บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    กฎหมายและข้อบังคับ    สัญญาแฟรนไชส์
3.9K
2 นาที
3 ตุลาคม 2559
กรอบแนวคิดในการทำสัญญาแฟรนไชส์ 
 
 
 
ธุรกิจที่ตัดสินใจดำเนินธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์แล้ว ไม่ว่าจะเป็นทางด้านผู้ซื้อหรือผู้ขายแฟรนไชส์ก็ตาม

ก็ควรจะทำความตกลงให้ชัดเจนในรูปของสัญญาแฟรนไชส์ เพราะหลักการพื้นฐานของระบบแฟรนไชส์ ถือว่าผู้ซื้อและผู้ขายมีความสัมพันธ์กันทางกฎหมาย ทางกลยุทธ์ ทางสัญญาแฟรนไชส์ อีกทั้งยังมีความทับซ้อนของเงื่อนไขสัญญาและกฎหมาย 
 
แม้ว่าระบบแฟรนไชส์จะมีความสัมพันธ์เหมือนดั่งสามีภรรยา แต่ก็เป็นบุคคลคนละครกัน ต่างคนต่างทำหน้าที่ตามสัญญา หลังจากเลิกสัญญา แฟรนไชส์ซีก็ต้องรักษาความลับและห้ามประกอบธุรกิจแข่งขัน
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะนำผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ ไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับกรอบแนวคิดเกี่ยวกับการทำสัญญาแฟรนไชส์ ว่าควรใส่แนวคิดอะไรลงไปบ้าง เป็นองค์ประกอบของสัญญาแฟรนไชส์ 
 
1. อยู่ภายใต้กฎหมายทั่วไป (ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะ)

 
สัญญาตามกฎหมายระหว่างแฟรนไชส์ซอร์กับแฟรนไชซี ซึ่งระบุสิทธิ์และข้อผูกมัดระหว่างสองฝ่าย รวมทั้งเงื่อนไขต่างๆ ซึ่งรวมถึงเงื่อนไขในการสิ้นสุดสัญญาและระยะเวลาที่สัญญาบังคับใช้ ข้อตกลงนี้จะถูกเขียนโดยทนายของฝ่ายแฟรนไชส์ซอร์

ดังนั้น ผู้สนใจจะเป็นแฟรนไชส์ซีควรปรึกษาผู้มีความรู้เกี่ยวกับข้อตกลงดังกล่าวในรายละเอียดก่อนที่จะเซ็นสัญญา เมื่อพบว่าเงื่อนไขมีความเข้มงวดจนเกินไป ก็ควรจะเจรจากับแฟรนไชส์ซอร์ก่อนที่จะตกลงใจทำสัญญา
 
2. กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างแฟรนไชส์ซอร์ / แฟรนไชส์ซี

 
ความสัมพันธ์ระหว่างแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี เหมือนการแต่งงานกัน ในระหว่างอายุสัญญาทั้ง 2 ฝ่าย มีความผูกพันตามสิทธิและหน้าที่ตามสัญญา และหลังเลิกสัญญาแฟรนไชส์ซีต้องรักษาความลับและห้ามประกอบธุรกิจแข่งขัน 
 
เช่น สัญญาแฟรนไชส์เซอร์รับว่าจะไม่อนุญาตให้ผู้อื่นใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าว เพื่อประกอบกิจการค้า ซึ่งเป็นการแข่งขันกับกิจการของแฟรนไชส์ซีในบริเวณอาณาเขต ตามกำหนด เว้นแต่กรณีที่แฟรนไชส์ซีไม่สามารถเปิดสถานประกอบกิจการค้าให้ครบถ้วนในอาณาบริเวณที่กำหนดให้  หรือ ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากแฟรนไชส์ซอร์
 
 
หรือ แฟรนไชส์ซีจะต้องใช้เครื่องหมายการค้าตามสัญญาแฟรนไชส์ เพื่อประกอบกิจการค้าตามปกติ และอยู่ในใต้ขอบเขตที่กำหนดไว้ในสัญญา แฟรนไชส์ซีตกลงว่าจะไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนหรือแย้งกับสิทธิ์อันเป็นประโยชน์แก่เจ้าของเครื่องหมายการค้าของแฟรนไชส์ซอร์  ไม่ว่าจะกระทำเพื่อของตนเอง หรือ ผู้อื่น 
 
ตลอดจนจะไม่กระทำการใดๆ หรือ ยอมให้กระทำการฝ่าฝืนกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ หรือ เป็นที่น่ารังเกียจแก่บุคคลใดในสภาพที่ประกอบการค้านั้น
 
3. กำหนดเงื่อนไขตามกลยุทธ์ธุรกิจ

 
เป็นลักษณะของเงื่อนไขกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ ที่แฟรนไชส์ซอร์จะต้องระบุในสัญญาแฟรนไชส์ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เช่น แฟรนไชส์ซอร์ตกลงอนุญาตให้แฟรนไชส์ซีใช้เครื่องหมายการค้าในสถานประกอบการค้าของแฟรนไชส์ซีได้  โดยแฟรนไชส์ซอร์จะให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการเกี่ยวกับการผลิตสินค้า การอบรม แก่แฟรนไชส์ซี
 
และ แฟรนไชส์ซีต้องใช้เครื่องหมายการค้าในสถานประกอบการค้าเฉพาะกับสินค้า ซึ่งได้ทำการผลิตตามกรรมวิธีของแฟรนไชส์ซอร์  โดยทำการผลิตสินค้าให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่แฟรนไชส์ได้กำหนดไว้เท่านั้น รวมถึงการอนุญาตให้แฟรนไชส์ซอร์เข้าตรวจร้านค้าได้ทุกเวลา สิ่งเหล่านี้ถือเป็นเงื่อนไขกลยุทธ์ธุรกิจ เพื่อความสำเร็จ 
 
4. ไม่อาจกำหนดรายละเอียดได้ทุกประเด็น

 
ในสัญญาแฟรนไชส์นั้น แฟรนไชส์ซอร์ไม่จำเป็นต้องระบุรายละเอียดในทุกข้อ ทุกประเด็น ที่ใส่ลงไปในสัญญาแฟรนไชส์ โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับ Know How ที่ต้องให้รายละเอียดแค่เบื้องต้นเท่านั้น ถ้าให้ไปหมด แฟรนไชส์ซีจดจำเอาไปเลียนแบบ แฟรนไชส์ซอร์ก็มีแต่ตายกับตาย

ดังนั้น รายละเอียดเกี่ยวกับความลับทางธุรกิจที่ไม่ควรเปิดเผย แฟรนไชส์ซอร์ก็ต้องเก็บไว้เป็นความลับ รู้เพียงคนเดียว ถ่ายทอดที่เป็นองค์ความรู้ กระบวนการทำงาน วิธีการปฏิบัติต่างๆ เป็นต้น
 
5. อาจไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดในการระงับข้อพิพาท


 
แม้ว่าบรรดาหนังสือหรือเอกสารต่างๆ ที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด จะส่งให้กับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อได้ส่งไปยังภูมิลำเนาของคู่สัญญาที่ระบุไว้ในสัญญานี้  ให้ถือว่าคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ได้รับหนังสือเอกสารดังกล่าวแล้ว และเป็นการส่งโดยชอบด้วยกฎหมาย

แต่หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นเกี่ยวกับสัญญาแฟรนไชส์ฉบับนี้ คู่สัญญาทั้งสองจะต้องตกลงระหว่างกัน ให้ทำการฟ้องร้องและดำเนินคดี ที่ศาลแพ่ง กรุงเทพมหานคร หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา 
 
จะเห็นได้ว่า กรอบแนวคิดของสัญญาแฟรนไชส์ จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายทั่วไป เพราะประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายแฟรนไชส์บังคับใช้ มีการฟ้องร้อง ขึ้นศาล

โดยภายในกรอบความคิดต้องระบุถึงความสัมพันธ์ของแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี สิทธิและหน้าที่ตามสัญญา และเงื่อนไขข้อปฏิบัติต่อกันของแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีในการทำสัญญาระหว่างกันด้วย   
 


ท่านใดสนใจอยากให้ร่างสัญญาแฟรนไชส์โดยถูกต้องตามหลักกฎหมายแจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,449
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,569
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,269
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,900
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,270
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,234
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด