บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การบริหารธุรกิจ    ฝึกอบรม สัมมนา
4.8K
2 นาที
9 เมษายน 2554

การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้

ผมขอเสนอมุมมองเล็กน้อยครับ ซึ่งการจัดการความรู้นั้น เริ่มแรกต้องสร้างให้บรรยากาศขององค์กรหรือหน่วยงานให้มีมุมมอง หรือทิศทางเดียวกันก่อน โดยอาจจะเริ่มจากหัวหน้างานหรือพนักงานระดับอ่อนๆ ก็ยังได้ เพียงแต่ คนที่เริ่มนั้น จะต้องมีจิตใจที่ดีจริงๆ เท่านั้น...

ในองค์กรที่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเหมือนกัน มันขึ้นกับว่า องค์กรนั้นๆ จะมีการแข่งขันมากน้อยเท่าใดด้วย ในกรณีการทำงานนั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับรายได้ส่วนตัว หรือ ผลงาน อาจจะทำได้ แต่น้อยองค์กรนักที่จะเป็นเช่นนี้ ดังนั้น การทำให้องค์กรเป็นองค์กรของการเรียนรู้นั้น ต้องสร้างให้คนทำได้ในสิ่งที่ต้องการ และ คนที่เรียนรู้ใหม่ก็ต้องได้ในสิ่งที่ต้องการด้วย...

ผมเขียนอาจจะเข้าใจยากสักหน่อย แต่อยากให้มองเห็นปัญหาขององค์กรธรรมดาก่อน ที่ยังไม่ได้ปรับมาเป็นองค์กรของการเรียนรู้ จะต้องมีการแก่งแย่ง แข่งขันกัน การจะทำให้องค์กรเกิดการเรียนรู้ในรูปแบบเหมือนๆกัน ก็จะทำให้ทุกคนมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกันดังนั้น ในสามัญสำนึกของคนปกติ ย่อมเกิดความขัดแย้งในใจว่า หากทุกคนทำงานได้ดีเท่าเรา ย่อมทำให้เรานั้นลดประสิทธิภาพลง... นั่นเป็นความคิดของคนธรรมดาสามัญทั่วๆไป...

ผมใช้วิธีการนี้ครับ

1. สื่อสาร - ทั้งนี้ กลุ่มคนที่ทำงานในรูปแบบเดียวกัน การสื่อสารเป็นสิ่งที่สำคัญ ยิ่งเป็นงานที่ต้องทำให้เหมือนกัน หรือ ทำอย่างเดียวกัน ยิ่งต้องพูดคุย และ มีการสื่อสารถึงกันเป็นระยะๆ อย่างไม่ขาดสาย การทำความเข้าใจระหว่างกันเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก การยกตัวอย่างวิธีการทำงานที่ได้ผล จะทำให้เจ้าของผลงานมีความรู้สึกถึงความสำเร็จของการทำ และ ได้แบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน

อย่างทีมงานของผมทีมหนึ่ง ต้องมองเห็นภาพๆหนึ่งแล้วต้องตีความให้เหมือนกัน ดังนั้น มุมมองให้ภาพต้องเหมือนกันก่อน ซึ่งต้องทำการอบรม ทดสอบ และ ประเมินผลความเข้าใจว่า พอเพียงต่อการทำงานแล้วหรือยัง ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยที่พลิกแพลงจากข้อกำหนด ก็เอามาแสดงให้ทุกคนเห็น อธิบายมุมมอง หรือ วิธีการตัดสินใจของหัวหน้างาน หากสามารถปิดประกาศไว้ก็จะทำ แต่ส่วนใหญ่จะเก็บข้อมูลไว้เป็นฐานข้อมูล ทุกคนสามารถค้นหาได้ในภายหลังด้วย

2. ให้เกียรติ - ผู้ทำการให้ข้อมูล หรือวิธีการต่างๆ ย่อมได้ผลงานที่ดีไปเป็นผลตอบแทนเสมอๆ ไม่ว่า รางวัล หรือ เกรียติยศ มีการชมเชยทุกครั้งกับการเสนอวิธีการที่ดีขึ้น หรือ บอกวิธีการทำงานที่ทำได้ดีขึ้น มีการช่วยเหลือกันหากมีปัญหาเกิดขึ้น เป็นต้น

3. เรียนรู้ร่วมกัน - การสร้างให้ทีมงานมีการเรียนรู้ร่วมกันนั้น เป็นสิ่งที่ค่อนข้างยาก ต้องสร้างกระแสให้เกิดขึ้น ทั้งจากความผิดพลาด หรือ การทำผลงานก็ตาม แต่ส่วนใหญ่จะใช้วิกฤติให้เป็นโอกาส เอาสิ่งที่ลูกค้าต่อว่า มาเป็นตัวสร้างบรรทัดฐานใหม่ๆ เพื่อสร้างให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันขึ้น

4. คิดให้ไกลกว่าเดิม - มีการชมเชย และให้รางวัลคนที่คิดได้และทำได้ดีขึ้นเสมอๆ ดังนั้น จึงกลายเป็นแรงขับให้พนักงานทุกคน พยายามทำในสิ่งที่ดีกว่าเดิม แล้วนำเสนอ เพียงข้อเสนอดีๆสักข้อก็อาจจะเปลี่ยนแปลงทั้งองค์กรได้เช่นกัน...

5. ปฏิบัติให้เห็นผล - บางคนก็เก่งแต่พูด เก่งแต่เสนอ ดังนั้น ข้อเสนอที่ไม่น่าจะทำได้จะต้องท้าให้คนเสนอทำให้เห็นผลออกมาให้ได้จริงๆ หรือ บางอย่างที่ผู้บริหารคิด หรือ หัวหน้างานคิดขึ้นมา ส่วนใหญ่จะถูกต่อต้านก่อนการยอมรับ จึงอาจจะต้องกันบางส่วนให้ทำเป็นกลุ่มทดลอง เมื่อทำในกลุ่มย่อยได้ ก็ต้องสามารถปรับให้ใช้กับกลุ่มใหญ๋ได้เช่นกัน ชี้ให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นเพื่อทำให้ทุกคนโน้มน้าวที่จะทำ

6. บันทึก - ความรู้ที่ทุกคนเสนอ หรือ สามารถทำได้ผล ทั้งก่อนการเปลี่ยนแปลง และหลังการเปลี่ยนแปลง เป็นลำดับขั้นตอน ลงใน เวป หรือ คู่มือการทำงานต่างๆ และ อย่าลืมใส่ชื่อคนเสนอแนวความคิดไว้ด้วย จะทำให้เกิดความภาคภูมิใจกับคนที่เสนอแนวความคิดว่า มีชื่อในคู่มือการทำงานขององค์กร

สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงแนวทางการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้นะครับ อาจจะสามารถช่วยได้บ้างนะครับ...


อ้างอิงจาก คุณวิบูลย์ จุง

บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,675
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,793
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,357
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,911
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,272
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,242
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด