บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การบริหารธุรกิจ    ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์
28K
2 นาที
22 พฤศจิกายน 2549
การตั้งค่ารอยัลตี้ฟีส์

 
มีแฟรนไชส์ซอร์ หรือผู้ที่กำลังพัฒนาระบบธุรกิจเข้าสู่ระบบ FRANCHISE มีปัญหาถาม ในใจ ว่าจะคิดค่า ROYALTY อย่างไรดี จึงจะถูกต้อง และยุติธรรมทั้ง 2 ฝ่ายทำให้เกิดประโยชน์ สูงสุดกับธุรกิจ ที่จริงคำถามนี้ไม่ยากเลย คำตอบที่ดีที่สุด ของการคิดค่า ROYALTY FEES ให้คิดราคาตลาดที่คิดกันอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าธุรกิจจะเป็น ร้านอาหาร หรือ CONVENIENT STORE ก็ตาม แต่ถ้าคิดว่าจะหาแนวทางของตนเองที่จะพัฒนาธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ และประสบความสำเร็จด้วยดีทุกฝ่าย ก็ต้องศึกษาเรื่องนี้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
 
จากระบบเดิมของแฟรนไชส์ยุคแรก ๆ คือระบบ Product Franchising ซึ่งแฟรนไชชี่จะทำหน้าที่ ขายอย่างเดียว และแฟรนไชซอร์จะเป็นผู้ผลิตและส่งสินค้าให้ ไม่สามารถประสบความสำเร็จในระบบธุรกิจหลาย ๆ ชนิดได้ โดยเฉพาะระบบธุรกิจอาหารซึ่งพัฒนาเป็น FAST FOOD ซึ่งบริการอาหารสะดวก รวดเร็ว และมีคุณภาพ อยู่เสมอ


ทำให้เกิดการพัฒนาระบบแฟรนไชส์ใหม่ขึ้นเรียกว่า BUSINESS FORMAT FRANCHISING ขึ้น ซึ่งจะให้สิทธิในการใช้ชื่อตราสินค้า และให้ระบบการดำเนินงานทั้งระบบ ตั้งแต่ป้ายชื่อร้าน รูปแบบการแต่งร้าน กรรมวิธีประกอบอาหารผู้เป็นแฟรนไชซี่จะต้องทำ FRANCHISE CONCEPT ทั้งระบบทำให้แฟรนไชส์ FAST FOOD ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง โดยแฟรนไชซอร์จะใส่ใจและ ให้การสนับสนุนแฟรนไชซี่ ตลอดระยะเวลา ของสัญญา เพื่อให้แฟรนไชซี่ประสบความสำเร็จจริง ๆ จากแนวความคิดนี้ทำให้แฟรนไชซอร์ มีรายได้จากแฟรนไชซี่ หลายแนวทางคือ
  1. ค่าสิทธิแรกเข้า (FRANCHISE FEES)
  2.  ค่าสิทธิระยะยาว (ROYALTY FEES)
  3. ค่าส่งเสริมการตลาด (ADVERTISING OR MARKETING FEES)
  4. ค่าขายสินค้า และบริการต่าง ๆ แก่แฟรนไชส ์ (SALES / AND / SERVICES)
ซึ่งการคิดค่าสิทธิระยะยาว หรือค่าสิทธิต่อเนื่อง (ROYALTY FEES) จะต้องคำนึงถึงรายรับอื่น ๆ ด้วยเพราะทุกตัวคือค่าใช้จ่ายของแฟรนไชซี่ หรือต้นทุน ของแฟรนไชซอร์นั่นเอง ถ้าต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายสูง ก็จะกระทบกับผลกำไรหรืออัตราผลตอบแทนของแฟรนไชซี่ 
 
สำหรับค่า ROYALTY FEES มีทำไม ทำไมต้องคิดค่าใช้จ่ายนี้ด้วย ที่จริงมีเหตุผล 2 ประการ ก็คือ
  1. เป็นการแบ่งผลกำไรซึ่งกันและกันในรูปแบบชำระรายเดือน
  2. แฟรนไชซอร์จะได้นำเอาเงินจำนวนนี้ไปบริหารทีมงาน (ที่จะมาช่วยสนับสนุนหรือแก้ปัญหาให้กับแฟรนไชซี่) หรือนำไปพัฒนาสินค้า และบริการให้ทันสมัยและก้าวหน้าอยู่เสมอ เพื่อเป็นผลให้ธุรกิจนั้น ๆ เจริญรุ่งเรืองอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

หลักการและเหตุผล 

สิ่งสำคัญของการคิดค่า ROYALTY FEES ก็คือ จะต้องนำมาคิดร่วมกับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ด้วยเสมอเพราะนั่นคือต้นทุนของแฟรนไชซี่ ซึ่งจะทำให้แฟรนไชซี่ ประสบความล้มเหลวได้ง่ายในกรณีที่แฟรนไชซี่มีค่าใช้จ่ายด้านต่าง ๆ มากเกินไป เช่น ถ้าแฟรนไชซอร์ ตกลงใจว่าจะคิดค่า FRANCHISE FEES สูงอย่างธุรกิจ FAST FOOD ค่า FRANCHISE FEES อาจอยู่ที่ 3-5 ล้านขึ้นไป ROYALTY FEES อาจจะอยู่ที่ 1% ก็เพียงพอแล้วหรือถ้าแฟรนไชซอร์ ต้องการขายสินค้าและทำกำไรจากสินค้าได้ ก็อาจจะคิดค่า FRANCHISE FEES และค่า ROYALTY FEES ไม่มากนัก

แต่ควรจำไว้เสมอว่าผู้ลงทุนชอบที่จะให้แฟรนไชซอร์ แบ่งกำไร รายเดือน (ROYALTY FEES) มากกว่า คิดค่า FRANCHISE FEES มาก ๆ ในคราวเดียว เพราะเท่ากับว่า ร่วมหัวจมท้ายกันและกัน เพราะถ้าธุรกิจดีก็ได้แบ่งมาก ถ้าธุรกิจไม่ดีก็แบ่งน้อย และแฟรนไชซอร์ จะต้องดูแล ช่วยเหลือเอาใจใส่สนับสนุนอย่างเต็มที่ เพื่อแฟรนไชซีมีรายได้มาก ก็ทำให้แฟรนไชซอร์มีรายได้ มากตามไปด้วย

แต่ตัวเลขไหนละที่คิดว่ายุติธรรมทั้ง 2 ฝ่าย และทำรายได้เพียงพอสำหรับแฟรนไชซอร์ ซึ่งอาจจะต้องดูองค์ประกอบอื่น ๆ อีกเช่น ภาวะเศรษฐกิจ คู่แข่งทางการค้า ระยะเวลาของสัญญาความสำเร็จของแฟรนไชซอร์ในปัจจุบันและอนาคต เป็นต้น 
ควรจำไว้เสมอว่า ผู้ลงทุนชอบที่จะให้แฟรนไชซอร์ แบ่งกำไรรายเดือน (ROYALTY FEES) มากกว่าคิดค่า FRANCHISE FEES มาก ๆ ในคราวเดียว เพราะเท่ากับว่าร่วมหัวจม ท้ายกันและกัน เพราะถ้าธุรกิจดีก็ได้แบ่งมาก ถ้าธุรกิจไม่ดีก็แบ่งน้อย
 
แนวคิดค่า ROYALTY FEES
  1. คิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดรายรับ หรือจากผลกำไรของธุรกิจ
  2.  แบบอัตราคงที่หรือแบบเหมาจ่าย ไม่ว่าแฟรนไชซี่จะมีรายได้มากน้อยเท่าไร
  3.  แบบผสมหรือแบบขั้นบันได ก็คือ มีอัตราคงที่จำนวนหนึ่งไม่มากนัก เรียกว่าอัตราขั้นต่ำ และถ้าทำรายรับมากขึ้นก็จะบวกตามเปอร์เซ็นต์ที่มากขึ้น
  4. คิดจากยอดสั่งสินค้า หรือคิดรายหัว
วิธีการคิดค่า ROYALTY FEES

จาก แนวความคิดค่า ROYALTY FEES ที่กล่าวมาแล้วบ้างข้างต้น นั้นเป็นแนวทางที่นิยมใช้กันอยู่ใน ปัจจุบันซึ่งแฟรนไชซอร์ อาจจะหาแนวทางอื่น ๆ ก็ได้ แต่จงจำไว้เสมอว่า ความสำเร็จของแฟรนไชซอร์ไม่ได้วัด จากการหารายได้ หรือทำกำไรจากแฟรนไชซี่ แต่วัดจาก ความสำเร็จของแฟรนไชซี่ต่างหาก สำหรับวิธีการและสูตรที่นำเสนอมาให้ดูนี้มิได้เป็นแนวทางตายตัว แต่เป็นเพียงแนวทางที่จะช่วยให้แฟรนไชซอร์ทำงานได้ง่ายขึ้นเท่านั้น

 
วิธีที่ 1 
คิดค่า ROYALTY FEES เป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดรายรับ
สูตร R = I - C  
--------
3
R ค่า ROYALTY FEES
I INCOME รายรับของธุรกิจ 100%
C COST ต้นทุนเฉลี่ยของธุรกิจคิดเป็น %
 
หาร 3 ก็คือ การแบ่งกำไรในอัตรา 1 : 3 จะได้สูตรคือ 
สูตร R = 100(%) - C
  ----------------
3
เช่น ธุรกิจชนิดหนึ่ง มีต้นทุนก่อนหักภาษีเท่ากับ 65% ดังนั้น ค่า ROYALTY FEES
สูตร R = 100(%) - 65
  ----------------
3
= 11.67% หรือ 12% 
 
ซึ่งแฟรนไชซี่จะเหลือเท่ากับ
สูตร R = 100 - 65
  ----------------
3
= 12% ดูจากตัวเลข 
 
ทำไมต้องแบ่งในอัตรา 1 : 3 ด้วย 
เหตุผลก็คือ แฟรนไชซี่เป็นผู้ลงทุน ดังนั้นอัตราส่วนควรจะมากพอที่จะทำให้อัตราการคืนทุนนั้นอยู่ในระดับที่รับได้ และแฟรนไชซอร์ มีแนวทางการหารายได้อื่น ๆ อีกเช่น จากการขายสินค้าและบริการ หรือจากการให้เช่าอุปกรณ์หรือสถานประกอบการ
วิธีที่ 2 
คิดจากระยะเวลาสัญญาแฟรนไชส์และระยะเวลาคืนทุน ในลักษณะอัตราคงที่หรือแบบเหมาจ่ายนั่นเอง 
สูตร R = 1 P (M-N)  
---- x ------------
2 3
R ROYALTY FEES
P กำไรขั้นต้นเฉลี่ยต่อเดือน
M ระยะเวลาของสัญญา
N ระยะเวลาคืนทุน
เช่น ธุรกิจมีกำไรขั้นต้นเฉลี่ยต่อเดือน เท่ากับ 90,000 บาท มีระยะสัญญาแฟรนไชส์ 5 ปี และมีระยะเวลาคืนทุน 3 ปี 
 
ค่า ROYALTY FEES เท่ากับ
 
สูตร R = 1 90,000(60-36)
---- x -----------------------
2 60
 
= 1 90,000 x 24
---- x -----------------------
2 60
 
= 1
---- x 36,000
2
 
= 18,000 บาท

จะเห็นได้ว่าในกรณีที่เป็นอัตราคงที่ตลอดกันไปทุกเดือน ตัวเลขจะไม่สูงมาก เพราะการคำนวณจะไม่คำนึง ถึงความเป็นจริงว่าแฟรนไชซี่มีรายได้มากน้อยเท่าไหร่ จะง่ายและสะดวกับแฟรนไชซอร์ที่จะเรียกเก็บค่า ROYALTY FEES โดยไม่ต้องตรวจสอบมาก
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,106
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,421
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,226
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,894
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,260
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,223
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด