หน้าอินโฟกราฟฟิค    บทความ    เทคนิคบริหารจัดการยอดขายและเงินสดย่อยในธุรกิจแฟรนไชส์
1.6K
11 พฤศจิกายน 2565
เทคนิคบริหารจัดการยอดขายและเงินสดย่อยในธุรกิจแฟรนไชส์

เงินสดย่อย คือ เงินสดจำนวนหนึ่ง ที่ทางกิจการ มอบให้พนักงานคนหนึ่งเป็นผู้ดูแลส่วนใหญ่จะเป็นคนเดียวกันกับเจ้าหน้าที่บัญชี หรือ ฝ่ายการเงิน
 
ใช้สำหรับเบิกจ่าย ค่าใช้จ่ายต่างๆ ของกิจการที่ต้องจ่ายเป็นเงินสด เช่น ค่าพาหนะ ค่าชา กาแฟ นิตยสาร หรือ หนังสือพิมพ์ เป็นต้น
 
การควบคุมเงินสดย่อย
  1. กำหนดผู้รับผิดชอบเงินสดย่อย
  2. กำหนดวงเงินเพื่อความชัดเจน
  3. ไม่นำไปรวมกับเงินส่วนอื่น
  4. ใบเบิกต้องประทับตรา "จ่ายแล้ว"
  5. สรุปการจ่ายเงินสดย่อยทุกครั้ง
  6. ไม่ใช้เงินสดย่อยกับรายจ่ายของร้าน
  7. ตรวจสอบและยืนยันยอดอยู่เสมอ
ระบบเงินสดย่อย
 
ไม่ได้กำหนดวงเงินไว้แน่นอน
กำหนดวงเงินไว้แน่นอน
 
การตั้งวงเงินสดย่อย
 
เช่น กิจการ A ตั้งวงเงินสดย่อยไว้ เดือนละ 2,000 บาท
  1. ค่าน้ำมันรถส่งของ 200 บาท
  2. ค่ากาแฟ 50 บาท
  3. ค่ากระดาษ 40 บาท
  4. ค่าเดินทางของพนักงาน 100 บาท
รวมการเบิกเงินสดย่อย 390 บาท
 
ผู้รักษาเงินสดย่อยจะต้องนำเอกสาร การจ่ายเงิน 390 บาท ไปขอเบิกชดเชยจากฝ่ายการเงิน หรือ เจ้าของกิจการ
 
เพื่อนำกลับมาเติมวงเงินให้เท่าเดิมในต้นเดือนถัดไป และหมุนเวียนแบบนี้ทุกๆ เดือน จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่ม หรือ ลดวงเงิน
อินโฟกราฟฟิคที่น่าสนใจอื่นๆ