บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การบริหารธุรกิจ    การขยายธุรกิจ และบริหารสาขาแฟรนไชส์
3.4K
6 นาที
7 สิงหาคม 2561
อัพเดท! สถานการณ์ธุรกิจเเฟรนไชส์ออสเตรเลีย
 
ประเทศออสเตรเลียจัดเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 6 ของโลกมีประชากรประมาณ 24 ล้านคนมีระบบเศรษฐกจที่ดีทั้งยังเป็นเมืองแห่งการศึกษาที่เด็กไทยเข้าไปเรียนต่ออยู่เสมอ มีการคาดการว่าในออสเตรเลียมีคนไทยอยู่ถึง 40,000 คน มีร้านอาหารไทยกว่า 400 แห่ง เป็นอีกประเทศที่น่าไปลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์แต่การลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศออสเตรเลียจะน่าลงทุนจริงหรือเปล่า www.ThaiFranchiseCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอกัน


ภาพจาก www.facebook.com/gelareaustralia/

1. ภาพรวมตลาดธุรกิจเเฟรนไชส์ในออสเตรเลีย

 
ภาพจาก goo.gl/nh91ZD

รายงานโดย IBISWorld ระบุว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ออสเตรเลียขยายตัวปานกลางเฉลี่ยร้อยละ 3.4 ต่อปี แต่ในปี 2560-2561 ตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ จะขยายตัวร้อยละ 2.6 มีมูลค่าตลาด 178 พันล้านเหรียญออสเตรเลีย

โดยธุรกิจแฟรนไชส์ทมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ได้แก่ ธุรกิจบริการดูแลผู้สูงอายุ (aged-care services) บริการขนส่ง (courier services) บริการด้านสุขภาพ (health services) และธุรกิจค้าปลีกสินค้าอาหาร (food retail)

เนื่องจากชาวออสเตรเลียมีอายุยืน ขึ้นทำให้มีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น การเติบโตของตลาดซื้อขายสินค้าออนไลน์และการใส่ใจต่อสุขภาพของชาวออสเตรเลีย ประกอบกับปัจจัยทางเศรษฐกิจ เช่น การเติบโตของตลาดแรงงาน รายได้ประชากรสุทธิ ความเชื่อมั่นผู้บริโภค เป็นแรงกระตุ้นสภาธุรกิจแฟรนไชส์แห่งออสเตรเลีย (Franchise Council Australia)

ระบุว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ในออสเตรเลียเป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีการเติบโตและมีมูลค่าตลาดร้อยละ 4 ของ GDP ปัจจุบันมีธุรกิจแฟรนไชส์รวม1,746 แบรนด์ มีเจ้าของแฟรนไชส์รวม 5,591 ราย มีร้านแฟรนไชส์ประมาณ 79,000 แห่งและมีการจ้างงานกว่า470,000 ตำแหน่งทั่วประเทศ ทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ และขยายตัวได้ดีทั้งธุรกิจประเภทสินค้าและบริการ

2. ประเภทธุรกิจแฟรนไชส์และการแข่งขันในตลาด
รูปภาพที่ 1 แสดงประเภทธุรกิจแฟรนไชส์ในออสเตรเลีย


 
ตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ออสเตรเลียมีทั้งการขายสินค้าและการให้บริการแยกประเภทได้ดังนี้
  • ธุรกิจค้าปลีกร้อยละ 27.1 (ร้านซุปเปอร์มาร์เก็ต หนังสือ เฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์กีฬา ฯลฯ)
  • ธุรกิจบริการที่พักอาศัยและบริการอาหารร้อยละ 18.1 (โรงแรม อพาร์ทเมนต์ ร้านอาหารและร้านคาเฟ่)
  • ธุรกิจบริการประเภท Administration และ support services ร้อยละ 14.7 (บริการท่องเที่ยวและบริการสำนักงาน บริการทำความสะอาดบ้านและสวน)
  • ธุรกิจบริการเฉพาะด้านร้อยละ 10.5 (อู่ซ่อมรถยนต์ ธุรกิจดูแลสัตว์เลี้ยง บริการด้าน IT ร้านเสริมสวย)
  • ธุรกิจประเภทอื่นๆ ร้อยละ 29.6
ทั้งนี้ ธุรกิจแฟรนไชส์ร้อยละ 86 ในตลาดออสเตรเลียเป็นธุรกิจของออสเตรเลียเอง โดยมีธุรกิจประเภท อาหารจะได้รับความนิยมมากที่สุด เช่น Donut King, Michel’s Patisserie, Gloria Jean’s Coffees และ Crust Gourmet Pizza Bar
 
การแข่งขันในตลาด
 

ภาพจาก www.facebook.com/gelareaustralia/

การแข่งขันในตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ อยู่ในระดับปานกลางและมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากธุรกิจแฟรนไชส์ออสเตรเลียมีข้อบังคับและการกีดกันในการเข้าตลาดน้อยทำให้ธุรกิจสามารถเปลี่ยนรูปแบบเป็นแฟรนไชส์เพื่อเข้าสู่ตลาดได้ง่าย

อย่างไรก็ตามการแข่งขันส่วนใหญ่อยู่ในธุรกิจสินค้าอาหารและธุรกิจค้าปลีกมากกว่าธุรกิจบริการเฉพาะด้าน โดยเป็นการแข่งขันด้านราคา ประเภทสินค้าที่หลากหลายและความแข็งแกร่งของตราสินค้า

รวมไปถึงธุรกิจที่ให้บริการผ่านช่องทางออนไลน์ (บริการทางการเงินและบริการท่องเที่ยว) และธุรกิจแฟรนไชส์ข้ามชาติ อาทิ IGA (USA) Subway, McDonald, KFC, Domino’s Pizza, Pizza Hut, Nando’s, Red Roaster, 7- Eleven และ Blockbuster อีกด้วย
 
ธุรกิจแฟรนไชส์รายใหญ่ในออสเตรเลียประกอบด้วย

ภาพจาก goo.gl/Bm67Ts
  1. Metcash Limited มีสัดส่วนตลาดร้อยละ 5.6 ดำเนินธุรกิจค้าปลีกค้าส่งสินค้าอาหาร เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อุปกรณ์ Hardware ภายใต้แบรนด์ IGA ทั้งหมด Foodland FoodWork Luck7 ALM(Australian Liquor Marketers) Cellarbrations Bottle-O และ Mitre 10 มีมูลค่าตลาด 13.7 พันล้านเหรียญออสเตรเลีย
  2. Harvey Norman Holdings Ltd มีสัดส่วนตลาดร้อยละ 3.6 จาหน่ายเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์ Hardware มีมูลค่าตลาด 6.3 พันล้านเหรียญออสเตรเลีย
  3. Retail Food Group Limited ดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ภายใต้แบรนด์ต่างๆ อาทิ Donut King, Brumby’s Bakery, Michel’s Patisserie, Esquires Coffee, bb’s cafe, Gloria Jean’s Coffees, Cafe2U, The Coffee Guy, Caffe Coffee, Pizza Capers และ Crust Gourmet Pizza Bar มีมูลค่าตลาด 3.6 พันล้านเหรียญออสเตรเลีย
  4. McDonald มีมูลค่าตลาด 1.9 พันล้านเหรียญออสเตรเลีย
  5. 7-Eleven มีมูลค่าตลาด 1.4 พันล้านเหรียญออสเตรเลีย เป็นต้น
ทั้งนี้ จะเห็นว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีสัดส่วนตลาดเป็นส่วนมากในตลาดออสเตรเลียมีทั้งธุรกิจแฟรนไชส์จากต่างประเทศและธุรกิจแฟรนไชส์ของออสเตรเลียเอง
 
รูปภาพที่ 2 แสดงสัดส่วนตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ในแต่ละรัฐ

 
ธุรกิจแฟรนไชส์ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตเมืองใหญ่ที่สำคัญตั้งอยู่ในรัฐนิวเซาท์เวลส์มากที่สุดมีสัดส่วนร้อยละ 27.2้ รองลงมาคือ รัฐวิกตอเรียร้อยละ 25.1 รัฐควีนส์แลนด์ ร้อยละ 23.2 และ รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียร้อยละ 11.1 ตามลำดับ

ที่มา: IBISWorld

ตารางที่ 1 แสดงธุรกิจแฟรนไชส์ 10 อันดับชั้นนำที่ประสบความสำเร็จในตลาดออสเตรเลีย

แฟรนไชส์เซอร์
เงินลงทุน (โดยเฉลี่ย)
1. Poolwerx (ธุรกิจทำความสะอาดสระน้ำ)
50,000 – 100,000 เหรียญออสเตรเลีย
2. Battery world (จำหน่ายแบตเตอรี่ยานยนต์และอุปกรณ์ต่างๆ)
200,000 – 150,000 เหรียญออสเตรเลีย
3. Foodco (ธุรกิจร้านคาเฟ่)
250,000 – 500,000 เหรียญออสเตรเลีย
4. Coffee Club (ธุรกิจร้านคาเฟ่และมีผู้ประกอบการไทยเป็นผู้ถือหุ้น)
450,000 – 700,000 เหรียญออสเตรเลีย
5. Mad Mex (ธุรกิจร้านอาหารเม็กซิกัน)
375,000 – 450,000 เหรียญออสเตรเลีย
6. Gutter-Vac (ธุรกิจทำความสะอาดภายในบ้าน)
80,000 – 120,000 เหรียญออสเตรเลีย
7. Gelatissimo (ธุรกิจไอศรีม)
ตั้งแต่ 250,000 เหรียญออสเตรเลียขึ้นไป
8. Roll’d (ธุรกิจร้านอาหารเวียดนาม)
350,000 – 500,000 เหรียญออสเตรเลีย
9. Skinny’s Grill (ธุรกิจร้านอาหารเพื่อสุขภาพ มังสวิรัติและ Gluten free)
200,000 – 400,000 เหรียญออสเตรเลีย
10. Baker’s Delight (ธุรกิจร้านขนมปัง)
350,000 – 500,000 เหรียญออสเตรเลีย
 
 
ที่มา: www.businessfranchiseaustralia.com.au

นอกจากธุรกิจแฟรนไชส์ข้างต้นแล้ว ยังมีธุรกิจแฟรนไชส์ที่ได้รับรางวัลธุรกิจแฟรนไชส์ยอดเยี่ยมแห่งปี 10 อันดับแรก คือ Gutter-Vac (ธุรกิจทำความสะอาดภายในบ้าน), Smartline Mortgage Advisers (ธุรกิจบริการทางการเงิน), Ferguson Plarrre Bakehouses (ธุรกิจร้านเบเกอรี่), Mister Minit (ธุรกิจบริการซ่อมเบ็ดเตล็ด เช่น รองเท้า ตัดกุญแจ นาฬิกา), Soul Origin (ธุรกิจร้านเกาหลี), Kwik Kopy (ธุรกิจออกแบบและผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ), Snooze (ธุรกิจร้านเฟอร์นิเจอร์), Mrs Fields (ธุรกิจขนมขบเคี้ยว), Cafe2U (ธุรกิจรถขายกาแฟเคลื่อนที)่ และ Bridgestone Select (ธุรกิจอุปกรณ์อะไหล่ยานยนต์) เป็นต้น
 
ภาพจาก www.facebook.com/poolwerx
 
วันที่ 16 มีนาคม 2561 Kwik Kopy ซึ่งให้บริการด้านการออกแบบและบริการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ สาขา Miller Street North Sydney ได้รับรางวัลธุรกิจแฟรนไชส์ยอดเยี่ยมแห่งปี The 2018 NSW/ACT Franchise Council of Australia (FCA)Excellence in Franchising Awards ซึ่งจัดโดยสภาธุรกิจแฟรนไชส์ออสเตรเลีย (Franchise Council ofAustralia) ในรูปแบบธุรกิจแฟรนไชส์ (Single Unit Franchisee of the Year, two or more staff) รางวัลดังกล่าวจะเป็นแรงบันดาลใจ สร้างความเชื่อมั่น ทั้งต่อแฟรนไชส์ซอร์ แฟรนไชส์ซีและผู้บริโภค อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างแบรนด์ของธุรกิจให้แข็งแกร่งเหนือคู่แข่งในตลาด

ทั้งนี้ รางวัลธุรกิจแฟรนไชส์ยอดเยี่ยมแห่งปีมีหลายประเภท ได้แก่ NSW/ACT Multi-Unit Franchisee of the Year, NSW/ACT Single-Unit Franchisee of the Year (two or more staff), NSW/ACT Single-Unit Franchisee of the Year (less than two staff), NSW/ACT Franchise Woman of the Year และ NSW/ACT Field Manager of the Year


ภาพจาก www.facebook.com/gelareaustralia

3. กฎระเบียบและการกำกับดูแล

การดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ในออสเตรเลียจะอยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchising Code of Conduct) ฉบับใหม่ (แก้ไขปรับปรุงวันที่ 15 มกราคม 2558) เป็นบทบัญญัติที่คณะกรรมการด้านการแข่งขันและผู้บริโภคของออสเตรเลียกำหนดและกำกับดูแล ระเบียบข้อบังคับสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchising Code of Conduct) ฉบับใหม่ กำหนดให้แฟรนไชส์เซอร์ต้องมีความโปร่งใสและเปิดเผยรายละเอียดสัญญาและรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทให้มากกว่าเดิม มีสาระสำคัญคือ
  1. การเปิดเผยข้อมูลของผู้ให้แฟรนไชส์
  2. ข้อปฏิบัติบนพื้นฐานของความสุจริตและโปร่งใส
  3. สิทธิและเงื่อนไขในการทำสัญญา (cooling off period, การโอนและการสิ้นสุดสัญญาแฟรนไชส์)
  4. กลไกในการไกล่เกลี่ยเพื่อระงับข้อพิพาท
  5. ระเบียบปฏิบัติในการเลิกสัญญา
ธุรกิจแฟรนไชส์เป็นความสัมพันธ์ทางธุรกิจระหว่างแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี การเจรจาต่อรองของคู่สัญญาต้องเป็นไปตามความซื่อสัตย์และโปร่งใสและไม่ขัดต่อระเบียบข้อบังคับสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ และเป็นข้อปฏิบัติที่คู่สัญญาต้องปฏิบัติตาม หากมีการฝ่าฝืนจะถูกปรับสูงถึง 51,000 เหรียญออสเตรเลีย

การทำสัญญาแฟรนไชส์ส่วนใหญ่ประมาณ 5-10 ปี เงินลงทุนเริ่มต้นตั้งแต่ 28,000 เหรียญออสเตรเลียขึ้นไปนอกจากแฟรนไชส์ซีต้องศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิและข้อปฏิบัติภายใต้ระเบียบข้อบังคับสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ก่อนดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์แล้วยังต้องปฏิบัติตามกฎหมาย Competition and Consumer Act เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง

ภาพจาก goo.gl/ifRkEt
 
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและกำกับดูแล
  • สภาธุรกิจแฟรนไชส์ออสเตรเลีย (Franchise Council of Australia – FCA) เป็นตัวแทนของธุรกิจแฟรนไชส์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดตั้งมาตรฐานของระบบแฟรนไชส์ ของออสเตรเลียให้ เป็นมาตรฐานสากล พัฒนาอุตสาหกรรมแฟรนไชส์ในภาพรวม ให้ข้อมูลและความรู้กับธุรกิจแฟรนไชส์ผู้สนใจ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงประชาชนทั่วไป และให้บริการที่มีประสิทธิภาพและเพิ่มมูลค่าให้ กับอุตสาหกรรมแฟรนไชส์ ของออสเตรเลียศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ www.franchise.org.au
  • คณะกรรมการด้านการแข่งขันและผู้บริโภคของออสเตรเลีย (Australian Competition and Consumer Commission – ACCC) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ ควบคุมดูแลเกี่ยวกับการแข่งขันและการค้า เพื่อประโยชน์แก่ผู้บริโภค ผู้ประกอบการและชุมชนในท้องถิ่นอย่างเป็นธรรม และกำกับดูแลให้ภาคธุรกิจปฏิบัติตามกฎหมายด้านการแข่งขัน (Australian competition) การค้าที่เป็นธรรม (fairtrading) และการคุ้มครองผู้บริโภค (consumer protection laws) โดยเฉพาะกฏหมาย Competition and Consumer Act 2010 ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ www.accc.gov.au
  • คณะกรรมการกำกับตลาดหลักทรัพย์และการลงทุน (Australian Securities and Investments Commission- ASIC) ดูแลเกี่ยวกับการจดทะบียนบริษัทและการลงทุนในธุรกิจศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ www.asic.gov.au
  • หน่วยงานด้านภาษีของออสเตรเลีย (Australian Taxation Office – ATO) กำกับดูแลเกี่ยวกับภาษีศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ www.ato.gov.au
4. แนวโน้มตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ออสเตรเลีย
 
ภาพจาก goo.gl/fHkosZ

IBISWorld คาดการณ์ว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้า ตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ออสเตรเลียจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 2.1 ต่อปี มีมูลค่าตลาด 197.5 พันล้านเหรียญออสเตรเลีย เนื่องจากตลาดอยู่ในภาวะเติบโตเต็มที่ การขยายตัวส่วนใหญ่เป็นธุรกิจแฟรนไชส์ประเภทบริการที่ตอบสนองความต้องการของผู้มีรายได้แต่มีเวลาน้อย อาทิ บริการทำความสะอาดและทาสวน และบริการด้านสุขภาพ ธุรกิจเกี่ยวกับสปาและบริการเสริมความงาม

อาทิ ฟิตเนส โยคะ และสปา (ทั้งคนและสัตว์เลี้ยง) ซึงมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่อง ทั้งนี้การขยายตัวของธุรกิจแฟรนไชส์ยังขึ้นอยู่กับการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศ สถานะทางการเงินของประชากร ความเชื่อมั่นผู้บริโภค การแข่งขันในตลาดและสถานการณ์เศรษฐกิจโลกเป็นสำคัญ
 
5. โอกาสและอุปสรรคในการทาธุรกิจแฟรนไชส์ออสเตรเลีย

โอกาส
อุปสรรค
มีกฎข้อบังคับในการเข้าตลาดน้อย
ค่าเช่าพื้นที่และค่าแรงงานในเขต CBD สูง
มีความเสี่ยงต่ำ
การแข่งขันในตลาดเริ่มสูงขึ้น
ต้นทุนในการเริ่มต้นธุรกิจต่ำ
 
ธุรกิจแฟรนไชส์เฉพาะด้านขยายตัวได้ดีและคู่แข่งน้อย
 

5.1 โอกาสของผู้ประกอบการไทย
 
ภาพจาก goo.gl/tZc9AS

แฟรนไชส์ถือเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และมีศักยภาพ เนื่องจากมีการขยายตัวได้ง่าย และให้ประโยชน์ทั้งกับแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี แม้ว่าอุตสาหกรรมแฟรนไชส์ออสเตรเลียจะอยู่ในช่วงอิ่มตัว แต่ปัจจัยบวกอย่างรายได้ของผู้บริโภค ยังทำให้ออสเตรเลียเป็นตลาดที่น่าสนใจสำหรับแฟรนไชส์ไทยที่ต้องการขยายตลาดมายังออสเตรเลีย

โดยแฟรนไชส์ที่มีความเป็นไปได้สูงได้แก่ ธุรกิจแฟรนไชส์ด้านบริการ ได้ แก่ ร้านนวดและร้านอาหารซึ่งไทยมีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในตลาดสากลอยู่แล้ว จึงน่าจะทำให้ขยายตลาดเข้ามาในออสเตรเลียได้ไม่ยากอีกทั้ง ธุรกิจแฟรนไชส์ยังมีความเสี่ยงและต้นทุนต่ำ ได้รับการสนับสนุนและช่วยเหลือจากแฟรนไชส์เซอร์ทั้งด้านการตลาดและการฝึกอบรม

5.2 ปัจจัยในการประสบความสำเร็จ
 
ปัจจัยในการประสบความสำเร็จสำหรับ ธุรกิจแฟรนไชส์มีหลายประการ ได้แก่ ศึกษาความต้องการของตลาดและความเป็นไปได้ในการเริ่มต้นธุรกิจและเลือกระบบแฟรนไชส์ที่เหมาะสม รักษาและสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างของแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี การวางตำแหน่งทางการตลาดที่ชัดเจน ความเชี่ยวชาญในการกำหนดกลยุทธ์การตลาดของแฟรนไชส์ซอร์และการดำเนินงานของแฟรนไชส์ซี

ความสามารถในการควบคุมสินค้าคงเหลือและควบคุมต้นทุนให้อยู่ในระดับต่า มีแบรนด์ที่แข็งแกร่งและน่าเชื่อถือ มีทรัพยากรบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญ มีฐานลูกค้าที่มีความภักดีต่อแฟรนไชส์และการสื่อสารกับผู้บริโภคที่หลากหลายช่องทางโดยเฉพาะช่องทางออนไลน์อาทิ แอพพลิเคชั่น โซเชียลมีเดีย และ Facebook เป็นต้น

5.3 ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ต้องการในตลาด

ภาพจาก goo.gl/15RzZg

ธุรกิจแฟรนไชส์ด้านบริการที่มีการขยายตัวในช่วงปีที่ผ่านมา คือ บริการแฟรนไชส์ด้านการดูแลผู้สูงอายุบริการด้านสุขภาพ ธุรกิจค้าปลีกสินค้าอาหารและบริการที่พัก ธุรกิจทำความสะอาดบ้าน สวน ธุรกิจเสริมสวย ดูแลสัตว์เลี้ยง ธุรกิจแฟรนไชส์ใหม่ๆ ที่กำลังมาแรงคือ ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ให้บริการประเภท Mobile franchises เป็นธุรกิจที่มีวงเงินลงทุนต่ำและคุ้มทุนเร็ว ได้แก่ Foodvans, home cleaning, health and beauty, 24 hour gyms และ Personal training เป็นต้น
 
5.4 สาเหตุที่ธุรกิจแฟรนไชส์ประสบความล้มเหลว

การทำธุรกิจไม่ได้มีเพียงความสำเร็จเพียงอย่างเดียว ที่ผ่านมาผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ที่ประสบภาวะยากลำบากและล้มเหลวต่างให้เหตุผลถึงสาเหตุหลากหลายประเด็นดังนี้
  1. การแข่งขันในธุรกิจเริ่มรุนแรงมากขึ้น
  2. ต้นทุนสูงขึ้น (ค่าเช่าพื้นที่ในเขต CBD และค่าแรงงาน)
  3. ออสเตรเลียมีกฎหมายแรงงานที่เข้มงวด ทำให้มีการฟ้องเกี่ยวกับการละเมิดกฎหมายแรงงานบ่อยครั้งดังนั้นผู้ที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจในออสเตรเลีย ควรศึกษาสถานการณ์ตลาด ความต้องการในตลาด ต้นทุนทางธุรกิจและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ก่อนตัดสินใจ
6. งานแสดงสินค้าที่เกี่ยวข้อง
 

ภาพจาก goo.gl/6Gpo3a

งานแสดงสินค้า : Franchising Expo & Business Opportunities เป็นงานแสดงแฟรนไชส์และบริการที่เกี่ยวข้องกับแฟรนไชส์ที่ใหญ่ที่สุดในออสเตรเลีย โดยจัดขึ้นปีละครั้ง ในเมืองสำคัญทั่ว ประเทศได้แก่ซิดนีย์ บริสเบน เมลเบิร์น และเพิร์ธ โดยเป็นงานที่รวมตัวนักธุรกิจที่สนใจจะจำหน่ายแฟรนไชส์ หรือซื้อแฟรนไชส์ จากทั่วประเทศและต่างประเทศรวมกว่า 97 ธุรกิจส่วนใหญ่เป็นธุรกิจ แฟรนไชส์ออสเตรเลีย เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและเจรจาธุรกิจ ภายในงาน

นอกจากนี้ ยังมีบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแฟรนไชส์ เช่น ที่ปรึกษาทางกฎหมาย แฟรนไชส์ ที่ปรึกษาด้าน กฎหมายแรงงาน นิตยสารและสื่อที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมแฟรนไชส์ หน่วยงานรัฐบาลต่าง ๆ ที่ให้การสนับสนุนด้านแฟรนไชส์ เข้าร่วมงานอีกด้วย

ระยะเวลาและสถานที่จัดงาน:
  • 17-18 มีนาคม 2561 ที่ International Convention Centre Sydney (ICC) ณ นครซิดนีย์
  • 6 พฤษภาคม 2561 ที่ Crown Perth ณ นครเพิร์ธ
  • 21-22 กรกฎาคม 2561 ที่ Brisbane Convention & Exhibition Centre ณ นครบริสเบน
  • 25-26 สิงหาคม 2561 ที่ Melbourne Convention & Exhibition Centre ณ นครเมลเบิร์น
ผู้จัดงาน : Franchise Council Australia
เว็บไซต์ : www.franchise.org.au
 
7. ข้อคิดเห็น
 
ผู้ประกอบการไทยที่ ต้องการจำหน่ายแฟรนไชส์ ของไทยในออสเตรเลีย สามารถเข้าร่วมงาน Franchising Expo & Business Opportunities ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าและบริการของอุตสาหกรรมแฟรนไชส์ที่ครบถ้วนเหมาะสำหรับผู้ต้องการขยายธุรกิจ ในรูปแบบแฟรนไชส์และผู้ที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจโดยการซื้อแฟรนไชส์

อีกทั้งยังมีบริการให้คาปรึกษาเกี่ยวกับแฟรนไชส์และให้ความรู้เกี่ยวกับ ธุรกิจแฟรนไชส์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย รวมไปถึงการจัดอบรมสัมมนาให้ความรู้เกี่ยวกับการเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์และการนำกรณีศึกษาของธุรกิจแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จมาถ่ายทอดให้กับผู้เข้าชมงาน

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องศึกษากฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากออสเตรเลียมีกฎหมายการนำเข้าสินค้าอาหารและสินค้าเกษตรที่ค่อนข้างเข้มงวดและศึกษาถึงปัจจัยความเสี่ยงในการเข้า
ตลาด อาทิ ค่าเช่า ค่าดำเนินเอกสารและค่าจ้างที่ปรึกษากฎหมายให้รอบคอบก่อนตัดสินใจเข้าตลาด
 
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครซิดนีย์
เมษายน 2561

แหล่งที่มา
 
IBISWorld
Franchise Council of Australia
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
โกลเด้นเบรน (Golden Brain) คว้ารางวัล “MOST POPU..
4,651
บุกไทยแล้ว! Zhengxin Chicken แฟรนไชส์ไก่ทอดจีน ส..
3,843
ซื้อแฟรนไชส์ คาเฟ่ อเมซอน (Shop) วันนี้ คืนทุนเม..
3,497
6 อันดับแฟรนไชส์อาหารฟาสต์ฟู้ดส์ ที่มีสาขามากสุด..
1,810
Bingxue (บิงเสวีย) ท้าชน Mixue (มี่เสวี่ย) ในไทย..
1,599
5 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนกรกฏาคม 2567
1,322
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด