บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การบริหารธุรกิจ    ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์
4.9K
2 นาที
30 กรกฎาคม 2552

แฟรนไชส์ฟี : อัตราที่ไม่ใช่ อัตตา 

การจะกำหนดค่าแฟรนไชส์นั้นต้องมีหลักการคิดและรอบคอบ พอที่จะสร้างให้ฐานด้านการเงินทั้งของบริษัทแม่มีกำลังในการดูระบบทั้งหมด และบริษัทลูกก็มีกำลังพอที่จะจัดค่าธรรมเนียมไว้ได้โดยมีกำไรคงเหลือคุ้มกับการลงทุนด้วย

ส่วนใหญ่ในประเทศที่เริ่มธุรกิจแฟรนไชส์ใหม่ๆมักจะมีนักธุรกิจด้านนี้ที่วางค่าธรรมเนียมที่คิดเอาเอง คิดแบบตั้งราคาขายสินค้า เน้นว่า ขายเท่าไร จึงจะขายได้ ไม่ได้มองปัจจัยด้านอื่น เน้นการขาย ราคาในตลาดเป็นเกณฑ์ในการคิด หนักเข้าก็ใช้เทียนเล่มใหญ่ จุดปักเอาไว้คิด แบบอัตตาหิ อัตโนมัติ คือ ตนคิดเองเออเอง   แล้วหลักการคิดค่าแฟรนไชส์นั้นมีหรือไม่ ก็พอรวบรวมไว้ดังจะมีหลักการคิดต่อไปนี้

เริ่มจากแนวคิดค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์  Franchise Fees เสียก่อน ให้เข้าใจก่อนว่าค่าธรรมเนียมที่ต้องจัดเก็บนั้นเป็นค่าใช้จ่ายหรือบริษัทแม่นั้น เก็บทำไม
โดยปกติแล้วค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ถือเป็นค่าเรียกเก็บสำหรับ

  • ความรู้ (Know - How) เป็นการพัฒนาความรู้ที่สามารถทำได้โดยที่คนอื่นไม่รู้ หรือทำได้ไม่ดีเท่า ซึ่งแฟรนไชส์ซอร์ก็จะถ่ายทอดความรู้เหล่านี้ต่อให้กับ ผู้ซื้อที่เป็นแฟรนไชส์ซีด้วย การพัฒนาวิธีการทำงานต่างๆอาจจะเห็นจากรูปธรรมคือ คู่มือการประกอบการ ที่รวบรวมสารพันวิธีในการดำเนินธุรกิจทุกๆด้าน และนี่ก็คือความรู้ที่จะต้องสะสมจัดเก็บและรวบรวมไว้อย่างเป็นหมวดหมู่อย่างดี
     
  • เครื่องหมายการค้า (Trademarks) คือ การลงทุนชนิดหนึ่งของธุรกิจ ตราสินค้ากว่าจะได้รับการยอมรับจากลูกค้า มีชื่อติดใจติดปากคนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายนั้น ต้องลงทุนโฆษณา  ทั้งใช้เวลาและเงินทุนทั้งทางตรงทางอ้อม และตราที่ดีนี่แหละนำลูกค้ามาสู่ธุรกิจของเรา ดังนั้นจึงต้องมีค่าใช้จ่ายในการสร้างตราสินค้าที่แฟรนไชส์ซอร์ต้องมาคิดจากแฟรนไชส์ซี
     
  • การสร้างองค์กร (Organization Cost) การจัดทีมงาน การบริหารงานที่มีระบบต้องมีทีมงานที่เข้ามารับผิดชอบงานแต่ละส่วน การสร้างระบบงานแฟรนไชส์จะมีงานที่หน่วยงานกลางรับผิดชอบคอยช่วยเหลือร้านค้าในระบบทั้งหมด ที่ต้องมีค่าใช้จ่าย
     
  • การอบรม (Training) การสร้างหน่วยงานที่ให้ความรู้ทั้งพนักงานสายปฏิบัติงานและแฟรนไชส์ซี การจัดอบรมที่มีระบบและมีมาตรฐานก็ต้องมีค่าใช้จ่ายในการจัดการ
     
  • การเลือกทำเล (Location Selection) แฟรนไชส์ซอที่ต้องคัดเลือกผู้ลงทุนที่รอบคอบจะต้องมีการตรวจสอบพื้นที่และตรวจสอบความเป็นไปได้ในการลงทุน การทำการสำรวจที่ต้องมองกลุ่มลูกค้าเป็นการสร้างความมั่นใจทั้งแฟรนไชส์ซอร์และผู้ต้องการลงทุนที่จะเห็นภาพการลงทุนล่วงหน้าที่คาดการไว้ชัดเจน การสำรวจที่ดีก็ต้องมีการใช้งบประมาณและเวลาในการจัดทำอย่างรอบคอบเช่นกัน
     
  • ความช่วยเหลือจนกระทั่งเปิดดำเนินงาน นี่คือส่วนสำคัญของระบบงานแบบแฟรนไชส์  ที่ต้องมีทีมงานพร้อมในการเปิดร้านในพื้นที่ต่างช่วยเหลือแฟรนไชส์ซีในระยะแรกและสร้างระบบงานให้ดำเนินไปได้ดีก่อนที่จะปล่อยให้แฟรนไชส์ซีรับผิดชอบต่อไป
     
  • ค่าใช้จ่ายในการคัดเลือกแฟรนไชส์ซี ในกระบวนการสรรหาผู้ร่วมลงทุนมีค่าใช้จ่ายต่อเนื่อง รายชื่อกลุ่มที่สามารถคัดเลือกเป็นผู้ร่วมลงทุนในระบบนั้นล้วนต้องมีค่าใช้จ่าย ทั้งบุคลากร ค่าใช้จ่ายในการออกงานเพื่อส่งเสริมการขายระบบงาน  การสร้างเอกสารการขายงานระบบแฟรนไชส์ ที่เป็นต้นทุนในการจัดการทั้งสิ้น
     
  • ค่าใช้จ่ายในการควบคุมการตบแต่ง การทำงานให้กับแฟรนไชส์ซีด้านหนึ่ง คือ การควบคุมการก่อสร้างตกแต่งให้เป็นไปตามคุณภาพที่วางไว้ การดูแลและคัดเลือกผู้ก่อสร้าง ต่างๆทางแฟรนไชส์ซอร์จะเป็นผู้ช่วยเหลือดูแลให้ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการทำงานของแฟรนไชส์ซอร์ด้วย

สิ่งเหล่านี้จะเห็นได้ว่า กว่าระบบงานแฟรนไชส์จะสมบูรณ์จะต้องมีขั้นตอนและค่าใช้จ่ายประกอบตลอดเวลา แฟรนไชส์ซอร์ที่สร้างระบบงานขึ้นมาจะต้องมีการลงทุน และธุรกิจจะเดินต่อไปได้ก็ต้องมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเหล่านั้นจากผู้ได้ประโยชน์คือ แฟรนไชส์ซี นั่นเอง เฉพาะเรื่องค่าธรรมเนียมคิดอย่างไรให้ได้ประโยชน์นั้นต้องรอเพิ่มตอนหน้า กันใหม่ละครับ วันนี้ขอลาไปก่อน.....

บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,079
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,374
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,224
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,891
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,260
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,223
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด