บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
5.0K
3 นาที
7 ธันวาคม 2560
การันตีปี 2561 ปีทองของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย โดยผู้จัดงานแฟรนไชส์ระดับนานาชาติ
 
 
ปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์มีการเติบโตและได้รับความนิยมจากผู้ประกอบการธุรกิจและนักลงทุนมากขึ้น ด้วยแรงสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นการลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ รวมถึงการสนับสนุนและพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ไทย ให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดอาเซียน ก่อนที่จะพัฒนาศักยภาพธุรกิจของตัวเองก้าวไกลสู่ตลาดโลก 

มาดูว่าปัจจัยสำคัญที่ทำธุรกิจแฟรนไชส์ได้รับความนิยมในการลงทุน  คือ ธุรกิจแฟรนไชส์ได้ผ่านการลองผิดลองถูกในการทำธุรกิจมาแล้ว โดยเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ จนสามารถประสบความสำเร็จได้ในวันนี้ ทำให้ผู้ลงทุนไม่ต้องใช้เวลาในการสร้างธุรกิจตั้งแต่เริ่มต้น เปรียบเสมือนว่าเป็น “การเรียนลัด” ของนักลงทุนหรือผู้ซื้อแฟรนไชส์นั่นเอง    

โดยตลาดรวมของธุรกิจเฟรนไชส์ในปี 2559 มีมูลค่า 250,000 ล้านบาท เติบโต 15% จากปี 2558 และในปี 2560 ถูกคาดว่าตลาดแฟรนไชส์ไทยจะเติบโตขึ้นอีก 15% ซึ่งถ้าแบ่งเป็นสัดส่วนตลาดแล้วธุรกิจเฟรนไชส์ประเภท FOOD & BEVERAGE มีสัดส่วนถึง 50% รองลงมาคือ ประเภท EDUCATION 15% และ อื่นๆ 35%


วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ “คุณกวิน กิตติบุญญา” กรรมการผู้จัดการ บริษัท กวิน อินเตอร์เทรด จำกัด ผู้จัดงานแสดงแฟรนไชส์นานาชาติใหญ่ที่สุดในอาเซียน อาทิ Thai Franchise & SME Expo, งาน Thailand Coffee, Tea & Drinks, งานThailand Bakery & Ice Cream, งานท่องไทยท่องโลก 

งานThailand Bike & Vehicle, งาน TFBO - Thailand Franchise & Business Opportunities และงาน TRAFS - Thailand Retail, Food & Hospitality Service ในเรื่องแนวโน้มธุรกิจแฟรนไชส์ 2561 เทรนด์และโอกาสของธุรกิจแฟรนไชส์ใหม่ๆ ซึ่งได้ข้อมูลที่น่าสนใจอย่างมาก มาฝากผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบธุรกิจแฟรนไชส์ทุกๆ ท่านครับ

สถานการณ์แฟรนไชส์ไทย-ต่างประเทศ 


คุณกวิน ให้สัมภาษณ์ว่า ที่ผ่านมาแฟรนไชส์ต่างประเทศ ได้มีการขยายสาขาเข้ามาในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์แฟรนไชส์ที่มาจากสหรัฐอเมริกา เอเชีย ญี่ปุ่น เกาหลี รวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน

สาเหตุที่ทำให้แฟรนไชส์ต่างประเทศเข้ามาขยายสาขาในเมืองไทยต่อเนื่อง คือ 1.เจ้าของแฟรนไชส์มองว่าตลาดเมืองไทยมีศักยภาพ ด้วยจำนวนประชากรที่มากถึง 70 ล้านคน เป็นรองแค่อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ประกอบกับเมืองไทยเป็นจุดหมายปลายของนักท่องเที่ยวต่างชาติ เมื่อรวมกับคนไทยมีจำนวนมากถึง 100 ล้านคน 

2.นักลงทุนชาวไทย ส่วนใหญ่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง อยากหาอะไรใหม่ๆ ลงทุนในระยะยาว จึงต้องมองหาวิธีการลงทุนด้วยการซื้อแบรนด์แฟรไชส์จากต่างประเทศ เพราะเป็นแบรนด์ที่ได้รับการยอมจากตลาดและผู้บริโภคทั่วโลก
 

ซึ่งในตอนนี้แบรนด์แฟรนไชส์ต่างประเทศในเมืองไทยมีจำนวนกว่า 260 แบรนด์ มีสาขากว่า 16,000 สาขา เยอะที่สุดในอาเซียน ส่วนใหญ่เป็นแฟรนไชส์กลุ่มอาหาร เครื่องดื่ม ชา กาแฟ เบเกอรี่ ไอศกรีม มีการเติบโตมากที่สุด  

สำหรับตลาดแฟรนไชส์ Local Brand ในเมืองไทย โดยรวมแล้วมีการเติบโตที่ช้าลง เหตุผลเพราะนักธุรกิจมีการชะลอการลงทุน เพราะยังไม่เห็นทิศทางบวกของเศรษฐกิจไทย แต่คุณกวินเชื่อว่าตั้งแต่ไตรมาส 4 เป็นต้นไป

เศรษฐกิจไทยจะเริ่มสดใสมากขึ้น เนื่องจากรัฐบาลเริ่มลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศไทยมากขึ้น ธุรกิจเริ่มมีการส่งออกมากขึ้น มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ทำให้ประชาชนออกมาจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น  


ขณะที่คนรุ่นใหม่ที่เรียนจบใหม่ๆ หันมาสนใจทำธุรกิจแฟรนไชส์มากขึ้น มีทั้งสร้างธุรกิจของตัวเองเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ และกลุ่มคนซื้อแฟรนไชส์ เพราะเป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว ไม่ต้องยุ่งยากสร้างธุรกิจให้ติดตลาดด้วยตัวเอง 

สำหรับการเติบโตธุรกิจแฟรนไชส์ในเมืองไทย แบ่งออกเป็นแฟรนไชส์ระดับล่าง งบการลงทุนตั้งแต่หลักหมื่นขึ้นไป มีการเติบโต แต่เติบโตในอัตราช้า แฟรนไชส์ระดับกลางงบลงทุนหลักแสนถึงล้าน การเติบโตชะลอตัวลง

เพราะการขยายสาขาเป็นไปตามเป้าหมายของเจ้าของแฟรนไชส์ ส่วนแฟรนไชส์ระดับบนมีการขยายสาขาตามแผนของแต่ละแบรนด์ และมีการขยายสาขาไปต่างประเทศเพิ่มขึ้น แต่อาจไม่เป็นไปตามเป้าหมาย 

แนวโน้มและความท้าทายธุรกิจแฟรนไชส์ 2018
 

คุณกวินให้สัมภาษณ์อีกว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก มีแนวโน้มสดใสมากขึ้น จากที่เคยอยู่ในภาวะอึมครึมในช่วงที่ผ่านมา จึงทำให้นักลงทุนหลับมาคิดว่าจะทำอะไรเงินออมของตัวเอง โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่อยากเป็นเถ้าแก่ แต่ไม่อยากยุ่งยากในการสร้างธุรกิจตั้งแต่เริ่มต้น ก็เลยหันมาซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ให้กับตัวเอง 

ประกอบกับช่วงปลายปี 2561 รัฐบาลได้วางแผนการเลือกตั้งเอาไว้ จึงคาดว่าน่าจะทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศดีขึ้น นักลงทุนหันมาลงทุนทางธุรกิจมากขึ้น ส่งผลให้ความมั่นใจของประชาชนและผู้บริโภคกลับมา นักลงทุนอยากนำเงินออมที่มีอยู่ออกมาลงทุนทำธุรกิจ เรียกได้ว่าทิศทางเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศปี 2561 จะดีขึ้น 

ธุรกิจแฟรนไชส์ไทยจะมีการพัฒนาแบรนด์ให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้น มีการขยายสาขาออกไปต่างประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้น อย่างกรณีของแบรนด์กาแฟอเมซอน ขยายสาขาไปในประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ รวมถึงแบรนด์แฟรนไชส์อื่นๆ ที่แข็งแกร่งเริ่มมองหาตลาดต่างประเทศเพื่อนบ้านต่อเนื่อง 

“ปี 2561 ผมมองว่าเป็นปีทองของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย ในการขยายสาขาไปต่างประเทศลัขยายสาขาในประเทศมากขึ้น”

แต่สิ่งที่ต้องทำและพึงระวัง เพื่อไม่ให้การเติบโตของธุรกิจแฟรนไชส์ไทยสะดุด คือ



1.ระบบแฟรนไชส์ 

เจ้าของธุรกิจต้องสร้างระบบแฟรนไชส์ของตัวเองให้มีความแข็งแกร่ง และพัฒนาธุรกิจของตัวเองไปเรื่อยๆ ถ้าระบบไม่ดีโอกาสที่นักลงทุนจะมาร่วมลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ก็มีน้อย ตรงนี้จะสร้างความด่างพร้อยให้กับธุรกิจแฟรนไชส์ไทย 

โดยธุรกิจแฟรนไชส์ที่ไม่น่าจะมีปัญหา คือ แฟรนไชส์ระดับกลาง เงินลงทุนตั้งแต่หลักแสนถึงล้าน แต่จะมีความพิถีพิถันในการคัดเลือกผู้ร่วมลงทุนหรือผู้ซื้อแฟรนไชส์ให้ตรงกับความต้องการเท่านั้น แฟรนไชส์กลุ่มนี้ไม่เน้นปริมาณการขยายสาขา
 

ขณะที่แฟรนไชส์ระดับล่าง คุณกวินมองว่า เป็นแฟรนไชส์ที่เกิดขึ้นเร็ว ขยายสาขาเร็ว แต่ไม่รู้ว่าจะอยู่รอดได้นานแค่ไหน เพราะที่ผ่านมาบางแบรนด์มีเพียง 1 สาขาก็ขายแฟรนไชส์แล้ว ตรงนี้จะทำให้ระบบแฟรนไชส์ไม่มีความยั่งยืน

ผู้บริโภคก็จะเจอกับความเสี่ยงในเรื่องการบริหารจัดการหลังการขายที่ไม่ดี ที่สำคัญแฟรนไชส์ระดับล่างจะมีการหมุนเวียนเข้าออกระบบแฟรนไชส์อย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ มีทั้งแบรนด์แฟรนไชส์เกิดขึ้นใหม่ และแบรนด์แฟรนไชส์เลิกกิจการ 
 


2.ทำเลที่ตั้ง
 
เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญของการทำแฟรนไชส์ ทำเลที่ตั้งจะเป็นกำหนดว่าแฟรนไชส์จะอยู่รอดหรือเติบโต ดังนั้น ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ต้องให้ความสำคัญกับทำเลที่ตั้งในการทำธุรกิจ เพราะปัจจุบันทำเลที่ตั้งหายากมากขึ้น

ที่ผ่านมาเราจะเห็นแฟรนไชส์ส่วนใหญ่อยู่ตามห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้า แต่ปัญหาของศูนย์การค้าคือเติบโตไม่สอดรับกับการเติบโตของสาขาแฟรนไชส์ จึงทำให้มีคอมมูนิตี้มอลล์เกิดขึ้นตามชานเมืองมากมาย 
 

แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นทำเลที่เหมาะสำหรับการขยายสาขาแฟรนไชส์ บางแห่งไม่มีการทำตลาดดึงดูดผู้บริโภค ทำให้ขยายสาขาแฟรนไชส์ไปแล้วขายไม่ได้ สิ่งเหล่านี้ถือเป็นความท้าทายของผู้ประกอบการแฟรนไชส์ในปี 2561    

“ผมยังเชื่อมั่นในสุภาษิตที่ว่า ทำเลดีมีชัยไปกว่าครึ่ง ฉะนั้นในธุรกิจแฟรนไชส์ นอกจากการหา Partner ที่ใช้แล้ว ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ต้องให้ความสำคัญในเรื่องทำเลที่ตั้งด้วย เพราะถ้าทำเลไม่ดี จะกระทบทั้งผู้ขายและผู้ซื้อแฟรนไชส์ เมื่อแฟรนไชส์ซีขายสินค้าหรือบริการไม่ได้ เงินทุนหมุนเวียนไม่พอ อีกไม่นานก็ต้องเลิกกิจการ” 

แฟรนไชส์ชาเย็นยังเติบโต 
 

คุณกวินบอกด้วยว่า ช่วง 1-2 ปีมานี้ เราจะเห็นธุรกิจเครื่องดื่มยาเย็น ชาเขียว ชานมไข่มุก กาแฟ ฯลฯ เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากหลากหลายแบรนด์ จนสามารถสามารถขยายสาขาแบบแฟรนไชส์ แม้แต่แบรนด์เก่าแก่อย่าง “ตรามือ” ยังลงมาเล่นในตลาดเครื่องชาเย็น เพราะเป็นตลาดผู้โภคคนรุ่นใหม่ เป็นกลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์ 

แต่สิ่งที่จะเปลี่ยนโฉมของตลาดเครื่องดื่มประเภทชาเย็น คือ ทำเลที่ตั้งจะอยู่บนรัถไฟฟ้า หน้าออฟฟิศกันมากขึ้น โดยทางลงรถไฟฟ้าส่วนใหญ่ที่เราได้เห็นจะเป็นสินค้าไลฟ์สไตล์ ที่ซื้อและกินได้ง่าย


ความโดดเด่นของเครื่องดื่มเหล่านี้อยู่ที่ราคาถูก เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้ดี ตลาดกว้างขวาง อย่างกรณีกาแฟ 25 บาท ก็หากินได้ง่ายขึ้น ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องเข้าร้านกาแฟแบรนด์ดังๆ ก็สามารถซื้อกินได้ แต่ความท้าทายของแฟรนไชส์เหล่านี้อยู่ที่การหาทำเลที่ตั้ง และจับตลาดให้ถูก 

ซื้อแฟรนไชส์อย่าตามกระแส 


ในส่วนของนักลงทุนหรือคนซื้อแฟรนไชส์ในปี 2561 คุณกวินบอกว่า อย่าซื้อแฟรนไชส์ตามกระแส ต้องถามตัวเองก่อนว่าชอบ หรือถนัดอะไร สิ่งแรกที่ผู้อยากซื้อแฟรนไชส์จะต้องทำ คือ หาข้อมูล หาความรู้ตามเว็บไซต์ต่างๆ 

หรือไม่ก็เดินตามศูนย์การค้าเพื่อหาแฟรนไชส์ที่ตัวเองชอบ รวมถึงหาแฟรนไชส์ในงานแสดงสินค้าแฟรนไชส์ต่างๆ ที่มีการจัดขึ้นตลอดทั้งปี เพราะจะได้พบปะกับเจ้าของแฟรนไชส์โดยตรง ทำให้สามารถคุยรายละเอียดต่างๆ ได้

โดยเฉพาะคอนเซ็ปต์ของแบรนด์ รูปแบบการลงทุน เป้าหมายและปรัชญาของธุรกิจ ที่สำคัญจะได้ดูว่าเจ้าของแฟรนไชส์จะอยู่กับเราได้หรือไม่ เพราะการซื้อแฟรนไชส์เหมือนการหาคู่แต่งงาน เจ้าของแฟรนไชส์จะต้องให้การสนับสนุนผู้ซื้อแฟรนไชส์ต่อเนื่อง 


สรุปจากการสัมมภาษณ์คุณกวิน ก็คือ ปี 2561 ตลาดแฟรนไชส์ในประเทศไทยจะเติบโตมากกว่าปี 2560 โดยมีปัจจัยมาจากสัญญาณเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกเริ่มเป็นบวก ประกอบกับการเมืองนิ่ง การส่งออกดี การท่องเที่ยวเติบโต ทำให้นักลงทุนกล้าที่จะนำเงินออมออกมาทำธุรกิจมากขึ้น 

โดยเฉพาะการลงทุนในแฟรนไชส์ เพราะไม่ต้องเสียเวลาสร้างธุรกิจใหม่ด้วยตัวเอง สามรรถเลือกแบรนด์และธุรกิจที่ตัวเองชอบได้เลย แต่ต้องให้ความสำคัญในเรื่องของระบบแฟรนไชส์ และการหาทำเลที่ตั้งในการทำธุรกิจครับ

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/home.php
สนใจซื้อแฟรนไชส์ www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,740
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,854
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,369
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,917
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,279
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,245
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด