ดาวเด่นแฟรนไชส์    ค็อกเทล“บาร์เทนเดอร์” ชูขายถูก-จูงใจด้วยพริตตี้
8.6K
24 ธันวาคม 2551
ค็อกเทล “บาร์เทนเดอร์” ชูขายถูก-จูงใจด้วยพริตตี้


 
คลอดธุรกิจค็อกเทล รูปแบบคีออสแบรนด์ “บาร์เทนเดอร์” ด้วยเงินลงทุน 39,000 บ. โชว์จุดเด่นผลิตวัตถุดิบได้เอง ทำให้มีต้นทุนต่ำ เพียงประมาณแก้วละ 10 บาท ผู้ลงทุนสามารถไปทำกำไรเพิ่มได้ถึง 2-4 เท่าตัว พร้อมโปรแกรมส่งเสริมการตลาดด้วยทีมสาวๆ พริตตี้ ช่วยกระตุ้นยอดขายล่อใจลูกค้า 
 
ธนบรรพ รักเจือเจริญ ประธานบริษัท บาร์เทนเดอร์ จำกัด ร่วมกันเปิดเผยว่า จากที่บริษัทฯ ทำธุรกิจโรงงานผลิตลิเคอร์ (Liqueur) (เหล้าหวาน ซึ่งเป็นส่วนผสมสำคัญในการทำค็อกเทล) แบรนด์ “Pop up” ซึ่งเปิดตัวมากว่า 1 ปี กลุ่มลูกค้า คือ โรงแรม และสถานบันเทิงต่างๆ อีกทั้ง ยังทำธุรกิจศูนย์ฝึกอบรมอาชีพ “บาร์เทนเดอร์” ดังนั้น จึงคิดต่อยอดธุรกิจให้กับผู้มาฝึกอบรม หรือผู้สนใจทำธุรกิจค็อกเทล ด้วยการออกเป็นคีออสเคลื่อนที่แบรนด์ “บาร์เทนเดอร์” 
 
“สูตรค็อกเทลของเราเป็นมาตรฐานสากล เมื่อคุณจบสามารถประกอบอาชีพบาร์เทนเดอร์ได้เลย ส่วนการออกเป็นคีออสเป็นความคิดต่อเนื่องว่า เมื่อเราสอนให้ทำเป็นแล้ว เขาจะมีช่องทางจำหน่ายอย่างไร เพราะยังไม่มีสถานที่ ไม่มีอุปกรณ์ จึงเป็นความคิดที่จะทำคีออสขึ้น โดยมีอุปกรณ์พร้อมเริ่มต้นธุรกิจได้ทันที” 
 
 
 
ทั้งนี้ รูปแบบการลงทุน ด้วยเงิน 39,000 บาท จะได้รับ คีออส / เหล้าเบื้องต้น 1 ชุด /อุปกรณ์การทำงานทั้งหมด / ชุดบาร์เทนเดอร์ และอบรม 3 วัน โดยมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายไว้ที่ระดับบีบวก ตั้งวางขายในสถานที่ เช่น ผับ / บาร์ / สถานบันเทิง และร้านอาหาร 
 
ธนบรรพ เปิดเผยว่า จุดเด่นของธุรกิจ “บาร์เทนเดอร์” มาจากต้นทุนที่ต่ำ เนื่องจากบริษัทฯ ผลิตลิเคอร์ได้เอง ซึ่งเป็นลิเคอร์ ที่ใช้วัตถุดิบกากน้ำตาล (Molasses) ในประเทศ กับส่วนผสมสารปรุงแต่งต่างๆ (Flavor) สั่งตรงจากบริษัทของอังกฤษ คุณภาพจึงไม่ต่างกับลิเคอร์นำเข้า ขายในราคา 300-375 บาท ซึ่งถูกกว่านำเข้าถึง 40 – 60% ส่งให้ต้นทุนค็อกเทลเหลือเพียงประมาณ 10 บาท/ แก้ว ซึ่งผู้ลงทุนสามารถไปขายทำกำไรเพิ่มได้กว่า 2-4 เท่าตัว โดยบริษัทฯ จะให้สิทธิ์ผู้ลงทุนกำหนดราคาขายเอง ตามความเหมาะสมของปัจจัยรอบด้าน เช่น ค่าเช่าสถานที่ , ค่าจ้างพนักงาน เป็นต้น 
 
“แม้ว่า ราคาต้นทุน จะประมาณแก้วละ 10 บาท แต่การตั้งราคา จะแนะนำว่า ถ้าต้นทุนถูก แต่คุณไปขายแพง จะเจ็บตัวในภายหลัง เนื่องจากการทำธุรกิจในปัจจุบัน ต้องถูกและดี ถ้าอยากจะขายในตลาดกว้าง ควรเน้นได้กลุ่มลูกค้าปริมาณมาก แต่ถ้าเน้นขายแพง ทำให้การต่อยอดลูกค้าเป็นเรื่องยาก ดังนั้น คิดว่า ราคาที่ตั้งควรจะเพิ่มจากต้นทุนประมาณ 2 - 4 เท่าตัว เพราะถ้าขายถูกเกินไป ก็ทำให้ดูว่า เป็นเหล้าไม่มีคุณภาพ” 
 
ธนบรรพ กล่าวถึง จุดเด่นอีกประการ บริษัทฯ ผลิตลิเคอร์ได้กว่า 200 ชนิด ทำให้ลูกค้ามีทางเลือกหลากหลาย โดยสูตรค็อกเทลของ “บาร์เทนเดอร์” มาจากต้นตำรับประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งตนเองได้ไปศึกษา และนำกลับมาฝึกอบรมให้ด้วยตัวเอง 
นอกจากนี้ มีการตั้งบริษัทในเครือ ชื่อ บริษัท บาร์เทนเดอร์ อีเวนท์ จำกัด เพื่อรองรับการบริการหลังการขายให้ลูกค้า เช่น ด้านการบริหาร , การส่งสินค้า , การตลาด เช่น ส่งทีมสาวพริตตี้จำนวน 2 คน กับเจ้าหน้าที่บริษัทฯ ไปช่วยกระตุ้นยอดขาย ในการเริ่มต้นเปิดสาขา เป็นเวลา 3 วัน ซึ่งค่าใช้จ่ายต่างๆ อาทิ ค่าที่พัก , ค่ารถ จะเป็นการรับผิดชอบร่วมกันระหว่างบริษัทฯ กับผู้ลงทุน ในอัตราส่วนแล้วแต่กรณีๆ ไปตามแต่ตกลง นอกจากนี้ บริษัทฯ จะมีการจัดกิจกรรมกระตุ้นการตลาดให้เสมอๆ ตามเกณฑ์ของบริษัทฯ 
 
 
 
“ต้องยอมรับว่า ธุรกิจนี้ ต้องการความสวย ความงาม ความหรู ถ้าไม่มี นักดื่มก็ไม่ค่อยมาสนใจ คนแก่ขายก็ไม่ได้ ต้องเอาคนสาวคนหล่อมาขาย ฉะนั้น เราจะมีน้องๆ พริตตี้ ไปช่วย โดยคัดคนที่ฉลาด และเก่ง เราไม่ยอมให้แค่ไปเดินเสิร์ฟเท่านั้น แต่สาวๆ ต้องแนะนำเมนูได้ โดยการส่งไปช่วย 3 วัน ในต่างจังหวัด ถือว่าเพียงพอแล้ว และถ้าลูกค้ามีงานอื่นๆ ที่ต้องการกระตุ้นการขาย ก็สามารถเรียกร้องมาได้ เราพร้อมบริการได้ทั่วถึง”
 
ประธานบริษัท มั่นใจว่า ผู้ลงทุน จะสามารถทำ รายได้อย่างต่ำ 2,000 – 5,000 บาท / วัน คืนทุนภายใน 1 เดือน โดยตั้งเป้าว่า ในปีนี้ จะขยายได้อย่างน้อย 13 สาขา และหวังว่า ในอนาคตอยากขยายสูงสุดถึง 200 สาขา 
 
ทั้งนี้ มีเงื่อนไขสำหรับผู้ลงทุน ต้องซื้อลิเคอร์จากบริษัทฯ เท่านั้น เพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพรสชาติของค็อกเทลไม่ให้เพี้ยนไปจากมาตรฐาน แต่หากมีผู้ลงทุน ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว ทางบริษัทฯ จะขอปลดป้ายแบรนด์ “บาร์เทนเดอร์” คืน ส่วนอุปกรณ์ต่างๆ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ลงทุน 
 
ส่วนปัญหาด้านกระแสสังคมค้านของธุรกิจประเภทนี้ ธนบรรพ บอกว่า ค็อกเทลเป็นสุราสำหรับคนระดับบน ที่ต้องการดื่มเพื่อความสุนทรีย์มากกว่าเพื่อมึนเมา จึงไม่มีปัญหาการต่อต้านของสังคม ส่วนที่ภาครัฐบาล กำลังมีแผนขึ้นภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ส่วนตัวยอมรับเหตุผลของภาครัฐ แต่คงกระทบกับธุรกิจแน่นอน การแก้ปัญหา จึงต้องขยายฐานลูกค้า เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต ให้ต้นทุนลดลง 
 
อ้างอิงจาก: ผู้จัดการออนไลน์
ดาวเด่นแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
รวบรวมขนมปัง 20 บาท มาเอาใจคนอยากมีร้าน
157,522
ชานมไข่มุกปลุกตลาด 7 พันล้าน เทรนด์‘ไต้หวันกลับซ..
99,645
กาแฟสด ชาวดอย ลงทุนน้อย ความเสี่ยงต่ำ ความคล่องต..
81,650
เนสท์เล่ ปูพรมร้านไอศกรีมลงทุนเอื้ออาทร สานฝันคน..
77,808
ปั่นแหลก น้ำผลไม้สด แซงโค้งเข้าวินสร้างอาชีพ
76,558
“เคพีเอ็นพลัส” แฟรนไชส์อะไหล่มอ’ไซด์ ลั่นขยาย100..
55,082
ดาวเด่นแฟรนไชส์มาใหม่
ดาวเด่นแฟรนไชส์อื่นในหมวด