บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    โอกาสทางธุรกิจ    AEC
3.4K
2 นาที
11 กุมภาพันธ์ 2558
สภาวะตลาดภายในประเทศ และพฤติกรรมผู้บริโภคในประเทศเวียดนาม

1) สภาพธุรกิจ

ธุรกิจแฟรนไชส์เริ่มเข้ามามีบทบาทในเวียดนามในช่วงทศวรรษที่ 1990 โดยเริ่มจากการเข้ามาของธุรกิจ แฟรนไชส์จากสหรัฐอเมริกาในธุรกิจด้านขายอาหารจานด่วน (Fast-food Chain)

เช่น KFC, Pizza Hut, Lotteria และ Jollibee จากการเปิดประเทศของเวียดนามที่เพิ่มขึ้นหลังการที่เวียดนามเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (the World Trade Organization) ในปี 2007 ทำให้เวียดนามมีการปรับกฎหมายและระเบียบต่างๆ ในด้านแฟรนไชส์ ส่งผลให้ธุรกิจแฟรนไชส์ในเวียดนามมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงหลังทั้งแฟรนไชส์ของต่างประเทศและแฟรนไชส์ของธุรกิจในประเทศเอง

การเปิดเสรีภาคค้าปลีกแก่นักลงทุนชาวต่างประเทศยิ่งส่งผลให้เวียดนามเป็นประเทศที่เหมาะกับการทำธุรกิจนี้มากขึ้น แม้ว่าตลาดเวียดนามยังคงมีขนาดเล็ก แต่การแข่งขันกลับมีความรุรแรงขึ้นอันเกิดจากการเข้ามาของธุรกิจเจ้าของ Brand ดังจากต่างประเทศ

นอกจากนั้นแล้วนักธุรกิจชาวเวียดนามเองก็มีความสนใจและมีความเข้าในในธุรกิจประเภทนี้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ธุรกิจนี้ก็ยังจำกัดตัวเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ เช่น Hanoi และ Ho Chi Minh ที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อสินค้า Brand Name ได้ ในปี 2010 รายได้ต่อหัวของประชากรใน Hanoi อยู่ที่ 2,500 ดอลลาร์ สรอ. ต่อปี และใน Ho Chi Minh อยู่ที่ 3,000 ดอลลาร์ สรอ. ต่อปี ในปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์ในเวียดนามไม่ได้จำกัดตัวอยู่ที่ธุรกิจ Fast Food เท่านั้น ยังขยายไปสู่ธุรกิจอื่น เช่น ค้าปลีก การศึกษา การบันเทิง และการดูแลสุขภาพ ทำให้ปัจจุบันเวียดนามมีระบบนี้อยู่ประมาณ 96 แฟรนไชส์

2) ธุรกิจที่มีแนวโน้มที่ดี

ในปัจจุบันทางการเวียดนามได้เปิดตลาดสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ในหลายด้าน อาทิเช่น ธุรกิจค้าปลีก Fast Food ร้านอาหาร ธุรกิจแฟชั่น ร้านสะดวกซื้อ และการศึกษา ปัจจุบันมีธุรกิจแฟรนไชส์ของต่างประเทศเปิดกิจการในเวียดนามกว่า 70 แฟรนไชส์ เช่น Subway, Jollibee, Lotteria, BreadTalk, Carl’s Jr, Pizza Hut, Hard Rock Cafe’, Domino Pizza, Roundtable Pizza, Coffee Bean and Tea Leaf, Popeye’s Chicken, Illy Café’, และ Gloria Jean’s Coffee ธุรกิจแฟรนไชส์ของสหรัฐอเมริกาถือเป็นผู้นำตลาดอันเกิดจากชื่อเสียงชอง Brand และความนิยมของผู้บริโภคชาวเวียดนาม

โดยธุรกิจแฟรนไชส์ของสหรัฐอเมริกากระจายตัวในหลายธุรกิจ เช่น Fast Food ร้านอาหาร การศึกษา การดูแลสุขภาพ โรงแรม การทำความสะอาด บริการด้านความงาม การบันเทิง อาหารเสริมสุขภาพ และร้านสะดวกซื้อ นักธุรกิจชาวเวียดนามเองก็มีการจัดตั้งธุรกิจแฟรนไชส์ของตัวเองขึ้นเช่นกัน เช่น Trung Nguyen Coffee, Pho24, Kinh Do Bakery, AQSilk Shop and Go และ Coffee24Seven และมีหลายรายที่เริ่มรุกเข้าไปในตลาดต่างประเทศ เช่น Pho24 และ Trung Nguyen Cafe’ จากจุดแข็งในการผลิตเมล็ดกาแฟของเวียดนามเอง

3) กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

หลังจากการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแฟรนไชส์ได้มีการปรับปรุงไปมาก ในอดีตกฎหมายเวียดนามไม่ได้มีการคุ้มครองสัญญาแฟรนไชส์อย่างชัดเจน แต่ในปัจจุบันได้มีกฎหมายใหม่ (Decree No.35 และ Circular No.09) ที่มีการระบุถึงนิยามและข้อกำหนดในการทำสัญญาแฟรนไชส์ ตามกฎหมายเจ้าของแฟรนไชส์ชาวต่างประเทศ (Franchisor) ไม่จำเป็นต้องมีสำนักงานในเวียดนาม

อย่างไรก็ตาม เจ้าของแฟรนไชส์ชาวต่างประเทศต้องมีธุรกิจในเวียดนามอย่างน้อย 1 ปี จึงมีสิทธิโอนสิทธิแฟรนไชส์ได้ ผู้รับโอนสิทธิชาวเวียดนาม (Franchisee) จะต้องดำเนินธุรกิจกับเจ้าของแฟรนไชส์ชาวต่างประเทศในประเทศเวียดนามไม่น้อยกว่า 1 ปี จึงมีสิทธิรับโอนสิทธิแฟรนไชส์ได้ (Sub-franchising)

เจ้าของแฟรนไชส์ชาวต่างประเทศต้องไปขึ้นทะเบียนการทำธุรกิจแฟรนไชส์กับ Ministry of Industry and Trade (MOIT) ส่วนผู้รับโอนสิทธิชาวเวียดนามต้องไปขึ้นทะเบียนกับ Department of Industry and Trade ในพื้นที่นั้นๆ สัญญาแฟรนไชส์จะต้องเป็นภาษาเวียดนาม โดยอาจมีการแปลเป็นภาษาอังกฤษก็ได้

4) โอกาสในการทำธุรกิจแฟรนไชส์

ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อธุรกิจแฟรนไชส์ของชาวต่างประเทศในเวียดนาม มีดังนี้
  • รายได้ของผู้บริโภคชาวเวียดนาม พบว่าการพัฒนาเศรษฐกิจแบบตลาดในเวียดนามมีผลให้รายได้ประชาชาติต่อหัว (Per Capita GDP) ของชาวเวียดนาม โดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ เช่น Ho Chi Minh, Hanoi, Da Nang และ Can Tho มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ทำให้อำนาจซื้อของประชาชนเวียดนามสูงขึ้น
  • ประชาชนเวียดนามมีการศึกษาสูงขึ้น เปิดตัวสู่ตลาดโลกมากขึ้น มีพฤติกรรมการบริโภคแบบตะวันตกมากขึ้น ทำให้มีความต้องการสินค้าบริการมาตรฐานโลก มี Brand Name มากขึ้น เช่น KFC มีสาชาถึง 1,000 สาขาในเวียดนาม (2011) อาจกล่าวได้ว่าการขยายตัวของชนชั้นกลางในเวียดนามส่งผลดีต่อการขยายตัวของธุรกิจ แฟรนไชส์ในเวียดนาม
  • ความเข้าใจในธุรกิจแฟรนไชส์ของนักธุรกิจชาวเวียดนามยังมีไม่สมบูรณ์ ทั้งในเรื่องการทำสัญญาและการแบ่งปันผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย ทำให้มีความลำบากในการหาผู้ร่วมทุนชาวเวียดนาม
  • การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในเวียดนามยังไม่เข้มงวด ส่งผลให้เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ต้องมีมาตรการคุ้มครองของตนเอง เช่น การจด IP ของตนในเวียดนาม การจัดการกับผู้ละเมิดสิทธิ
  • ราคาอสังหาริมทรัพย์ในเมืองใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อต้นทุนในการเปิดร้าน
อ้างอิงจาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
9,015
ส่อง 72 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
5,503
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,636
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,573
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
837
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
829
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด