บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    กฎหมายและข้อบังคับ    สัญญาแฟรนไชส์
4.0K
2 นาที
3 ตุลาคม 2559
ข้อพิจารณาเมื่อแฟรนไชส์เลิกสัญญากัน
 

ธุรกิจแฟรนไชส์เหมือนดั่งสามีภรรยาที่แต่งงานกัน เมื่อถึงช่วงเวลาที่มีปัญหาทะเลาะวิวาทกัน ก็ต้องเกิดการฟ้องร้องอย่าร้างกัน ระบบธุรกิจแฟรนไชส์ก็เช่นเดียวกัน เมื่อเกิดปัญหาข้อพิพาทระหว่างกัน ก็มีการฟ้องร้อง ยกเลิกสัญญากัน 
 
สาเหตุการยกเลิกสัญญาแฟรนไชซอร์ระหว่างกัน อาจมีได้หลายสาเหตุ เช่น สถานะของแฟรนไชส์ซีเปลี่ยนไป ล้มละลาย ไม่หายใจ พิการ ไม่ทำตามหน้าที่ในสัญญา เอาเครื่องหมายการค้าไปใช้ที่อื่น ไม่จ่ายค่าสิทธิ ไม่ส่งรายงาน ไม่ทำตามมาตรฐานระบบแฟรนไชส์ที่กำหนดไว้ในสัญญา ทำให้เสียชื่อเสียงของธุรกิจแฟรนไชส์ 
 
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com มีข้อควรพิจารณาที่ต้องหยิบยกมาพูดกัน เพื่อทำการตกลงกัน เมื่อแฟรนไชส์ซอร์ยกเลิกสัญญาระหว่างกันกับแฟรนไชส์ซี ซึ่งสถานะก็เหมือนกับการอย่าร้างกัน ไม่มีข้อผูกมัดใดๆ ต่อกัน แต่เรื่องข้อกฎหมายต้องพูดคุยกัน ทั้งสองฝ่ายจะต้องทำอย่างไร มาให้แฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีได้ร่วมกันพิจารณาครับ  
 
สิ่งที่ต้องพิจารณาเมื่อเลิกสัญญาแฟรนไชส์
 
  1. เงินหรือหนี้ที่ค้างชำระ
  2. การคืนเงินค้ำประกัน
  3. การคืนคู่มือประกอบธุรกิจ
  4. การไม่เปิดเผยความลับและไม่ประกอบธุรกิจแข่งขันกัน
  5. การซื้อคืนสินค้า วัตถุดิบ หรือเครื่องมือและอุปกรณ์
  6. การหยุดให้เครื่องหมายของแฟรนไชส์ซอร์ (ป้ายร้าน สัญลักษณ์ในวัสดุอุปกร์ต่างๆ)
  7. การให้ยืมป้าย (เป็นการให้เช่าต่อ) 
หัวข้อพิจารณาต้องระบุในสัญญาแฟรนไชส์

 
ในสัญญาแฟรนไชส์ควรจะระบุในกรณีที่เลิกสัญญาเอาไว้ด้วยว่า มีกรณีใดบ้างที่จะเลิกสัญญาแฟรนไชส์ต่อกันได้ เช่น อาจจะเสียชีวิต หรือ มีคดีผิดกฎหมาย หรือกรณีผิดสัญญาร้ายแรง เช่น ไม่ชำระค่าสิทธิ เป็นต้น
 
สำหรับการขายแฟรนไชส์ จำเป็นจะต้องถ่ายทอดวิชาเฉพาะธุรกิจนั้นๆ ให้ผู้ซื้อ เช่น ร้านอาหารอาจจะมีเคล็ดลับเรื่องสูตรอาหารหรือกลยุทธ์พิเศษในเรื่องของการทำการตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเปิดเผยคู่มือในการทำธุรกิจ ที่มีรายละเอียดทุกอย่าง ที่เจ้าของแฟรนไชส์ได้ศึกษาขึ้นมา ด้วยประสบการณ์เป็นเวลานาน 
 
เมื่อได้ถ่ายทอดให้แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ไปแล้ว อาจจะมีโอกาสที่จะถูกนำไปเปิดเผยได้ ดังนั้น ในสัญญาควรมีการกำหนดในเรื่องนี้ ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่จะต้องรักษาความลับ แม้กระทั่งเลิกสัญญาต่อกันไปแล้ว
 
ผลของการเลิกสัญญาแล้วจะเป็นอย่างไรต่อไป ผู้ขายแฟรนไชส์ควรจะกล่าวถึงไว้ในสัญญาด้วย เช่น เมื่อเลิกสัญญาแล้วก็ไม่มีสิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้า ป้ายร้าน สัญลักษณ์หรืออุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น
 
 
อย่างไรก็ตาม เมื่อเลิกสัญญาแล้ว ไม่ว่าจะเพราะเหตุบอกเลิกสัญญา หรือทำมาจนครบสัญญาก็ตาม ในสัญญาที่ใช้กันในเมืองนอก มักระบุด้วยว่าจะจัดการอย่างไรต่อ
อย่างเช่น ค่ารอยัลตี้ ที่ค้างอยู่ สินค้าที่ยังเหลือ ป้าย หรือเครื่องหมายต่างๆ ที่ติดอยู่ที่ร้าน หรือที่ตัวสินค้าจะทำอย่างไร หรือจะให้แฟรนไชส์ซอร์ซื้อคืนสินค้า วัตถุดิบ เครื่องมืออุปกรณ์ หรือจะให้ลบเครื่องหมายพวกนั้นออก 
 
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในร้านจะทำอย่างไร จะให้แฟรนไชส์ซีลบทิ้ง หรือแฟรนไชส์ซอร์จะเข้าไปลบเอง ถ้าต้องลบต้องทำในกี่วัน พวกนี้เป็นเรื่องที่ต้องคิด พิจารณาเมื่อสัญญาแฟรนไชส์เลิกกัน 
 
เห็นได้ว่า เมื่อยกเลิกสัญญาแฟรนไชส์ระหว่างกัน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม หัวข้อการพิจารณาหรือข้อกำหนดที่จะให้แฟรนไชส์ซีต้องทำตามเมื่อเลิกสัญญากัน ต้องระบุไว้ในสัญญาแฟรนไชส์ด้วย เพื่อเป็นเครื่องมือยืนยัน จะได้ไม่เกิดปัญหาข้อพิพาทตามมาภายหลัง โดยที่แฟรนไชส์ซียินยอมที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญา 
 


ท่านใดสนใจอยากให้ร่างสัญญาแฟรนไชส์โดยถูกต้องตามหลักกฎหมายแจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,351
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,505
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,254
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,897
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,270
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,228
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด