนเอง โดยเฉพาะเทคโนโยลีการผลิตเส้นราเมน จากข้าวสาลี ทำให้ได้เส้นที่มีคุณภาพ ซึ่งถือหัวใจของอาหารประเภทนี้ หลังจากนั้น นำมาปรับให้ถูกปากคนไทย ให้มีความนุ่มและเหนียว ในขณะที่รสชาติคงความเป็นญี่ปุ่น แต่เพิ่มความเข้มข้นขึ้น เพราะคนไทยชอบอาหารรสจัด
 
เผยร้านต้นแบบฟอร์มหรู
 
ทั้งนี้ เขาได้เปิดกิจการร้านต้นแบบสาขาแรกที่ตัวเมือง จ .ระยอง เมื่อปลายปี 2546 ได้รับผลตอบรับที่ดี เพราะไม่เคยมีมาก่อนในจังหวัด ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนทำงาน และครอบครัว ตกแต่งร้านเป็นสไตล์ญี่ปุ่น ให้ครัวเป็นแบบเปิด ตามหลักจิตวิทยาให้เกิดความผูกผันระหว่างลูกค้ากับผู้ขาย ส่วนเก้าอี้เป็นแบบที่นั่งพิงครึ่งหลัง เพื่อลูกค้าไม่นั่งนานจนเกินไป
 
โดยรายได้จากจำนวน 7 โต๊ะของร้าน เฉลี่ย 8,000 บาท/วัน หักแล้วเหลือเป็นกำไรประมาณ 60% จากนั้น จึงเปิดอีกแห่งในตัวเมือง จ.ระยอง ซึ่งก็ได้รับผลตอบรับที่ดีในอัตราใกล้เคียงกัน
 
 
 
เผยเล็กแต่คุณภาพแน่น
 
ภคิน เล่าต่อว่า แม้จะเป็นธุรกิจเล็กๆ แต่พยายามใช้ระบบที่เป็นมืออาชีพ ดูแลบริหารอย่างครบวงจร อาทิ การทำตลาด เจาะไปที่กลุ่มเป้าหมายจริงๆ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เช่น แจกใบปลิวกับกลุ่มเป้าหมาย หมู่บ้านเกรดสูง หรือบริษัทย่านธุรกิจ เป็นต้น
 
และมีการวิจัยและพัฒนาสินค้าควบคู่ไปด้วย โดยสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคผ่านแบบสอบถาม รวมถึงดูตัวเลขยอดขายเมนูต่างๆ ภายในร้าน หากเมนูใดเดินช้า จะมีการปรับเปลี่ยน ป้องกันปัญหาวัตถุดิบค้างสต๊อก ในขณะที่การให้ลูกค้าทำแบบสอบถาม นอกจากจะได้ทราบข้อมูลผู้บริโภคแล้ว ยังได้ฐานข้อมูลลูกค้า สำหรับนำไปส่งข่าวประชาสัมพันธ์ผ่านอีเมลด้วย
 
นอกจากนี้ ใช้ระบบจ้างพนักงานในร้านรายวัน เพราะธุรกิจร้านอาหารมักเกิดปัญหา แม่ครัวลาออก ทำให้รสชาติอาหารที่ลูกค้าเคยติดใจกลับเปลี่ยนไป แต่สูตรอาหารของคินเซน ราเมน จะเป็นแบบที่มีคู่มือกำกับให้พร้อม เมื่อผ่านการฝึกอบรมทำตามขั้นตอน ใครทำก็ได้ ไม่ต้องง้อฝีมือแม่ครัว
 
เปิดขายแฟรนไชส์ 7 แสน
 
เจ้าของกิจการ บอกว่า จากการทดลองผ่านร้านต้นแบบ ทั้งด้านการผลิตวัตถุดิบ และการบริหาร ทำให้มั่นใจว่า มีความพร้อมในการขายแฟรนไชส์ ในอัตราประมาณ 700,000 บาท ผู้ลงทุนคาดว่า จะคืนทุนภายในเวลา 1 ปี 1 เดือน ทั้งนี้ จะใช้ระบบส่งวัตถุดิบที่จำเป็นให้ประมาณ 70% เช่น เส้นราเมน , หัวน้ำซุป , เนื้อสัตว์ปรุงรส เป็นต้น ส่วนที่เหลือ เป็นของที่หาซื้อได้ง่ายในท้องตลาดให้แฟรนไชซีรับผิดชอบเอง
 
“ค่าแฟรนไชส์นี้ อาจจะมองว่า แพง แต่เราต้องการอัปเกรดให้เป็นแฟรนไชส์ระดับสากลจริง ๆ ไม่อยากปล่อยถูกๆ ถ้าไปเจอผู้ลงทุนตัวปลอม พอเขาซื้อไปแล้ว ทำโดยไม่ใส่ใจ ผมก็ต้องมาปวดหัวกับแฟรนไชซี ส่วนเกณฑ์การคัดเลือก สำคัญคือ ต้องมีหัวใจรักงานบริการ มีความมุ่งมั่นเป็นผู้ประกอบการจริงๆ และต้องมีเวลาดูแลธุรกิจ เพราะในความเป็นจริง ถึงแม้เราจะมีระบบที่ดีแค่ไหน แต่หากแฟรนไชซีไม่ใส่ใจดูแล ก็อยู่ไม่ได้”
 
 
 

ตั้งเป้าขยาย 7 สาขา
 
ทั้งนี้ วางเป้าจะขยายแฟรนไชส์ 7 สาขาภายในปีนี้ ในกทม. ปริมณฑล และภาคตะวันออก เน้นกลุ่มลูกค้าพนักงานบริษัท , ครอบครัว และวัยรุ่น อีกทั้ง มีแผนขายรูปอาหารญี่ปุ่นทานเล่นแบบคีออส ใช้แบรนด์ของคินเซน ราเมน เช่นกัน และวางเป้าระยะยาว อยากไปเปิดตลาดประเทศมาเลเซีย ซึ่งลูกค้านิยมทานราเมน ในขณะที่แบรนด์ที่เปิดขายอยู่ในปัจจุบันราคาสูงมาก
 
ภคิน กล่าวทิ้งท้ายว่า ไม่กังวลความนิยมอาหารญี่ปุ่นจะหมดไป เพราะวิเคราะห์จากสัญญาณที่แบรนด์ใหญ่ อย่าง “โออิชิ ราเมน” เร่งขยายภัตตาคารอาหารญี่ปุ่น ในขณะที่ “ฮะจิบัง ราเมน” ขยายสาขาเข้าไปที่ห้างเทสโก้ โลตัส ส่วนคู่แข่งธุรกิจอาหารญี่ปุ่นรายย่อยๆ แม้จะเกิดใหม่จำนวนมาก แต่ยังมั่นใจในจุดแข็งด้านการผลิตได้ด้วยต้นทุนต่ำ ทำให้มีศักยภาพเหนือกว่าคู่แข่ง
 
“ทุกวันนี้ ใครๆ ก็พยายามเข้ามาขอส่วนแบ่ง เหมือนกับเค้กก้อนหนึ่งที่หอมหวาน ก็อยากมาตัดแบ่ง และเมื่อมองเศรษฐกิจตอนนี้ ผมว่า ในระยะเวลา 3 ปีต่อจากนี้ มันจะเป็นขาขึ้น เพราะน้ำมันราคาสูงเช่นนี้ เศรษฐกิจก็ยังไม่ตก คนยังจับจ่ายใช้สอยอย่างปกติ ธุรกิจนี้ ก็คิดว่า ยังน่าจะมีอนาคต

โทร. 0-6390-9698 , 0-6312-0881 และ (038) 613-054 
 
อ้างอิงจาก: ผู้จัดการออนไลน์
ดาวเด่นแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
รวบรวมขนมปัง 20 บาท มาเอาใจคนอยากมีร้าน
157,522
ชานมไข่มุกปลุกตลาด 7 พันล้าน เทรนด์‘ไต้หวันกลับซ..
99,645
กาแฟสด ชาวดอย ลงทุนน้อย ความเสี่ยงต่ำ ความคล่องต..
81,650
เนสท์เล่ ปูพรมร้านไอศกรีมลงทุนเอื้ออาทร สานฝันคน..
77,808
ปั่นแหลก น้ำผลไม้สด แซงโค้งเข้าวินสร้างอาชีพ
76,558
“เคพีเอ็นพลัส” แฟรนไชส์อะไหล่มอ’ไซด์ ลั่นขยาย100..
55,082
ดาวเด่นแฟรนไชส์มาใหม่
ดาวเด่นแฟรนไชส์อื่นในหมวด