บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    โอกาสทางธุรกิจ    แฟรนไชส์ต่างประเทศ
359
2 นาที
2 กรกฎาคม 2567
ย้อนอดีต! 5 แบรนด์แฟรนไชส์อเมริกาที่ว่าแน่ แต่โบกมือลาไทย
 

แบรนด์แฟรนไชส์จากสหรัฐอเมริกาไม่ว่าจะขยายตลาดไปที่ประเทศไหน มักจะทำให้คู่แข่งในประเทศเหล่านั้นตกเป็นรองขึ้นมาทัน กลายเป็นเบอร์ 1 ในบรรดาธุรกิจแฟรนไชส์ประเภทเดียวกัน กรณีในไทยมีแมคโดนัลด์ เคเอฟซี สตาร์บัคส์ เซเว่นแต่รู้หรือไม่ว่ายังมีแบรนด์แฟรนไชส์จากอเมริกาที่ไม่ประสบความสำเร็จในไทย โบกมือลาไปแล้ว มาย้อนอดีตกันครับ
 
1. บาสกิ้น ร็อบบิ้นส์ (Baskin Robbins) 
 

ภาพจาก www.facebook.com/BaskinRobbinsThailand

แฟรนไชส์ไอศกรีมจากสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีสาขามากกว่า 7,682 สาขาทั่วโลก ก่อตั้งเมื่อปี 1945 (2488) โดยชาย 2 คน คือ ฺBurt Baskin กับ Irv Robbin ซึ่งทั้งสองคนเปิดร้านไอศกรีมในรัฐแคลิฟอร์เนียเหมือนกัน แต่คนละพื้นที่ ต่อมาทั้งคู่รวมธุรกิจกันใช้ชื่อแบรนด์ Baskin Robbins 
 
Baskin Robbins เข้ามาเปิดตลาดในไทยราวๆ ปี 2539 แต่การทำตลาดไม่หวือหวามากนัก หลังจากนั้นอยู่ภายใต้การบริหารของบริษัท โกลเด้น สกู๊ป จำกัด ในเครือ บมจ.มัด แอนด์ ฮาวด์ หรือ MUD ผู้บริหารแฟรนชไชส์ "ดังกิ้น โดนัท" 
 
ในปี 2563 แฟรนไชส์ไอศกรีม Baskin Robbins มีสาขากว่า 34 สาขา แต่ได้ลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่อง จนถึงปี 2564 เหลือเพียง 10 สาขาเท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นร้านขนาดเล็กคีออส
ปี 2565 เหลือ 4 สาขา คือ โรงพยาบาลศิริราช, สยามพารากอน, เค วิลเลจ, และ เดอะวอล์ค เกษตร-นวมินทร์ พอมาถึงต้นปี 2566 ทางร้าน Baskin Robbins ประกาศปิดกิจการทั้งหมดในไทย 
สาเหตุของการปิดกิจการในไทยมาจากการแข่งขันตลาดไอศกรีมในประเทศไทยสูงมาก ทำให้ผลประกอบการของ Baskin-Robbins ขาดทุนสะสมมาตลอด 
  • ปี 2562 รายได้ 103 ล้านบาท ขาดทุน 10.2 ล้านบาท
  • ปี 2563 รายได้ 63 ล้านบาท ขาดทุน 10.4 ล้านบาท
  • ปี 2564 รายได้ 52 ล้านบาท ขาดทุน 7.4 ล้านบาท 
2. เอแอนด์ดับบลิว (A&W)
 
ภาพจาก www.facebook.com/awthai/

แฟรนไชส์ร้านอาหารจากสหรัฐอเมริกา มีจุดเด่น คือ ขายรูทเบียร์ และวาฟเฟิล ก่อตั้งเมื่อปี 1919 (2462) ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย อเมริกา ปัจจุบันมีสาขากว่า 884 ทั่วโลก เข้ามาเปิดตลาดสาขาแรกที่ห้างเซ็นทรัลลาดพร้าว ปี 1983 (2526) ภายใต้การบริหารของบริษัท โกลบอล คอนซูเมอร์ จำกัด (มหาชน) ต่อมาขยายสาขาได้มากถึง 30 สาขาทั่วประเทศ ตามหัวเมืองใหญ่ในห้างสรรพสินค้าบางสาขาอยู่ตามปั้มน้ำมัน
 
พอมาถึงปี 2565 A&W ประกาศปิดสาขาอย่างน่าใจหาย โดยมาจากปัจจัยการแข่งขันในตลาดสูง พฤติกรรมของผู้บริโภคในประเทศ ส่งผลต่อรายได้ของบริษัทขาดทุนสะสมติดต่อกันหลายปี โดยเฉพาะในปี 2564 ขาดทุนกว่า 70 ล้านบาท ซ้ำหนักยังมาเจอการระบาดโควิด-19 อีก
 
3. คาร์ลซ จูเนียร์ (Carl’s Jr.)
 
ภาพจาก https://bit.ly/3RTm5B7

แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดขายแฮมเบอร์เกอร์จากสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งเมื่อปี 1941 (2484) ในแคลิฟอร์เนียร์ สหรัฐอเมริกา ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว สามารถขยายสาขาได้ถึง 300 สาขาในปี 1984 (2524) ก่อนที่จะเปิดขายแฟรนไชส์ในปี 1987 (2530) ปัจจุบันมีสาขากว่า 1,695 ทั่วโลก 
 
Carl’s Jr. เข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี 2555 ภายใต้การบริหารของบริษัท อาร์แอนด์อาร์ เรสทัวรองท์ กรุ๊ป จำกัด เปิดสาขาแรกที่พัทยา จำนวน 2 สาขา ก่อนขยายสาขามาในกรุงเทพฯ และที่อื่นๆ ปี 4 สาขา
  
ปีแรกๆ บริษัทตั้งเป้าเอาไว้ว่าจะใช้งบกว่า 80 ล้านบาท ทำการตลาด สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก พร้อมวางแผนขยายสาขาถึง 9 แห่ง เน้นพื้นที่กรุงเทพฯ แต่สุดท้ายไปต่อไม่ไหว จำเป็นต้องโบกมือลาในไทย
 
พอถึงปี 2565 บริษัทฯ ได้ประกาศปิดทุกสาขาในสิ้นเดือนมีนาคม จากปัจจัยขาดทุนสะสม อีกทั้งยังมาเจอการระบาดโควิด-19 ปี 2562 ขาดทุน 46 ล้านบาท ปี 2563 ขาดทุน 43 ล้านบาท 

4. The Coffee Bean & Tea Leaf (คอฟฟี่ บีน แอนด์ ทีลีฟ) 
 
ภาพจาก www.facebook.com/thecoffeebeanthailand

แฟรนไชส์ร้านกาแฟชื่อดังจากสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งเมื่อปี 1963 (2506) ต่อไปในปี 2014 (2557) ขยายสาขาหลาย 100 สาขาใน 27 ประเทศ ส่วนในไทยเข้ามาเปิดตลาดเมื่อปี 2013 (2556) ที่ศูนย์การค้าสยามเซ็นเตอร์ ภายใต้การบริหารบริษัท เอฟโวลูชั่น แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) ต่อจากนั้น The Coffee Bean & Tea Leaf ถูกโอนไปให้บริษัท ฟู้ด แคปปิตอล จำกัด ดูแล 
 
ต่อมาปี 2561 ฟู้ด แคปปิตอล ก็โอน The Coffee Bean & Tea Leaf กลับคืนไปให้ ฟิโก กรุ๊ป หรือกลุ่มศรีชาวาลา จนกระทั่งวันที่ 18 ก.ค. 2563 เพจ The Coffee Bean & Tea Leaf ได้ประกาศปิดกิจการถาวรทุกสาขาในวันที่ 20 ก.ค. 2563 เป็นช่วงการระบาดโควอด-19 พอดี 
 
5. Popeyes (ป๊อปอายส์)  
 
ภาพจาก https://bit.ly/3L4EJCp

แฟรนไชส์ร้านไก่ทอดชื่อดังจากอเมริกา ก่อตั้งเมื่อปี 1972 ปัจจุบันมีสาขากว่า 4,091 สาขาทั่วโลก เป็นแฟรนไชสืไก่ทอดที่เป็นรองแค่ KFC ในอเมริกา เข้ามาเปิดตลาดในไทยเมื่อปี 1995 โดยกลุ่มกรีนวัลเลย์ พอดำเนินธุรกิจไปได้ไม่นาน ก็มาจาวิกฤตต้มยำกุ้ง ลอยตัวเงินบาท ทำให้ต้นทุนการดำเนินธุรกิจสูงขึ้น Popeyes ต้องปรับตัวมาโดยตลอด แต่ก็ไปไม่ไหว โบกมือลาตลาดในไทย 
 
นั่นคือ 6 แบรนด์แฟรนไชส์ชื่อดังจากสหรัฐอเมริกา ที่ตอนนี้เป็นแค่ตำนานในเมืองไทย แต่แบรนด์แฟรนไชส์เหล่ายังเปิดให้บริการในสหรัฐอเมริกา และหลายประเทศทั่วโลก ปัจจัยที่ทำให้แบรนด์แฟรนไชส์ยักษฺใหญ่อเมริกาโบกมือลาไทย คือ การแข่งสูง ปรับตัวไม่ได้ พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน ทำให้ผลประกอบการขาดทุนสะสม อีกทั้งยังเจอการระบาดโควิด-19 

ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
3,697
ส่อง 72 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
1,817
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,536
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,078
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
802
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
774
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด