บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การบริหารธุรกิจ    การขยายธุรกิจ และบริหารสาขาแฟรนไชส์
5.9K
2 นาที
22 พฤศจิกายน 2549

Franchise การค้าระบบสาขา

การเตรียมตัวเข้าสู่ธุรกิจการค้าระบบสาขา ของผู้ทรงสิทธิ (Franchisor)

  1. ต้องทราบปรัชญาการทำธุรกิจของตนเองว่าทำอะไร เพื่ออะไร และเพื่อใคร
  2. ต้องทราบที่มาของรายได้จากธุรกิจมาจากอะไร
  3. ต้องทราบทรัพย์สินที่แท้จริงของธุรกิจตนเองอยู่ที่อะไร(สูตร, ชื่อเสียง, ทำเล ฯ) และสามารถจดทะเบียนเป็นทรัพย์สินทางปัญญาได้
  4. ต้องประเมินธุรกิจตนเองว่าต้องการเล็กหรือใหญ่

ข้อได้เปรียบ/ข้อดีของการเป็นผู้ทรงสิทธิ์(franchisor) ในธุรกิจการค้าระบบสาขา

  1. ไม่ต้องเผชิญกับปัญหาเรื่องคนทำงานมาก
  2. ทำเลการค้าอยู่ที่ผู้ขอรับสิทธิ์(franchisee)
  3. ช่องว่างในการจัดจำหน่าย/การตลาดของธุรกิจเพิ่มขึ้น
  4. program ของธุรกิจการค้าระบบสาขา สามารถรองรับการเติบโตของธุรกิจในระดับประเทศได้
  5. มีการเพิ่มมูลค่าของธุรกิจได้
  6. การขยายตัวของธุรกิจทำได้รวดเร็วและมีกำไรพอควร
  7. มีโอกาสได้ผู้บริหาร(ผู้ซื้อสิทธิ์ franchise)ที่ดีในพื้นที่ห่างไกล
  8. อาศัยผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านของระบบธุรกิจไม่มากนัก เพราะจะเน้นการพัฒนา know-how และการวางระบบ
  9. ธุรกิจมีรายได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องเสี่ยงต่อการลงทุนด้วยตนเอง
  10. การทุ่มเทให้กับธุรกิจจะอยู่ในความรับผิดชอบ ของผู้ซื้อสิทธิ์(franchisee)เพราะต้องลงทุนเอง
  11. มีกำลัง/พลังในการจัดซื้อมาก
  12. ผู้ซื้อสิทธิ์(franchisee)เป็นคนท้องถิ่น รู้จักตลาดเป็นอย่างดี
ข้อเสียเปรียบ/ข้อพึงระวังของผู้ทรงสิทธิ์(franchisor)
  1. ไม่สามารถควบคุมเครือข่ายร้านค้าทุกอย่างได้ สัญญาอาจรัดกุมไม่เพียงพอ
  2. มาตรฐานของผู้ซื้อสิทธิ์(franchisee)ไม่ได้มาตรฐานเดียวกัน
  3. หาผู้ซื้อสิทธิ์(franchisee)ที่ดีตามที่เราต้องการได้ไม่ง่ายทั้งหมด รวมทั้งทำเลร้านค้าที่ต้องการ
  4. การขยายธุรกิจสาขาด้วยตนเองให้ผลกำไรตอบแทนมากกว่า
  5. ผู้ซื้อสิทธิ์(franchisee)อาจไม่เปิดเผยรายได้ที่แท้จริง ทำให้เสียโอการสทางธุรกิจ
  6. อาจมีความขัดแย้งกับผู้ซื้อสิทธิ์(franchisee) ที่รวมตัวกันต่อรองเรื่องการจ่ายค่าสิทธิ์(royalty fees)
  7. การทำงานร่วมกันอาจเกิดความขัดแย้งระหว่าง franchisee กับ franchisaw ได้
การเข้าสู่ระบบ franchisor
  1. การเตรียมตัว(preparation)เรื่องระบบขององค์กรธุรกิจ ความพร้อมภายใต้บัญญัติ 10 ประการของการทำธุรกิจการค้าระบบสาขา
  2. การทำงานในระบบอาชีพ(professional) ในด้านความรู้ความสามรถที่แท้จริงของตนเอง สินค้า, การรองรับการขยายตัว, การสื่อสารสาธารณะที่ดี (public relation), การต่อยอดทางธุรกิจ
  3. ระยะเวลาในการเตรียมตัวขึ้นอยู่กับข้อมูลตัวเลขทางการเงิน การบัญชี การผลิต และอื่น ๆ เพื่อคำนวณตัวเลขการคืนทุนของผู้ซื้อสิทธิ์โดยมากข้อมูลที่ดีอยู่แล้วธุรกิจการค้า ระบบสาขาของผู้ทรงสิทธิ์สามารถดำเนินการได้ภายใน 2-3 เดือน
  4. สามาคม franchise แห่งประเทศไทย สามารถให้ข้อมูลธุรกิจการค้าระบบสาขาได้ ที่ผ่านมาได้จัดอบรมสัมมนา ถึงวงจรธุรกิจการค้าระบบสาขาที่มีอยู่ 2 ประเภท คือ การซื้อ franchise มาจากต่างประเทศ และการซื้อ franchise ภายในประเทศซึ่งให้ประโยชน์ต่อผู้ลงทุนไทยมากกว่า

สัมภาษณ์ คุณผาณิต ชวะชัยชนานนท์ ผู้บริหารบริษัท Gala Nobel จำกัด ผู้ทรงสิทธิ์ Franchise ในธุรกิจเฟอร์นิเจอร์

ประสบการณ์ในการเป็นผู้ประกอบการผลิตสินค้าประเภทเฟอร์นิเจอร์มา 20 ปี มีทั้งที่ผลิตจำหน่ายในประเทศและส่งออกต่างประเทศ ประสบกับสภาพการแข่งขันจึงอยากจะปรับปรุงและ ขยายธุรกิจโดยเริ่มสนใจธุรกิจการค้าระบบสาขาหรือ franchisee เมื่อ 3 ปีที่แล้ว และเข้ารับการอบรมจากกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ และใช้เวลา 1 ปีในการดูงานธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ในระบบ franchisee ต่างประเทศ จนกระทั่งตัดสินใจร่วมลงทุนกับบริษัท Gala Nobel แห่งประเทศเยอรมันนี ผู้ทรงสิทธิ์ (franchisor)ที่มีร้านค้าในธุรกิจการค้าระบบสาขา 37 ประเทศ 4,000 กว่าร้าน ดำเนินธุรกิจมาแล้วถึง 3 ชั่วอายุคน

การร่วมลงทุนทางไทยถือหุ้น 75 % โดยได้รับเป็นผู้ทรงสิทธิ์(franchisor)ขาย franchisee ธุรกิจการผลิตและการค้าเฟอร์นิเจอร์ในนาม Gala Nobel ในทวีปเอเชียทั้งหมด โดยมีความเข้มแข็งในด้านการบริหารหารผลิต และร้านค้าจัดจำหน่ายสินค้าเฟอร์นิเจอร์ ดังนี้

  • มีความชำนาญวงจรธุรกิจการผลิตและธุรกิจร้านค้าเฟอร์นิเจอร์
  • ตระหนักถึงความสำคัญของ globalization ของธุรกิจการค้าระหว่างประเทศและในประเทศต้องก้าวให้ทัน
  • ประสานการทำงานร่วมกันระหว่างธุรกิจผู้ผลิตและธุรกิจร้านค้าเฟอร์นิเจอร์ ที่ผ่านมาสามารถขยายสาขาได้ถึง 70 ร้านค้าเฟอร์นิเจอร์ โดยบริษัทจะจัดหาเทคโนโลยี design และวัสดุ ให้กับผู้ผลิต และสินค้าที่ผลิตจะเน้นสินค้าระดับกลาง และวางแผนการตลาดและช่องทางจัดจำหน่ายในด้าน area promotion และ brand awareness ให้กับร้านค้าปลีก
  • การบริหารร้านค้าปลีกในธุรกิจ franchisee เป็นกลยุทธ์การตลาดที่สามารถแข่งขันได้กับ discount store ขนาดใหญ่ที่จำหน่ายสินค้าเฟอร์นิเจอร์ด้วย

ปัญหาและอุปสรรค และการแก้ไขปัญหาของบริษัท Gala Nobel จำกัด

ความไม่รู้และไม่เข้าใจจากพันธมิตรทั้งผู้ผลิตและร้านค้าปลีกต่อธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ บริษัทฯได้สร้างความเข้าใจในพันธมิตรถึงข้อดีของผู้ผลิตที่สามารถผลิตสินค้าที่เป็น mass productได้ พันธมิตรร้านค้าปลีกมีโอกาสเลือกสินค้าที่หลากหลายและ เหมาะสมกับตลาดในพื้นที่ของตนเองได้ ที่ผ่านมาบริษัทได้พัฒนาระบบข้อมูล การบริหารจัดการ ให้กับพันธมิตรของบริษัท สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อสิทธิ์จะมีตั้งแต่ขนาดเล็ก-ใหญ่ ใช้เงินลงทุน 3- 10 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับพื้นที่และขนาดของร้าน
 

บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,678
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,803
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,357
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,912
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,272
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,242
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด