บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    โอกาสทางธุรกิจ    AEC
4.6K
2 นาที
22 สิงหาคม 2554

คนวัยเกษียณในญี่ปุ่น มีคุณค่า

คุณเคยคิดหรือไม่ว่า วันหนึ่งเมื่อถึงวันที่เราเกษียณแล้วเราจะทำอะไรหรือเราจะใช้ชีวิตอย่างไร บางคนอาจจะคิดว่าจะใช้ชีวิตท่องเที่ยวไปตามที่ต่าง ๆ ไปวัดนั่งวิปัสสนา หรือบางคนอาจต้องการพักผ่อนอย่างเต็มที่หลังจากที่ได้ทำงานหนักมาเป็นเวลาหลายสิบปี ได้มีเวลาอยู่กับครอบครัวและลูกหลานมากขึ้น มีเวลาได้พักผ่อนมากขึ้น

แต่สิ่งที่ต้องไม่ลืมคือ เมื่อเราเกษียณแล้วรายได้ที่เคยได้ประจำก็หายไปด้วย เงินที่จะนำมาจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวันนั้น ถ้าไม่มีลูกหลานคอยดูแล ก็ต้องมาจากเงินที่เก็บหอมรอมริบมาตั้งแต่สมัยที่ยังทำงานอยู่ ดังนั้นสิ่งสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดว่าคุณจะเลือกใช้ชีวิตอย่างไรนั้นก็คือ คุณจะต้องมีเงินออมสำหรับใช้ในวัยเกษียณสำหรับตัวเอง

มีบทความหนึ่งจากนิตยสาร Economist เขียนถึงสังคมผู้สูงอายุของประเทศญี่ปุ่น ที่ถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีคนในวัยผู้สูงอายุมากที่มีสัดส่วนมากที่สุดในโลก ทั้งนี้ประชากรถึงหนึ่งในห้าหรือประมาณร้อยละ 20 มีอายุมากกว่า 65 ปี แต่ด้วยความที่ชาวญี่ปุ่นมีนิสัยมัธยัสถ์อดออม โดยการทำงานหนักในช่วงที่อยู่ในวัยทำงาน และรู้จักเก็บออมในสัดส่วนที่สูง ดังนั้นเมื่อถึงวันที่ต้องเกษียณอายุ พวกเขาก็จะได้เฉลิมฉลองช่วงเวลาต่อจากนี้ไปด้วยการใช้เงินที่เก็บออมกันมาตลอดช่วงชีวิตทำงาน เป็นช่วงเวลาที่ได้ใช้เงินเพื่อหาความสุขกันได้อย่างเต็มที่

ตัวเลขสถิติในญี่ปุ่นชี้ให้เห็นว่าผู้สูงวัยในญี่ปุ่นเป็นกลุ่มที่มีเงินออมมหาศาล ทรัพย์สินครัวเรือนของญี่ปุ่นประมาณ 1 ใน 3 หรือประมาณ 450 ล้านล้านเยน (5.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) อยู่ในมือของผู้ที่อายุ 70 ปีขึ้นไป และกลุ่มผู้สูงอายุผู้ที่ผมสีเงินหรือสี ดอกเลานี่แหละที่ถือว่าเป็นขุมทองของบริษัทญี่ปุ่นหลายแห่งที่กำลังเปลี่ยน “เงิน” ให้เป็น “ทอง” ด้วยการใช้เทคนิคการตลาดแบบเครื่องบินล่องหน แบบไม่ให้ลูกค้ารู้ตัวว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายเพื่อจับกลุ่มลูกค้าผู้สูงอายุนี้

ร้านกาแฟแฟรนไชส์ Ueshima ในญี่ปุ่น อาจดูเผิน ๆ ไม่แตกต่างจากร้านกาแฟ อื่น ๆ แต่หากมองในรายละเอียดจะพบว่า ทางเดินภายในร้านกว้างกว่า เก้าอี้แข็งแรงกว่า โต๊ะเตี้ยกว่า อาหารส่วนใหญ่เป็นอาหารนิ่ม ๆ เคี้ยวง่าย ภายในร้านจะมีบริกรคอยช่วยยกของมาเสิร์ฟที่โต๊ะลูกค้า ชื่ออาหารในเมนูเขียนด้วยตัวอักษรญี่ปุ่นขนาดใหญ่ ง่ายต่อการอ่าน จึงไม่แปลกที่ร้านนี้จะเต็มไปด้วยลูกค้าผู้สูงวัย แม้ว่า จะไม่เคยโฆษณาตัวเองว่าเป็นร้านกาแฟสำหรับผู้สูงอายุก็ตาม แต่ด้วยรูปแบบร้าน อาหารและการจัดการทั้งหมด แสดงว่ากลุ่มเป้าหมายคือลูกค้าสูงอายุ โดยไม่ต้องบอกเป็นคำพูดชัดเจน

ส่วนห้างสรรพสินค้า Keio ถ้าดูภายนอกก็จะไม่เห็นสิ่งใดที่แสดงว่าเป็นห้างสำหรับคนแก่ แต่เมื่อเดินเข้าไปข้างใน จะพบว่ามีเก้าอี้นั่งสำหรับผู้ที่มาเดินชอปปิงแล้วเมื่อย ป้ายต่าง ๆ ใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่ พนักงานขายจำนวนมากอยู่ในวัย 50-60 ปี เพราะลูกค้าอายุมากมักจะเชื่อคนวัยเดียวกันมากกว่าเด็ก ๆ ศูนย์อาหารก็มีอาหารแบบญี่ปุ่นดั้งเดิมมากกว่าอาหารตะวันตก เป็นต้น

บริษัทต่าง ๆ ในญี่ปุ่นต่างก็พยายามปรับบริการหรือสินค้าของตนเองเพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าสูงอายุผู้มั่งคั่งเหล่านี้ในขณะที่คนแก่ในประเทศตะวันตกต้องใช้เงินบำนาญแบบกระเบียดกระเสียร แต่คนแก่ในญี่ปุ่นมีเงินที่จะใช้จ่ายอย่างสบายและสามารถจ่ายเงินเพิ่มเป็นพิเศษเพื่อให้ได้รับสินค้าและบริการที่จัดให้เป็นพิเศษสำหรับผู้สูงอายุ กาแฟขนาดกลางที่ร้าน Ueshima แต่มีราคาแพงกว่ากาแฟร้าน Starbucks ถึง 10%

เห็นไหมคะว่าธุรกิจการผลิตและการบริการในประเทศญี่ปุ่นนั้นได้มีการปรับตัวที่เน้นกลุ่มผู้สูงอายุเพราะเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อ ก็คงจะเป็นข้อคิดของคุณแล้วล่ะคะว่า ต้องการใช้ชีวิตเกษียณแบบไหน หากอยากมีชีวิตสุขสบายในยามเกษียณแบบคนญี่ปุ่น ก็คงต้องเก็บออมกันอย่างจริงจังดังเช่นคนญี่ปุ่นนะคะ
 

อ้างอิงจาก  เดลินิวส์

บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,767
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,875
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,369
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,918
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,279
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,254
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด